โรคไขกระดูกบกพร่องอันตรายถึงชีวิต ป้องกันได้อย่างไร
โรคไขกระดูกบกพร่องอันตรายถึงชีวิต ป้องกันได้อย่างไร

โรคไขกระดูกบกพร่องเป็นโรคที่ในปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาได้ยาก และไม่มีวิธีป้องกันที่แน่นอนเนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด โรคนี้มีด้วยกันอยู่ 2 ลักษณะ คือ โรคไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia) และโรคที่ไขกระดูกยังไม่ฝ่อแต่ทำงานเสื่อมประสิทธิภาพ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าโรคไขกระดูกเสื่อม (Myelodysplastic Syndrome : MDS)

 

โรคไขกระดูกบกพร่องคืออะไร

 

เป็นโรคที่ไขกระดูกจะมีการผลิตเซลล์ต้นกำเนิดน้อยลง หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้ไขมันในร่างกายสามารถแทรกเข้าไปในไขกระดูกแทนที่เซลล์ที่หายไป ส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ตามปกติ โดยสาเหตุในการเกิดนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ไม่ใช่โรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์อย่างแน่นอน โดยโรคไขกระดูกฝ่อจะพบในผู้ที่มีอายุไม่มาก แต่โรคไขกระดูกเสื่อมจะพบในวัยสูงอายุ และด้วยเหตุที่ว่าโรคไขกระดูกฝ่อเป็นโรคที่อันตรายเนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้นตามอายุ เราจึงต้องเจาะลึกโรคชนิดนี้มากกว่า ซึ่งอาจมีสาเหตุของการเกิดโรคชนิดดังกล่าว ดังนี้

 

  • เกิดจากสาร หรือตัวยาบางชนิด ที่ส่งผลให้กระดูกเสื่อม เช่น ยาแก้อักเสบ ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • เกิดจากการติดเชื้อจากโรคอื่น เช่น เชื้อจากโรคไวรัสในเด็ก เป็นต้น

 

โรคไขกระดูกบกพร่องหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีจะสามารถกลายเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้อีกด้วย ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากมีอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 5 เดือนเท่านั้น

 

 

โรคนิ้งกุลสตรี

 

อาการใดที่บ่งบอกว่าเราเสี่ยงไขกระดูกฝ่อ

 

อาการของโรคดังกล่าวจะไม่ปรากฏแบบรุนแรงแต่จะเป็นขั้นเป็นตอนค่อยเป็นค่อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยอาการที่สามารถสังเกตเป็นสัญญาณได้ มีดังนี้

 

  • ตัวซีด อ่อนเพลีย และมีจุดสีแดงตามตัว
  • หอบแลเหนื่อย หัวใจเต้นแรง
  • มีเลือดออกจากช่องทางต่าง ๆ เช่น เลือดกำเดา เลือดจากการขับถ่าย เป็นต้น

 

และเนื่องจากไขกระดูกไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้จึงทำให้เกิดภาวะอื่น ๆ ตามมา เช่น ภาวะเลือดออกง่าย และจากการที่เม็ดเลือดขาวไม่ถูกผลิตส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ทำให้เสี่ยงเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาซึ่งถือเป็นอาการที่รุนแรงที่สุดนั่นเอง

 

โรคไขกระดูกบกพร่องป้องกันไม่ได้ควรทำอย่างไร

 

อย่างที่ทราบกันดีว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคที่สามารถป้องกันได้โดยตรง ดังนั้นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการตรวจสุขภาพ เนื่องจากการโปรแกรมตรวจสุขภาพจะมีการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดที่สามารถช่วยให้เรารู้ได้ นอกจากนี้หากเป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาได้ยาก โดยต้องขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ดังนี้

 

  • หากอายุน้อยรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกจากพี่ หรือน้อง หรือบุคคลอื่นที่สามารถเข้ากันได้
  • หากอายุมากให้รับยาแอนติบอดีลักษณะคล้ายการทำเคมีบำบัด

 

โรคที่เกิดขึ้นกับไขกระดูกมีผลอย่างมากกับร่างกายดังนั้น เมื่อพบว่าตนมีอาการตามที่กล่าวไปควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ และคำปรึกษาต่อไป