ตรวจ Echo หัวใจดีไหม 
ตรวจ Echo หัวใจดีไหม 

สิ่งที่ทำให้สามารถทราบถึงลักษณะกายภาพและการทำงานของหัวใจจะต้องตรวจ Echo คือ การอัลตราซาวด์จากคลื่นความถี่สูงระดับ 1-12 เมกะเฮิรตซ์ Echocardiogram หรือ Echocardiography เพื่อประมวลผลสะท้อนกลับมาเป็นภาพ 2-3 มิติ หาความผิดปกติของกล้ามเนื้อและลิ้นหัวใจ รวมทั้งการบีบ คลายตัว การไหลเวียนโลหิตตำแหน่งหลอดเลือดหัวใจ หลังจากได้รับผลตรวจแล้วแพทย์ก็จะทำการวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือไม่

 

 

วิธีการตรวจ Echo หัวใจ 

 

  • ผู้เข้ารับบริการจะเปลี่ยนเสื้อผ้าของทางโรงพยาบาลที่จัดเตรียมไว้ให้

 

  • นอนหงายราบอยู่บนเตียง

 

  • จากนั้นจะติดอุปกรณ์ลักษณะเป็นแผ่นไว้ที่หน้าอก เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าและอัตราการเต้นของหัวใจ

 

  • จากนั้นเจ้าหน้าที่จะใช้เจลทาบริเวณหน้าอกใต้ราวนม รวมทั้งบริเวณส่วนหัวตรวจ

 

  • ทำการอัลตราซาวด์ใช้เวลา 30-45 นาที หรือไม่เกิน 1 ชั่วโมง

 

ระหว่างทำการตรวจจะไม่รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด อีกทั้งก่อนเข้ารับบริการก็ไม่ต้องงดน้ำ อาหาร แต่ถ้าหากรับประทานยาอะไรอยู่ ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อน

 

 

ตรวจ Echo

 

 

ผลการตรวจ Echo หัวใจ

 

ผลที่ได้จะมาจากภาพที่แพทย์จะพิจารณาร่วมกับอัตราจังหวะการเต้นของหัวใจ การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ ซึ่งจะเห็นเป็นโครงสร้าง ไม่ใช่เส้นเลือด ยิ่งผู้ที่เข้ารับการตรวจมีน้ำหนักตัวเยอะ จะมองเห็นได้ไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากไขมันมีส่วนไปบดบังคลื่นความถี่ สำหรับผู้ที่มีความผิดปกติจะทราบถึงความเสี่ยงของโรค จากร่องรอยต่าง ๆ ได้ เช่น

 

  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

  • การบีบคลายตัวของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ

 

  • ลิ้นหัวใจเสื่อม

 

  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือพบของเหลวขังอยู่บริเวณนั้น

 

  • รอยรั่วบริเวณผนังกั้นห้องหัวใจซึ่งอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิด

 

 

อาการที่ควรเข้ารับการตรวจ Echo หัวใจ

 

  • หอบ

 

  • เหนื่อยง่าย

 

  • หายใจลำบาก

 

  • แน่นหน้าอก

 

  • หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ

 

  • ผู้ที่เคยประสบกับภาวะหัวใจวายหรือได้รับการวินิจฉัยว่าหัวใจทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

 

  • บุคคลในครอบครัวที่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ 

 

 

เจ็บหน้าอก

 

 

ตรวจ Echo ที่ไหนดี

 

  • โรงพยาบาลเพชรเวชพร้อมให้บริการตรวจ Echo ในราคาสุดคุ้มค่า จากเครื่อง Echocardiogram แล้วยังมี CT Coronary Calcium Score หาปริมาณหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งก็เป็นการคัดกรองความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เพราะถ้าหากแคลเซียมตัวนี้มีเยอะมาในหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดการตีบตัน เป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

 

 

  • อีกทั้งยังมีศูนย์หัวใจที่รองรับการรักษา 24 ชั่วโมง ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งหออภิบาลผู้ป่วยหนักพร้อมทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจโดยเฉพาะ

 

 

หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานไม่หยุดพัก หากมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อยย่อมอาจส่งผลกระทบได้ถึงแก่ชีวิต ดังนั้นควรทำการป้องกันก่อนจะมีอาการรุนแรง เพราะวิถีชีวิตในปัจจุบันล้วนก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ สำหรับท่านใดสนใจการตรวจหัวใจหรือตรวจสุขภาพต่าง ๆ สามารถติดต่อได้สอบถามที่ Line : @petcharavej

เพิ่มเพื่อน

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ตรวจหาแคลเซียมหรือหินปูนในหลอดเลือดหัวใจคืออะไร