โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย เนื่องจากคนมีพฤติกรรมเสี่ยงกันมากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหาร การไม่ดูแลสุขภาพร่างกาย แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ เพราะอาการบางอย่างอาจจะคล้ายคลึงกับหลายโรค ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการ รวมถึงการป้องกัน เพื่อสำรวจตัวเองว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั่นเอง
อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจมีดังนี้
ในกลุ่มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมักจะเกิดจากสาเหตุการมีก้อนไขมัน หรือมีก้อนลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดแดงในหัวใจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อวัยวะต่าง ๆ ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น นอกจากนี้โรคหัวใจอาจเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษบางอย่าง รวมไปถึงการได้รับถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
การตรวจหัวใจด้วยเครื่อง EST คือ วิธีการทดสอบสมรรถภาพของหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายต่าง ๆ เช่น วิ่งบนลู่วิ่ง หรือการตรวจวิ่งสายพาน และปั่นจักรยาน วิธีดังกล่าวจะเป็นการสร้างแรงเค้นต่อกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อตรวจสอบว่า ขณะที่ร่างกายกำลังออกกำลังอย่างหนักนั้นหัวใจมีภาวะขาดเลือดหรือไม่ เพราะขณะออกกำลังหัวใจจะต้องการเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง หากมีเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจะส่งผลให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ความดันเลือดลดลง และหัวใจเต้นผิดปกติ
การตรวจหัวใจด้วยเครื่อง ECHO คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram หรือ Echocardiography) ใช้หลักการสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ปลอดภัย โดยปล่อยคลื่นเสียงจากหัวตรวจ (Transducer) ซึ่งดูคล้ายไมโครโฟนผ่านผนังทรวงอกเข้าไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอวัยวะต่าง ๆ ก็จะเกิดการสะท้อนกลับที่แตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำสัญญาณเหล่านั้นมาแปลงเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ
แม้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจะไม่สามารถออกแรงหนัก ๆ ได้ แต่การออกกำลังกายบางท่าสามารถทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้ดี ซึ่งเป็นผลดีสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ โดยวิธีการออกกำลังกายมีดังนี้
โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถสังเกตอาการได้ด้วยตนเอง หากพบว่าตนเองมีอาการ หรือมีความเสี่ยงเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจควรรีบเข้าพบแพทย์ หรือตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค และทำการรักษาต่อไป
_____________________________________
บทความที่เกี่ยวข้อง
_____________________________________
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง