นั่งรถอยู่ดี ๆ รู้สึกเวียนหัวจนอยากอาเจียน เชื่อว่าหลายท่านอาจพบเจอกับปัญหานี้บ่อย ซึ่งเรียกว่า “เมารถ (Carsick)” เป็นอีกหนึ่งในปัญหาความทรมานที่ผู้เดินทางหลาย ๆ ท่านมักพบเจอ โดยอาการเมารถไม่ได้มีเพียงแค่การเดินทางด้วยรถเท่านั้น เรือหรือเครื่องบินสามารถเกิดอาการนี้ขึ้นได้เช่นกัน มาดูกันดีกว่าว่าอาการเมารถเป็นอย่างไร และจะสามารถบรรเทาได้หรือไม่
เกิดจากประสาทรับรู้การเคลื่อนไหวของหูชั้นใน มีการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับภาพที่ดวงตามองเห็น สมองจึงสับสนเพราะว่าได้รับสัญญาณภาพที่ขัดแย้งกัน ส่งผลให้เกิดเป็นอาการเมารถในที่สุด โดยอาการเมารถนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการนั่งยานพาหนะที่มีการเคลื่อนที่แบบโคลงเคลง, เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา หรือคดเคี้ยวเป็นระยะเวลานาน
เวียนหรือปวดศีรษะ
เหงื่อออก, รู้สึกไม่สบายท้อง
มีอาการคลื่นไส้, อยากอาเจียน
หายใจตื้น, สูญเสียการทรงตัว
อาจมีอาการหน้าซีด, เหนื่อยล้า หรือเบื่ออาหารได้
เด็กที่มีอายุระหว่าง 2 - 12 ปี
สตรีตั้งครรภ์
สตรีที่มีการทานยาคุมกำเนิด หรือมีประจำเดือน
บุคคลที่มีประวัติการเป็นไมเกรน หรืออาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นโรคพาร์กินสัน
อาการเมารถ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ ถ้าหากมีอาการเกิดขึ้นบ่อย อาจจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยบริเวณดวงตาและหู เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการ
การรับประทานยาแก้เมารถ ทั้งนี้หากเป็นผู้ขับขี่ยานพาหนะ การรับประทานยา ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงขึ้นได้
ควรเลือกนั่งรถเบาะหน้า หากเป็นการเดินทางด้วยเครื่องบินหรือเรือ ให้เลือกที่นั่งบริเวณตรงกลาง เพื่อลดแรงเหวี่ยงหรือลดการโคลงเคลงของยานพาหนะลง
พยายามอย่าอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์ขณะยานพาหนะกำลังเคลื่อนที่ โดยให้มองไปที่ไกล ๆ แทน และอย่าจ้องมองวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ภายนอกนาน ๆ
การหลับตา หรือใส่แว่นกันแดดอาจจะช่วยให้บรรเทาอาการเมารถลงได้
หากมีการแวะตามจุดพักระหว่างทาง ให้ลงไปสูดอากาศบริสุทธิ์ภายนอกหรือผ่อนคลายอิริยาบถ
รับประทานอาหารมื้อเล็ก งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนออกเดินทาง
การดมยาดม หรือใช้น้ำมันหอมระเหย จะสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการเมารถได้
อาการเมารถ เป็นความทรมานที่หลายท่านมักพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางด้วยรถ, เรือ หรือเครื่องบิน ต่างล้วนเจอปัญหานี้ได้ โดยอาการเมารถจะไม่มีวิธีการรักษา มีเพียงวิธีการบรรเทาอาการให้ดีขึ้นเท่านั้น หากท่านใดที่รู้สึกว่าตนเองเมารถทุกครั้งที่มีการเดินทางด้วยยานพาหนะ ให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการเกิดอาการขึ้น