ตรวจปริมาณหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
CT Calcium Scoring ตรวจปริมาณหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ

การตรวจปริมาณหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Scoring) คือ การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ตรวจหาหินปูนบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมาจากความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติ หรือกลไกที่สร้างมาเพื่อป้องกันการอักเสบของแต่ละบุคคล เมื่อมีปริมาณมากก็จะยิ่งเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจวายเฉียบพลันได้ในอนาคต แม้ว่าจะยังไม่แสดงอาการความผิดปกติออกมา

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ควรตรวจ CT Calcium Scoring

 

เพราะมีโอกาสที่หลอดเลือดหัวใจจะเกิดความผิดปกติขึ้น ได้แก่

 

  • ผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี

 

  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนแล้ว

 

  • ความดันโลหิตสูง

 

  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

  • สูบบุหรี่

 

  • ไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150 มก./ดล.

 

  • คอเลสเตอรอลในเส้นเลือด มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดลซิลิตร

 

  • ผู้ป่วยโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต

 

  • บุคคลที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

  • ความเครียด

 

  • ไม่ออกกำลังกาย

 

 

อ้วนและเครียด

 

 

วิธีการตรวจ CT Calcium Scoring

 

เพียงนอนหงายราบอยู่บนเตียงผ่านเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที โดยไม่ต้องผ่านการฉีดสี ให้น้ำเกลือ หรือเตรียมตัวงดน้ำ-อาหาร ก่อนตรวจ ทั้งนี้ศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ มีความแม่นยำสูง สามารถทราบผลตรวจได้เลย ทำให้ไม่มีการนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล ช่วยให้ผู้เข้ารับบริการประหยัดเวลา รวมทั้งผลข้างเคียงในร่างกายจากการใช้รังสีที่น้อย โอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วยหรือผิดปกติน้อยมาก

 

 

ct scan โรงพยาบาลเพชรเวช

 

 

การแปลผลตรวจ CT Calcium Scoring

 

CT Calcium Scoring จะบอกคะแนนจากระดับหินปูน เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและหัวใจวายเฉียบพลันได้ ดังนี้

 

  • 0 มีความเสี่ยงระดับต่ำ

 

  • 1-10 เสี่ยงต่อหัวใจวายเฉียบพลันน้อย

 

  • 11-100 โอกาสเป็นโรคใจวายเฉียบพลันปานกลาง

 

  • 101-400 อาจจะต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพราะเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันสูง

 

  • 400 ขึ้นไป หลอดเลือดอาจมีการตีบแฝงอยู่แต่ไม่แสดงอาการ แพทย์จะพิจารณาการรักษาต่อไป

 

 

ข้อแนะนำหลังตรวจ CT Calcium Scoring

 

ผู้ที่มีระดับหินปูน 0-400 ควรปฏิบัติดังนี้

 

  • บริโภคผัก ผลไม้ ที่มีกากใยอาหารสูง รวมทั้งธัญพืชไม่ขัดสี

 

  • ใช้กรรมวิธีปรุงอาหารแบบตุ๋น ต้ม นึ่ง แทนการใช้น้ำมันทอดหรือผัด

 

  • ควบคุมการรับประทานอาหารไขมันสูง เช่น เครื่องใน ไข่ เนื้อสัตว์ทะเล ซอสปรุงรส กะทิ เนย เป็นต้น

 

  • จำกัดเครื่องดื่มหรือขนมรสหวาน เพียง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

 

  • ออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งควรทำติดต่อกัน 20-30 นาที

 

  • ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส ระบายความเครียดอย่างถูกสุขลักษณะ

 

  • รักษาโรคประจำตัวให้หายขาด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน

 

ผู้ที่มีระดับหินปูน 400 ขึ้นไป ควรปฏิบัติตามที่กล่าวมาในข้างต้น รวมทั้งไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • เจ็บแน่นหน้าอก

 

  • หายใจไม่สะดวก

 

  • เหงื่อออก

 

  • ใจสั่น

 

  • วิงเวียนศีรษะ

 

 

รับประทานผักและผลไม้

 

 

CT Calcium Scoring และ EST แตกต่างกันอย่างไร

 

  • อย่างที่ทราบกันดีว่า CT Calcium Scoring เป็นการตรวจความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจที่มีปริมาณหินปูน ตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีการตีบจนไปถึงตีบมาก ซึ่งจะสัมพันธ์กับปริมาณตะกรันในหลอดเลือด หากมีจำนวนมากเท่าไหร่หลอดเลือดก็จะยิ่งเสื่อม

 

  • ส่วน EST หรือการตรวจสมรรถภาพการออกกำลังกาย จะเป็นการหาภาวะหัวใจขาดเลือด ในขณะที่ผู้เข้ารับบริการตรวจอาจจะวิ่งอยู่บนลู่สายพานหรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ จะพบความผิดปกติเมื่อมีการตีบของหลอดเลือดหัวใจมากแล้ว ทำให้การหมุนเวียนโลหิตทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เกิดการเจ็บแน่นบริเวณหน้าอกในที่สุด

 

 

หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งโรคนี้ได้พรากชีวิตคนไทยประมาณ 2-3 คนในทุกชั่วโมง และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นควรป้องกันไว้ตั้งแต่ต้นแม้ไม่มีอาการก็ไม่ควรกระทำพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งนี้หากท่านได้ที่ต้องการตรวจ CT Calcium Scoring, EST การตรวจสมรรถภาพการออกกำลังกาย หรือ Echocardiogram โรงพยาบาลเพชรเวชพร้อมให้บริการ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line : @petcharavej

เพิ่มเพื่อน

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ECHO เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

 

 

EST ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย

 

 

CT SCAN นวัตกรรมสแกนโรค

 

 

ตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจคืออะไร