HPV สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกป้องกันด้วยวัคซีน
HPV สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกป้องกันด้วยวัคซีน

HPV (Human Papilloma virus) คือ เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ทวารหนัก ช่องคลอด ปากและลำคอ หูดหงอนไก่ จากการมีเพศสัมพันธ์ สัมผัสทางผิวหนัง เกิดขึ้นได้ทั้งผู้ชาย หญิง เพศอื่น ๆ ผู้ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกายมักจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมา จนแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น ซึ่งวัคซีน HPV จะสามารถป้องกันเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ราคาเหมาะสม

 

 

HPV มีกี่สายพันธุ์

 

 

การติดเชื้อ HPV (Human PapillomaVirus, HPV) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเชื้อ HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

 

 

กลุ่มที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (ความเสี่ยงสูง)

 

  • โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16, 18  มีความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกถึง 70 %  

 

  • นอกจากนี้สายพันธุ์ 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68, 73, 82 ด้วยเช่นกัน

 

 

กลุ่มที่ไม่ก่อโรคมะเร็ง (ความเสี่ยงต่ำ)

 

  • HPV 6, 11 ทำให้เกิดหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศถึง 90 % 

 

  • นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ 40, 42, 43, 44, 54, 61, 70, 72, 81 อีกเช่นกัน

 

 

มะเร็งปากมดลูก

 

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อ HPV

 

  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย

 

  • ไม่ทำการป้องกันโดยการสวมถุงยางอนามัย

 

  • เปลี่ยนคู่นอนหลายคน

 

  • ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

  • ผ่านการคลอดบุตรหลายคน

 

  • สูบบุหรี่

 

 

ท้องก่อนวัยอันควร

 

 

HPV vaccine

 

  • ค.ศ. 1980 มีการพบเชื้อ HPV 6 ในหูดหงอนไก่ 11 ปีต่อมามีการนำโปรตีนเปลือกหุ้มเชื้อ ที่สามารถประกอบตัวเอง มีอนุภาคคล้ายไวรัส โครงสร้างเหมือน HPV ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ จนกลายมาเป็นวัคซีน ในที่สุดองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศรับรองการใช้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 4 สายพันธุ์ ปี 2006 

 

  • หลังจากนั้นก็พัฒนาชนิด 9 สายพันธุ์ ได้แก่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58 ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงหากได้รับการฉีดในผู้ที่มีอายุ 9-26 ปี เน้นช่วง 11-12 ขวบ ก่อนการมีเพศสัมพันธ์  

 

  • แม้ว่าวัคซีน HPV จะมีประโยชน์มาก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับได้ โดยเฉพาะผู้ที่แพ้ยีสต์ซึ่งเป็นส่วนประกอบในนั้น สตรีมีครรภ์ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อบุตร รวมทั้งขณะอยู่ในช่วงกำลังเจ็บป่วย ไม่สบาย

 

  • หลังจากได้รับการฉีดแล้วอาจมีอาการปวด บวม แดง บริเวณที่สัมผัสกับเข็ม ใช้การประคบเย็นช่วยบรรเทาได้

 

 

หลังวัคซีน HPV

 

 

HPV Test

 

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สามารถทำได้ 3 วิธี เช่น


 

การตรวจแบบ VIA (Visual Inspection With Acetic Acid)


 

คือ การตรวจภายในแบบใช้น้ำส้มสายชู ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยากับบริเวณที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความผิดปกติของเซลล์


 

การตรวจแบบ Cytology (การตรวจทางเซลล์วิทยา) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้


 

  • Pap Smear เป็นการป้ายเซลล์จากปากมดลูก ลงที่แผ่นกระจกสไลด์ เพื่อหาเซลล์ที่ผิดปกติ

 

  • Liquid Based Cytology เป็นการเก็บเซลล์ปากมดลูกลงกระปุกน้ำยา เพื่อรักษาสภาพเซลล์ แล้วนำไปส่งที่ห้องปฏิบัติการ 


 

การตรวจหาเชื้อ HPV DNA


 

คือ การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก วิธีนี้จะให้ผลไว ความจำเพาะที่สูง และประสิทธิภาพที่ดีกว่าวิธีอื่น

 

 

สูตินรีแพทย์

 

 

หากพบเชื้อ HPV ในร่างกายควรทำอย่างไร

 

  • ไม่ควรตื่นตระหนก เพราะอาจยังไม่ใช่สายพันธุ์ที่ก่อมะเร็ง

 

  • ติดตามการตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิดปกติหรือไม่

 

  • สวมถุงยางอนามัยหากต้องการมีเพศสัมพันธ์แม้กระทั่งคู่สมรสของตนเองก็ตาม

 

  • งดสูบบุหรี่

 

  • รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • หลีกเลี่ยงความเครียด

 

 

หากต้องการความมั่นใจเพิ่มขึ้นอีก นอกจากการได้รับวัคซีน HPV แล้ว ควรทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย ซึ่งหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ๆ ประสิทธิภาพในการรักษาให้หายขาดมีโอกาสสูง ซึ่งโรงพยาบาลเพชรเวชมีบริการตรวจ คือ      การตรวจ Thin Prep จะอยู่ในโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี, Cobas HPV Test และปัจจุบันมีทางเลือกตรวจหาเชื้อ HPV DNA ด้วยตนเองโดยไม่ต้องขึ้นขาหยั่ง หากมีข้อสงสัย หรือปัญหาอื่น ๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line@petcharavej



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

สูตินรีเวช

 

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง HPV DNA

 

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก HPV Vaccine

 

โปรแกรมสุขภาพสตรี

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี 2567

 

ไขทุกปัญหาข้องใจเกี่ยวกับวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

 

มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้

 

ThinPrep ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างมีคุณภาพ