ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ Gestational Diabetes เป็นอาการของคุณแม่ที่อาจจะเป็นเบาหวานมาก่อนหรือระหว่างการตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากภาวะรกในครรภ์ทำการสร้างฮอร์โมนหรือสารเคมีบางอย่าง เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน และทำให้ไปรบกวนการทำงานของอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด ระหว่างนี้คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมรับมือให้ดี เพื่อรักษาชีวิตของทารกน้อยในครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
ความดันโลหิตสูง
บุคคลในครอบครัวมีประวัติการเป็นเบาหวาน หรือ อาจจะเคยคลอดแบบผิดปกติมาก่อน
ระหว่างตั้งครรภ์ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแบบผิดปกติ
ถ้าคุณแม่คนไหนรู้ตัวและตรวจเจอแล้วว่าตนเองมีภาวะนี้ อยากให้ลองหาวิธีเตรียมรับมือ เพราะโรคนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อตัวคุณแม่อย่างเดียว แต่มีผลกระทบต่อทารกน้อยในครรภ์ด้วย
ผลกระทบต่อตัวคุณแม่
ถ้ามีน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และอาจจะเกิดโรคอื่นเพิ่มขึ้นมาได้
เสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ
อาจเสี่ยงเป็นเบาหวานซ้ำได้ และจะมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
อาจจะมีภาวะตกเลือดหลังคลอด
มีโอกาสเสี่ยงขณะผ่าท้อง เพราะทารกตัวใหญ่มากผิดปกติ
ผลกระทบต่อทารก
คลอดก่อนกำหนดและเสี่ยงพิการแต่กำเนิด
มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าปกติ
มีโอกาสเป็นโรคอ้วน และอาจจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงกว่าปกติ
อาจมีพัฒนาการที่ช้า เพราะระบบประสาทและสมองมีปัญหา
เมื่อเป็นแผล แผลจะหายช้า
มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลดผิดปกติ และสายตาพร่ามัว
มีอาการปากแห้ง กระหายน้ำบ่อย
ปัสสาวะบ่อยแบบผิดปกติ
ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้และอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเช็กอาการโดยด่วน จะได้ทราบอาการแล้วพร้อมหาวิธีรับมือและดูแลตัวเอง
ช่วงที่อายุครรภ์มาก ควรระมัดระวังการลุก ยืน และเดิน ในกรณีที่มีบุคคลอื่นอยู่ด้วย ก็ควรขอความช่วยเหลือ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม
ควรเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง พยายามควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และฉีดอินซูลินตามที่แพทย์สั่ง
ก่อนกินยาต้องปรึกษาแพทย์เสมอ เพราะยาบางชนิดมีกระทบต่อทารก
กินผักและผลไม้ เช่น ผักสีเขียวหรือส้ม เพราะจะช่วยให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรงและเป็นประโยชน์ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมแบบสม่ำเสมอ
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่อันตรายมาก เพราะไม่ได้กระทบเพียงแค่ตัวคุณแม่ แต่จะมีผลถึงทารกในครรภ์ด้วย ถ้าหากมีประวัติว่าเคยเป็นภาวะนี้แล้ว ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ คุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง