โรคต้อหิน
ต้อหิน ภัยร้ายของดวงตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

 

ต้อหิน หรือ Glaucoma เป็นโรคเกี่ยวกับดวงตาที่พบบ่อยมาก ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบเลยว่าตนเองเป็นโรคนี้ รู้ตัวอีกทีคืออยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งเป็นระยะที่สามารถส่งผลกระทบให้ตาบอดได้

 

 

ต้อหิน เกิดจาก 

 

 

ต้อหินมีสาเหตุมาจากการเสื่อมของขั้วประสาทตา จากนั้นจะเกิดจุดบอดขึ้นที่ลานสายตา ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดต้อหิน คือ ความดันลูกตาที่สูงขึ้น 

 

 

ต้อหิน อาการเป็นอย่างไร  

 

 

  • ตามัว

 

 

 

 

  • เกิดอาการปวดตา

 

 

  • น้ำตาไหล

 

 

โรคต้อหินที่พบส่วนมากจะเป็นชนิดที่ไม่มีอาการใด ๆ ระยะของโรคจะเริ่มจากการเป็นต้อธรรมดา จนนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น แต่อาจจะใช้ระยะเวลานาน ต้อหินจะลามเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยตรวจพบในระยะใด ถ้าหากตรวจพบใกล้ระยะสุดท้าย ก็อาจสูญเสียการมองเห็นได้ ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าปกติ  

 

 

ประเภทของต้อหิน

 

 

ต้อหินชนิดมุมเปิด

 

 

คือ ชนิดที่พบได้บ่อย เกิดจากการอุดตันบริเวณช่องระบายน้ำของดวงตา ส่งผลให้น้ำไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงดวงตาได้อย่างเพียงพอ ก่อให้เกิดประสาทตาถูกทำลาย และความดันลูกตาสูงขึ้น


 

ต้อหินชนิดมุมปิด

 

 

มีสาเหตุมาจากมุมที่ตา ซึ่งถูกม่านตาปิดกั้น ทำให้น้ำที่จะหล่อเลี้ยงดวงตาไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ 

 

 

ต้อหินแต่กำเนิด หรือกรรมพันธุ์

 

 

เป็นต้อหินชนิดที่สามารถเกิดในเด็กทารก หรือถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบเจอได้น้อย แต่อาการค่อนข้างรุนแรง และควบคุมได้ยาก หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก อาจพัฒนาจนทำให้ตาบอดได้


 

ต้อหินชนิดทุติยภูมิ

 

 

เกิดจากโรคทางดวงตาชนิดอื่น หรืออาจจะเป็นโรคทางร่างกาย เช่น การอักเสบในดวงตา เคยเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา หรืออาจจะหมายถึงการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันลูกตาสูง


 

ต้อหินชนิดคล้ายคลึง

 

 

ในบางรายอาจจะพบลานสายตา หรือประสาทตา ที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่เป็นต้อหิน แต่มีความดันลูกตาปกติ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแล และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพราะยังไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าจะเกิดต้อหินขึ้นหรือไม่

 

 

 

 

การวินิจฉัยต้อหิน

 

 

  • ตรวจความดันลูกตา

 

 

  • ตรวจประสาทตาและจอรับภาพ

 

 

  • ตรวจขั้วประสาทตา

 

 

  • ตรวจและวัดประสิทธิภาพของลานสายตา

 

 

  • ตรวจช่องทางการไหลของน้ำหล่อเลี้ยงในดวงตา

 

 

ต้อหิน รักษาอย่างไร

 

 

 

 

  • การรักษาด้วยยา เช่น ยาหยอดตา เพราะจะช่วยลดความดันลูกตาให้อยู่ในระดับปกติ 

 

 

  • การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะขึ้นอยู่กับระยะเวลา และชนิดของโรค 

 

 

  • การรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ แพทย์จะเลือกเลเซอร์ ที่เหมาะกับชนิดของต้อหิน และระยะเวลาของโรค 

 

 

  • การรักษาด้วยการผ่าตัด จะใช้วิธีผ่าตัดในกรณี ที่การรักษาด้วยยา หรือเลเซอร์ไม่สามารถควบคุมความดันลูกตาได้ 

 

 

ต้อหิน ป้องกันได้อย่างไร

 

 

 

 

  • เข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปี 

 

 

  • ควรระมัดระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา 

 

 

  • ออกกำลังกาย สามารถช่วยลดความดันลูกตาลงได้ 

 

 

  • สวมแว่นตา หรืออุปกรณ์ที่ถนอม และป้องกันดวงตา 


 

ต้อหิน เป็นภัยเงียบที่อันตรายต่อดวงตาเป็นอย่างมาก เพราะต้อหินอาจส่งผลกระทบทำให้ตาบอดได้ ทุกท่านควรป้องกัน และระมัดระวังสายตาของตนเอง เพราะดวงตาถือเป็นหนึ่งในอวัยวะของร่างกายที่สำคัญมาก ๆ ต่อการดำเนินชีวิต ถ้าท่านใดที่ดวงตาเริ่มมีความผิดปกติ และเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคต้อหิน ควรรีบเขาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการโดยด่วน 



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

 

คลินิกจักษุ

 

แพ็กเกจเลเซอร์รักษาโรคตา