ในช่วงฤดูฝน มีผู้คนมากมายต้องล้มป่วยกันหลายคน เพราะเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่พัดผ่านมากับลมฝน ซึ่งมีอยู่โรคหนึ่งที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่มักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน และมีความอันตรายต่อเด็กอย่างมาก นั่นคือ โรคมือ เท้า ปาก (Hand foot mouth disease) แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้จะเกิดขึ้นแค่กับเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน
เกิดจากการติดเชื้อในตระกูลเอนเทอโรไวรัส ซึ่งประกอบไปด้วยหลายสายพันธุ์ โดยส่วนมากจะเกิดจากสายพันธุ์คอกซากีไวรัส เอ16 (Coxsackie A16 Virus), สายพันธุ์คอกซากีไวรัส เอ 6 (Coxsackievirus A6), สายพันธุ์ไวรัสเริม (Herpes simplex virus, HSV) แต่สายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงจริง ๆ คือ เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus71, EV71) ที่มักทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โดยเฉพาะระบบประสาท โรคนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก แต่ผู้ใหญ่สามารถเป็นได้เช่นกัน แต่ความรุนแรงจะน้อยกว่าหรืออาจจะไม่มีอาการใด ๆ เลย
ติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ, ตุ่ม, ผิวหนัง หรืออุจจาระ เป็นต้น โดยสามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ การรับประทานอาหาร และดื่มน้ำร่วมภาชนะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโรคมือ เท้า ปาก จึงมักระบาดในพื้นที่โรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยระยะฟักตัวของโรคนี้จะอยู่ที่ประมาณ 3 - 6 วันหลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
มีไข้ขึ้นสูง, ครั่นเนื้อครั่นตัว
เกิดแผลที่ปากและผิวหนัง โดยส่วนมากจะพบที่มือกับเท้า บางครั้งอาจพบที่บริเวณก้นของเด็ก
ซึม, ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
ปวดศีรษะรุนแรง
ไอ และมีเสมหะเยอะ
หน้าซีด, หายใจเร็ว หรือหอบเหนื่อย
เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้อกระตุก, แขนและขาอ่อนแรง, ชัก, กรอกลูกตาผิดปกติ เป็นต้น
ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น สมองหรือเยื่อบุสมองอักเสบ
ระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะน้ำท่วมปอดเฉียบพลัน
ระบบการไหลเวียนโลหิต เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
มีการติดเชื้อที่ผิวหนัง
เกิดภาวะขาดน้ำจากการดื่มน้ำน้อย เพราะเจ็บแผลภายในช่องปาก
ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการว่าเข้าข่ายโรคมือ เท้า ปากด้วยตนเองได้ โดยส่วนมากอาการจะทุเลาลง และหายได้เองภายใน 7 - 10 วัน แต่ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้าพบแพทย์ทันที โดยแพทย์จะสอบถามประวัติหรืออาการของผู้ป่วย และอาจพิจารณาวิธีการวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้
การเพาะเชื้อไวรัส
การส่งตัวอย่างสารคัดหลั่งและอุจจาระ โดยแพทย์จะนำตัวอย่างสารคัดหลั่งและอุจจาระของผู้ป่วย ส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อไวรัส
การตรวจหายีนของเชื้อไวรัสด้วยวิธีการ PCR (Polymerase Chain Reaction)
การรักษาแบบประคับประคองอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวดลดไข้ พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาแอสไพรินกับเด็ก และควรให้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยรายที่จำเป็น
ทายาแก้ปวด หากเกิดแผลภายในช่องปาก
รับประทานไอศกรีม หรือเครื่องดื่มเย็น เพื่อลดอาการเจ็บแผลภายในช่องปากได้
หากผู้ป่วยเกิดภาวะขาดน้ำ แพทย์จะพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
หากเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายดี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
ใช้ทิชชูหรือผ้าปิดจมูกทุกครั้งขณะไอหรือจาม
ทำความสะอาดพื้นที่, ภาชนะ หรือของเล่นเด็กบ่อย ๆ และไม่ควรใช้ภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วย
ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งของ
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มร้อน อาหารรสจัด หรืออาหารที่เป็นกรด
หากมีแผลในช่องปาก ให้รับประทานอาหารเหลวแทน เพื่อลดการบดเคี้ยวอาหาร
หากมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการที่รุนแรง ควรเข้าพบแพทย์ทันที
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
ต้องพูดเลยว่าโรคมือ เท้า ปาก เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายต่อเด็กอย่างมาก เพราะอาการและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทางที่ดีควรแนะนำวิธีในการดูแลสุขอนามัยให้กับบุตรหลานของท่าน และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เพื่อลดความรุนแรงของโรค หากมีบุตรหลานท่านใดที่มีอาการเข้าข่ายโรคนี้ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที ถ้าหากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง