โรคคอตีบ (Diphtheria) เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่มีความน่ากลัวเป็นอย่างมาก เพราะสามารถติดต่อกันง่าย โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีระดับของภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอต่อโรคคอตีบ ซึ่งผู้ป่วยรายที่มีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อาจเสี่ยงทำให้กลายเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Corynebacterium diphtheria ที่ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ (Toxogenic) กับสายพันธุ์ที่ไม่ทำให้เกิดพิษ (Non-toxogenic) หากเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ จะส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นและมีแผ่นเยื่อหนาเกิดขึ้นภายในลำคอ หรือหลอดลม ทำให้มีการอุดตันที่ทางเดินหายใจ หากในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจส่งผลให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้
มีไข้ต่ำ ๆ คล้ายเป็นหวัด
เจ็บคอมาก, ไอรุนแรง
เบื่ออาหาร, กลืนอาหารลำบาก, อ่อนเพลีย
มีแผ่นฝ้าสีเทาติดแน่นที่บริเวณช่องคอ, ทอนซิล, โพรงจมูก, กล่องเสียง เป็นต้น
ปวดศีรษะ, ครั่นเนื้อครั่นตัว
ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กโต อาจจะมีอาการคล้ายคออักเสบเกิดขึ้น
บางรายจะพบอาการของต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณลำคอโต
ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจจะเกิดการตีบตันที่ทางเดินหายใจ จนหายใจไม่ออกและมีการเสียชีวิตได้
ระยะการฟักตัวของโรคคอตีบจะอยู่ที่ประมาณ 2 - 5 วัน หรืออาจจะนานกว่านี้ได้ ผู้ป่วยจะมีเชื้ออยู่ภายในร่างกายประมาณ 2 สัปดาห์ หากไม่ได้เข้ารับการรักษา แต่ถ้าเข้ารับการรักษาเชื้อจะหมดไปภายใน 1 สัปดาห์
เชื้อของโรคคอตีบจะพบอยู่ภายในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วย และผู้ที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการ โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านการไอ, จาม หรือมีการพูดคุยระยะประชิดกับผู้ที่มีเชื้อ บางครั้งอาจมีการติดต่อผ่านการใช้ภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วย เช่น ของเล่น หรือแก้วน้ำ เป็นต้น
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจทำให้เกิดหัวใจวายขึ้นได้
ปลายประสาทมีการอักเสบ จนส่งผลทำให้กล้ามเนื้อกลายเป็นอัมพาต
ทางเดินหายใจตีบตัน ส่งผลให้หายใจลำบาก, ปอดมีการติดเชื้อ เป็นต้น
แพทย์จะพิจารณาจากอาการที่แสดงออกมาของผู้ป่วย คือ มีเยื่อบุหนาสีเทาติดอยู่ในทอนซิลและคอ, มีอาการเจ็บคออย่างมาก โดยแพทย์อาจใช้วิธีการเพาะเชื้อจากเยื่อบุในลำคอภายในห้องทดลอง และอาจจะใช้ตัวอย่างจากแผลที่บริเวณผิวหนังไปเพาะเชื้อ เพื่อดูว่าผู้ป่วยเป็นโรคคอตีบหรือไม่
การรักษาแบบประคับประคองอาการ เช่น ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่, การให้ยารักษาตามอาการ, ให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ, การใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะควบคู่กับการให้ยาต้านพิษ (Diphtheria antitoxin) เพื่อทำลาย Exotoxin ก่อนที่จะส่งผลกระทบสู่กล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท
การให้ยาเพนนิซิลิน เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียภายในร่างกายของผู้ป่วย
หากผู้ป่วยถูกสงสัยว่าจะเป็นโรคคอตีบ แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาอิริโทรมัยซิน
แพทย์จะเฝ้าระวังผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ในกรณีหากมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเกิดขึ้น เช่น ระบบหายใจที่อาจมีการอุดกั้นระบบทางเดินหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิตที่อาจส่งผลให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย, สวมหน้ากากอนามัยหากจำเป็นต้องมีการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะประชิด
ล้างมือด้วยสบู่บ่อย ๆ หลังมีการสัมผัสกับภาชนะต่าง ๆ หรือสัมผัสผู้ป่วย
หากมีอาการต้องแยกตัวอย่างน้อย 3 สัปดาห์หลังจากที่เริ่มมีอาการ
โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่าย ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ (DTP หรือ dT Vaccine)
หากมีผู้ป่วยโรคคอตีบเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แพทย์จำเป็นต้องทำการแยกห้องผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น
โรคคอตีบ เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่มีความอันตรายอย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจของเรา ถ้าหากผู้ป่วยติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น อาจทำให้กลายเป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้น ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเพื่อป้องกันตนเองเอาไว้ หากบุคคลใกล้ตัวมีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคคอตีบ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยอาการ และดำเนินการรักษาต่อไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง