ตาบอดสี (Color Blindness) คือ ภาวะที่เกิดจากเซลล์รับสีที่ดวงตาเกิดความบกพร่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถแยกสีได้ ทำให้มีปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ หรือการทำงานในบางสายอาชีพ เป็นต้น
กรรมพันธุ์ หากมีบุคคลภายในครอบครัวเป็นตาบอดสี อาจทำให้เกิดการส่งต่อเป็นพันธุกรรมไปยังลูกหลาน ผ่านยีนด้อยบนโครโมโซมเอ็กซ์
ความผิดปกติของระบบประสาท
เกิดจากความบกพร่องทางสายตา หรือมีการบาดเจ็บที่บริเวณดวงตา เช่น ต้อหิน, ต้อกระจก, จอประสาทตาเสื่อม, เคยได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณดวงตา เป็นต้น
หากมีอายุที่มากขึ้น อาจส่งผลให้เซล์มีการเสื่อมตามช่วงวัยได้
ไม่สามารถแยก หรือจดจำสีได้ ส่งผลให้เกิดความสับสนในการมองสี เช่น การแยกสีเขียว และแดงไม่ได้ แต่ผู้ป่วยสามารถแยกได้ในกรณีของสีเหลือง และน้ำเงิน
มองเห็นได้เฉพาะบางโทนสี แต่บางสีอาจเห็นแตกต่างจากบุคคลอื่น
ในบางกรณี อาจพบผู้ป่วยที่สามารถมองเห็นได้แค่สีขาว, ดำ และเทาเท่านั้น แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก
อาจส่งผลต่อปัญหาด้านอื่น ๆ ของสายตา เช่น ลานสายตา และการมองเห็นที่ลดลง ซึ่งกรณีนี้จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย
การขับขี่ยานพาหนะ
ผู้ป่วยที่เป็นตาบอดสี มักมีปัญหากับการแยกสัญญาณไฟจราจร แต่ไม่ได้เสี่ยง หรืออันตรายมากกว่าบุคคลทั่วไปมากนัก เพราะไฟจราจรมีความเข้มของแสงที่สูง ซึ่งผู้ป่วยสามารถแยกแยะสีของสัญญาณเหล่านั้นได้ในส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นการขับรถส่วนบุคคล อาจไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ปัญหามักจะเกิดกับผู้ที่ขับรถสาธารณะมากกว่า
การประกอบอาชีพ
ผู้ป่วยจะไม่สามารถประกอบอาชีพ ที่มีความจำเป็นต้องใช้การจำแนกสีได้ เช่น นักบิน, เภสัชกร, เจ้าหน้าที่ทหาร หรือตำรวจ, พนักงานขับรถ, พนักงานขับรถไฟ, เป็นต้น
การเรียงเฉดสี แพทย์จะให้ผู้ป่วยเรียงเฉดสีที่กำหนด โดยต้องเรียงให้ถูกต้อง หากพบว่าเป็นตาบอดสี จะไม่สามารถเรียงเฉดสีให้ถูกต้องได้
การใช้แผ่นภาพอิชิฮะระ เป็นการหาตัวเลขบนแผ่นภาพ โดยแต่ละภาพจะมีจุดสีที่ต่างกัน ผู้ป่วยที่เป็นตาบอดสี จะไม่สามารถบอกตัวเลขบนภาพได้อย่างถูกต้อง วิธีนี้สามารถวินิจฉัยได้รวดเร็ว แต่ไม่สามารถบอกความรุนแรงของตาบอดสีได้
ปัจจุบันตาบอดสียังไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะ หรือให้หายขาดได้ เพราะเป็นโรค, ภาวะที่เกิดจากกรรมพันธุ์ อีกทั้งผู้ป่วยยังสามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ แต่จะมีข้อจำกัดบางอย่างเท่านั้น ผู้ป่วยอาจจะใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง เช่น จดจำสัญลักษณ์, การจำตำแหน่งของไฟจราจรแทนการจำสี เป็นต้น
สำหรับตาบอดสี จะไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่นอน มีเพียงการลดโอกาสที่จะเกิดขึ้น หากมีบุคคลในครอบครัวกำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ และควรตรวจสายตาสม่ำเสมอ เพราะอาจจะถ่ายทอดภาวะนี้ไปสู่รุ่นลูกได้
ตาบอดสี ถึงแม้จะเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ หรือการประกอบอาชีพบางอย่าง ที่จำเป็นต้องใช้สายตาในการจำแนกสี แต่ผู้ป่วยยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนบุคคลอื่นทั่วไป ซึ่งภาวะนี้ไม่มีการป้องกัน และการรักษาให้หายขาด แต่ท่านสามารถลดโอกาสการเกิดตาบอดสีขึ้น โดยเข้ารับการตรวจจากแพทย์ ก่อนตัดสินใจที่จะมีบุตร เพราะเป็นโรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรม
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน