มะเร็งตับ เป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง เนื่องจากโรคนี้จะไม่แสดงอาการผิดปกติตั้งแต่ระยะแรก นอกจากไปตรวจสุขภาพหรือตรวจคัดกรองมะเร็งตับเท่านั้นถึงจะเจอก้อนเนื้อร้าย ทั้งนี้ หากผู้ป่วยตรวจพบก่อนเกิดการลุกลาม ประสิทธิภาพในการรักษาที่จะทำให้หายขาดมีโอกาสสูง เนื่องจากเซลล์มีขนาดเล็ก อาจไม่ต้องถึงขั้นผ่าตัด แต่ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการดูแลสุขภาพ มาตามนัดหมายหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดหรือไม่
ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ซี หรือพยาธิใบไม้ตับ
ตับอักเสบที่เกิดจากภาวะภูมิแพ้ตนเอง
กรรมพันธุ์
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอยู่เป็นประจำ
การใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลข้างเคียงต่อตับ
พักผ่อนไม่เพียงพอ, ภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่แข็งแรง
โรคประจำตัวของผู้ป่วย เช่น เบาหวาน ตับแข็ง ภาวะไขมันพอกตับ โรคตับคั่งน้ำดี โรคตับคั่งไขมันที่เกิดจากภาวะอ้วน เป็นต้น
รับประทานผักและผลไม้น้อยเกินไป
ในระยะแรก อาจจะไม่แสดงความผิดปกติออกมา แต่หากเกิดการลุกลามแล้ว จะมีอาการดังนี้
เป็นไข้, อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร, น้ำหนักลด
ท้องอืด, แน่นท้อง
ปวด จุก เสียดชายโครงด้านขวา
บริเวณขาและหน้าท้องเกิดการบวม
ปัสสาวะมีสีเข้มจัด
ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กไม่เกิน 2 เซนติเมตร
ระยะที่ 2 คล้ายกับระยะแรกแต่มีไม่เกิน 3 ก้อน
ระยะที่ 3 มีการเพิ่มตัวของก้อนมะเร็ง รวมทั้งมีขนาดใหญ่ขึ้น
ระยะที่ 4 เกิดการลุกลามเข้าไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียงกับตับ เข้าสู่หลอดเลือดดำในช่องท้อง จากนั้นไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ตับ และมีการแพร่กระจายตามกระแสโลหิต
ระยะสุดท้าย ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมีสุขภาพเสื่อมโทรม นอนติดเตียง ต้องมีคนช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด หากปล่อยไว้จนมาถึงระยะนี้ อาจมีโอกาสเสียชีวิตได้
ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ และในปริมาณมาก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีกับซี
ผู้ใช้ยาที่มีผลเสี่ยงต่อตับเป็นประจำ
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ที่เป็นภาวะไขมันพอกตับหรือตับแข็ง เป็นต้น
ตรวจเลือดหาระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีน หรือ AFP ซึ่งเป็นสารบ่งบอกว่าผู้ตรวจเป็นมะเร็งหรือไม่
การใช้เทคโนโลยีเครื่องมือรังสีทางการแพทย์ เช่น อัลตราซาวด์, CT Scan หรือ MRI เป็นต้น
การฉีดสารทึบแสงเข้าเส้นเลือดแดง
การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา
การรักษาโดยวิธีการทำลายเนื้อเยื่อของมะเร็งตับ
การรักษาทางรังสีวิทยา
การฉายรังสีจากบริเวณภายนอกลำตัว
การรักษาผ่านภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย
การรักษาด้วยยา
การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดออกบางส่วนหรือการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ เป็นต้น
ควบคุมปริมาณ หรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารพิษ เช่น สาร Aflatoxins เป็นต้น
เข้ารับการรักษาโรคทางพันธุกรรมที่อาจเป็นสาเหตุส่งผลให้เกิดมะเร็งตับ
การเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเป็นการค้นหาและป้องกันโรคที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย
การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีและซี
ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น นอนน้อย, ดื่มสุราในปริมาณมากเป็นประจำ, ใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อตับอยู่เป็นประจำ กลุ่มบุคคลเหล่านี้ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ยิ่งไม่มีอาการแต่ยังใช้ชีวิตประจำวันอย่างไม่ใส่ใจสุขภาพ อาจส่งผลเสียต่อตัวท่านและบุคคลรอบข้างได้ เพราะฉะนั้น ทุกท่านควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ เพื่อค้นหาความเสี่ยงภายในร่างกาย หากพบโรคร้ายตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้การรักษายิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง