นิ่วในถุงน้ำดี คือ โรคที่เกิดจากการตกผลึกของคอเลสเตอรอล, เม็ดสีบิลิรูบิน และการตกค้างจากของเสียในถุงน้ำดี ซึ่งการตกผลึกของสารเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดเป็นก้อนนิ่ว โดยอาจจะเป็นเพียงก้อนเดียว หรือเป็นก้อนเล็กหลายก้อน ในระยะเริ่มแรกโรคนี้มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่มักจะตรวจเจอจากการตรวจสุขภาพ ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และพบมากในเพศหญิง นิ่วในถุงน้ำดีหากปล่อยเอาไว้นาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
เกิดจากคอเลสเตอรอล
ถือว่าเป็นสาเหตุการเกิดที่พบเจอได้บ่อยที่สุด มีลักษณะเป็นก้อน โดยปกติจะเป็นคอเลสเตอรอลที่ตกค้าง และอาจมีสารอื่น ๆ ปะปนอยู่ด้วย โดยคอเลสเตอรอลดังกล่าว หลงเหลือจากการละลายของร่างกายจนตกตะกอนรวมกันเป็นก้อน
เกิดจากบิลิรูบินหรือเม็ดสี
สาเหตุมาจากบิลิรูบินในน้ำดีมีปริมาณมากจนเกินไป โดยสาเหตุที่ทำให้มีบิลิรูบินมากเกินไปมีหลายประการ โดยส่วนมากจะเป็นภาวะที่มีผลต่อเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมียหรือโรคตับแข็ง เป็นต้น
ของเสียในถุงน้ำดี
ในกรณีเกิดจากการทำงานของถุงน้ำดี ที่มีระบบจัดการของเสียไม่สมบูรณ์ อาจเป็นสาเหตุให้น้ำดีมีความเข้มข้นจนก่อตัวเป็นก้อนได้
พันธุกรรมจากบุคคลในครอบครัว
น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานทำให้มีคอเลสเตอรอลมากตามไปด้วย
เพศและอายุ เพราะส่วนมากนิ่วในถุงน้ำดีจะเกิดกับเพศหญิง และผู้สูงอายุ
เกิดจากโรคอื่น ๆ หรือพฤติกรรมที่มีผลต่อการบีบตัวของนิ่วในถุงน้ำดี เช่น โรคเบาหวาน หรือการลดน้ำหนักตัวจนมากเกินไป เป็นต้น
การใช้ยาที่มีผลให้คอเลสเตอรอลมีจำนวนมากขึ้น เช่น ยาคุมกำเนิดหรือยาลดคอเลสเตอรอล เป็นต้น
โดยปกติแล้วมักจะไม่แสดงอาการที่รุนแรงออกมา ผู้ป่วยสามารถพบก้อนนิ่วได้จากการตรวจสุขภาพ และสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้
มีอาการปวดตามลำตัว เช่น ช่องท้อง, ไหล่, หลัง เป็นต้น
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
มีผลกับระบบย่อยอาหารอย่างเห็นได้ชัด เช่น ท้องอืด, ท้องเฟ้อ, แน่นท้องหลังทานอาหาร เป็นต้น
อาการปวดต่าง ๆ ตามที่กล่าวมา จะปวดเพียงชั่วคราวจนถึงหลักชั่วโมง หากมีอาการอื่นแทรกซ้อนควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เช่น ผิวเหลือง, มีอาการหนาวสั่น, ปวดท้องอย่างรุนแรง เป็นต้น
หากปล่อยให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี หรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ถุงน้ำดีอักเสบ
เกิดก้อนนิ่วในท่อถุงน้ำดีทำให้เป็นไข้, ตาเหลือง ตัวเหลือง และเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
ตับอ่อนอักเสบ
เกิดการปวดท้องรุนแรงเพราะก้อนนิ่วเคลื่อนตัวไปอุดตันท่อที่ตับอ่อน
มะเร็งท่อน้ำดี
แม้จะพบได้น้อยมาก แต่โรคนี้มักจะพบได้ในผู้ที่เคยป่วยเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมาก่อน
ติดเชื้อในกระแสเลือด
หากถุงหรือท่อน้ำดี และตับอ่อนเกิดมีปัญหา จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
ซักถามประวัติอาการ และทำการตรวจร่างกายผู้ป่วย
อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน
ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ
การผ่าตัดแบบส่องกล้อง
หากท่อน้ำดีอุดตัน แพทย์จะใช้เข็มเพื่อเจาะผ่านตับเข้าไปภายในท่อน้ำดี
การรักษานิ่วในถุงน้ำดีสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ จะไม่มีการรักษาใด ๆ เพียงแต่ต้องหมั่นตรวจสุขภาพเพื่อเช็คตลอด ว่าก้อนนิ่วจะไม่เป็นผลเสียต่อร่างกาย
ส่วนการรักษาสำหรับรายที่แสดงอาการส่วนใหญ่ จะเป็นการผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ควรข้ามมื้ออาหาร หรืองดอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและมีเส้นใยต่ำ
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และหมั่นออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค
สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ไม่ควรลดน้ำหนักอย่างหักโหมเพราะจะทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น
ผ่าตัดผ่านกล้อง
ปัจจุบันในวงการแพทย์ ได้มีการพัฒนาในเรื่องของการผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพ และเจ็บน้อยลง ทางโรงพยาบาลเพชรเวชเห็นความสำคัญในจุดนี้ เราจึงนำการ "ผ่าตัดส่องกล้อง" เข้ามาประกอบการผ่าตัด กับห้องผ่าตัดมาตรฐานระดับสากลจาก Hospital Accreditation (HA) ซึ่งการผ่าตัดรูปแบบนี้จะเป็นการผ่าตัดแผลเล็ก และปฏิบัติผ่านกล้องชั้นสูง (Advance Minimally) อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า เจ็บน้อยกว่า ฟื้นฟูร่างกายได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
นิ่วในถุงน้ำดี เป็นอีกหนึ่งโรคที่ท่านไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะฉะนั้นทุกท่านควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น หากแพทย์วินิจฉัยว่าท่านมีนิ่วในถุงน้ำดี จะได้เข้ารับการรักษาในทันที
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง