การใช้ชีวิตในแต่ละวัน กับกิจกรรมมากมายที่เราต้องเผชิญ ในบางครั้งเราอาจหลงลืมบางสิ่งบางอย่างที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น ลืมกุญแจบ้าน ลืมโทรศัพท์ หรือลืมว่าวางแว่นตาไว้ตรงไหน อาการเหล่านี้อาจดูไม่มีอะไรผิดปกติ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งนั่นหมายถึงความเสี่ยงของอาการ “ขี้หลงขี้ลืม” เป็นสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์ซึ่งมีสาเหตุหลักจาก 5 ปัจจัย
หากพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือนอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมง จะทำให้สมองทำงานหนักต่อเนื่องจนเกิดความเหนื่อยล้าส่งผลให้เราไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย รวมถึงเกิดอาการขี้ลืมได้ หากเกิดจากการนอนไม่หลับต่อเนื่องหลายวันอาจต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจ และรับคำปรึกษาปัญหาด้านการนอนหลับ
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือดื่มทุกวันจะส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนของฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเป็นเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ การทำงานของสมองในส่วนนี้จะลดลงทำให้เกิดอาการหลงลืมในระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้บางคนจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาดังกล่าว
ไม่ใช่เพียงแค่ความเครียดเท่านั้น ความรู้สึกด้านลบที่ส่งผลต่อความรู้สึก เช่น ความกังวล หรืออารมณ์เศร้า เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อความทรงจำเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเราตกอยู่ในสภาวะเหล่านี้จะทำให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทมากกว่าปกติ มีผลให้เกิดปัญหาด้านความจำ นอกจากนี้ยังเสี่ยงอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย
โรคบางโรคสามารถส่งผลต่อการทำงานของสมองในทางอ้อม เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดที่สูงจะส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ และสามารถส่งผลต่อความทรงจำ นอกจากนี้การรักษาโรคด้วยยาบางชนิดยังมีผลข้างเคียงกับการทำงานของสมอง เช่น ยาระงับประสาท หรือยาลดไขมันในเลือด เป็นต้น
เป็นสาเหตุที่ยากจะหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะอายุที่มากขึ้นในวัยตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ความจำอาจมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงแม้จะป้องกันได้ยาก แต่การดูแลตนเองให้เหมาะสมตามช่วงวัยจะสามารถช่วยรักษาสภาพของร่างกายให้เสื่อมช้าที่สุดได้ เช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
หากเกิดอาการหลงลืมบ่อยครั้งมากขึ้น หรือเป็นเรื้อรัง นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ เพื่อป้องกันโรคดังกล่าวเราควรดูแลตนเองให้มากขึ้น และเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาด้านความจำบ่อยครั้ง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI