ไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับ ภัยเงียบสุดอันตรายที่ควรระวัง

 

ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เป็นภาวะที่เกิดจากพฤติกรรมการทานอาหาร และดื่มแอลกอฮอล์ เป็นหนึ่งในภัยเงียบเนื่องจากอาการที่ไม่แสดงออกมาอย่างชัดเจน และสังเกตได้ยาก สามารถรักษาได้ด้วยการลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงการทานไขมัน และป้องกันได้ด้วยการตรวจสุขภาพ

 

 

ไขมันพอกตับคืออะไร

 

ไขมันพอกตับ เป็นภาวะจากการสะสมของไขมันบริเวณตับที่มากเกินมาตรฐานของคนทั่วไป โดยจะกินพื้นที่ของตับ 5-10 % เนื่องจากความผิดปกตินี้จะไม่แสดงอาการหรือความเจ็บปวดอย่างชัดเจน จึงจัดว่าเป็นภัยเงียบที่ควรระวัง

 

 

สาเหตุของไขมันพอกตับ

 

 

ดื่มแอลกอฮอล์

 

 

  • การดื่มแอลกอฮอล์ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยของผู้ที่ดื่ม เช่น ดื่มมานานแค่ไหน, อายุ และปริมาณการดื่มต่อวัน เป็นต้น

 

  • โรคประจำตัวอื่น ส่วนมากแล้วโรคที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงไขมันพอกตับ จะเป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับน้ำหนัก เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคอ้วน และโรคไขมันในเลือดสูง

 

  • เกิดจากปัจจัยด้านอื่น คือ การทานอาหารที่มีพลังงานสูงจำพวกไขมัน,แป้ง, น้ำตาลมากเกินไป และผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาต้านไวรัสบางชนิด เป็นต้น

 

 

กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อไขมันพอกตับ

 

 

บุคคลที่เป็นโรคอ้วน

 

 

  • บุคคลที่เป็นโรคอ้วน เช่น ผู้ชายที่มีรอบเอวเกิน 40 นิ้ว และผู้หญิงที่มีรอบเอวเกิน 35 นิ้ว เป็นต้น

 

  • บุคคลที่มีไขมันดี หรือ HDL ต่ำ 

 

  • บุคคลที่มีความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

 

  • บุคคลที่เป็นโรคเบาหวาน และมีน้ำตาลในเลือดสูง 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 

  • บุคคลที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 

 

ระยะของไขมันพอกตับ

 

ระยะที่ 1 

 

ไขมันที่เกิดการสะสมบริเวณตับยังไม่ส่งผลใด ๆ

 

ระยะที่ 2 

 

ตับจะมีอาการอักเสบ และจะอักเสบเรื้อรังหากปล่อยไว้โดยไม่รักษานานกว่า 6 เดือน

 

ระยะที่ 3 

 

เกิดพังผืดจากการอักเสบที่รุนแรง ตับจะถูกทำลาย และทดแทนด้วยพังผืด

 

ระยะที่ 4  

 

ตับถูกทำลายอย่างมาก ทำให้เกิดการทำงานผิดปกติ และเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ หรือตับแข็ง

 

 

อาการของไขมันพอกตับ

 

เนื่องจากอาการที่ไม่ค่อยแสดงออกมา ทำให้ผู้ป่วยสังเกตได้ยาก แต่ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ อาจจะเข้าข่ายว่าเป็นไขมันพอกตับได้ เช่น

 

 

อ่อนเพลีย

 

 

  • คลื่นไส้, อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร

 

  • น้ำหนักตัวลด, ใต้ชายโครงด้านขวามีอาการตึง  

 

  • เหนื่อยไม่มีแรง

 

  • เกิดน้ำคั่งที่บริเวณขา และท้อง

 

  • หากเข้าสู่ระยะที่ 4 ผู้ป่วยอาจจะเกิดภาวะตัวและตาเหลือง หรือภาวะดีซ่านขึ้นได้

 

 

การวินิจฉัยไขมันพอกตับ

 

ปัจจุบันสามารถตรวจหาภาวะดังกล่าวได้หลายวิธี เช่น 

 

  • การตรวจเลือด

 

  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

 

  • การตรวจการทำงานของตับ 

 

  • การตรวจด้วยอัลตราซาวด์

 

  • การตรวจด้วยเทคโนโลยีเครื่อง Fibroscan ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ผู้เข้ารับการตรวจจะไม่รู้สึกเจ็บ มีความแม่นยำสูง พร้อมได้ผลตรวจที่รวดเร็ว

 

 

การดูแลรักษาผู้ป่วยไขมันพอกตับ

 

  • ลดน้ำหนัก ให้ลดประมาณเดือนละ 1 - 2 กิโลกรัม จะสามารถช่วยลดอาการอักเสบในตับ และลดความรุนแรงของพังผืดได้

 

  • ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และงดการดื่มแอลกอฮอล์ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของไขมันพอกตับ

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน เป็นเวลา 30 นาที

 

  • รักษาโรคที่เป็นอยู่ หากป่วยเป็นโรคที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับไขมันพอกตับ ให้รักษา และทานยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรทานอาหารเสริมด้วยตนเองหากแพทย์ไม่อนุญาต

 

 

ตรวจสุขภาพประจำปี

 

 

  • เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี 

 

 

ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่อันตรายอย่างมาก เพราะภาวะนี้จะไม่ค่อยแสดงอาการใดออกมา จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการได้ยาก รู้ตัวอีกทีอาจจะรุนแรงถึงระยะที่ 3 และ 4 แล้ว หากผู้ป่วยท่านใดสังเกตเห็นความผิดปกติในร่างกายของตนเอง และอาจเข้าข่ายว่าจะเป็นไขมันพอกตับ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย รักษา และรับคำแนะนำในการป้องกันตนเองจากแพทย์



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ

 

อาหารและภาวะไขมันพอกตับ

 

โรคอ้วน สัญญาณเตือนของความเสี่ยงหลายโรคร้าย

 

อ้วนลงพุง พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม