โรคอ้วนในเด็ก (Child Obesity) คือ ภาวะการสะสมของไขมันในร่างกายที่มีปริมาณมากกว่าปกติ ส่งผลให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ในปัจจุบันโรคนี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผู้ปกครองควรหันมาใส่ใจสุขภาพบุตรหลานของท่านกันให้มากขึ้น เพราะโรคนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเสี่ยงนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย
พฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม
โรคประจำตัว หรือผู้ที่มีกลุ่มอาการเฉพาะ
โรคทางระบบหายใจ ซึ่งเสี่ยงที่จะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ไขมันในเลือด, ความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน, ภาวะไขมันพอกตับ
ในเพศหญิง อาจจะมีอาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
โรคทางกระดูก, กล้ามเนื้อ, ข้อ
ถุงน้ำดี และตับเกิดการอักเสบ
การวัดค่าดัชนีมวลกาย ต้องเปรียบเทียบตาราง BMI ตามอายุ โดยให้ดูน้ำหนักตามเกณฑ์ เทียบกับส่วนสูง หากมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์ จะถือว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน
ตรวจเลือด เพื่อหาค่าระดับไขมัน, วิตามินดี, น้ำตาล, ฮอร์โมนที่ทำงานผิดปกติ ในร่างกายของเด็ก
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เช่น หลีกเลี่ยงอาหารทอด, อาหารประเภทแป้ง, อาหารรสจัด, การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่, เพิ่มอาหารที่มีกากใยสูง เป็นต้น
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยการหากิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
ควรดื่มนมที่มีไขมันต่ำ หรือนมจืดพร่องมันเนย
ลดระยะเวลากิจกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น การดูทีวี, เล่นเกม, เล่นโทรศัพท์
ผู้ปกครองต้องคอยเป็นกำลังใจ เพราะกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของบุตรหลาน
ในปัจจุบันนี้ ทั่วโลกพบว่ามีแนวโน้มที่จะประสบพบเจอกับโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น ผู้ปกครองควรหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพของบุตรหลานกันให้มากขึ้น เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อชีวิตบุตรหลานของท่าน หากจะป้องกันโรคนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค, การใช้ชีวิต, กำลังใจ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก หากบุตรหลานของท่าน มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคอ้วนในเด็ก ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัย รับคำแนะนำ และรักษาต่อไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
3 วิธีการลดอ้วนที่ไม่ใช่แค่น้ำหนักลด
โรคอ้วน สัญญาณเตือนของความเสี่ยงหลายโรคร้าย