ผงชูรส
ผงชูรส บริโภคอย่างไรไม่ให้กระทบต่อสุขภาพ

ผงชูรส (Monosodium Glutamate) คือ เครื่องปรุงที่ทำให้รสชาติของอาหารมีความเข้มข้น เอร็ดอร่อยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมนูน้ำซุป ก๋วยเตี๋ยว แกง ส้มตำ ยำ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น วัตถุดิบนี้จะไปกระตุ้นปลายประสาทลิ้นกับคอของผู้ที่บริโภค หากได้รับผงชูรสมากเกินไปสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ แม้ว่าองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาได้จัดให้เป็นสารที่ปลอดภัยก็ตาม

 

 

ผงชูรสทำมาจากอะไร

 

โมโนโซเดียมกลูตาเมตประกอบด้วยโซเดียมหรือเกลือ และกรดกลูตามิก ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีน กรดกลูตามิกเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ทําให้ร่างกายสร้างกรดอะมิโนจําเป็นตัวอื่น และยังเป็นส่วนประกอบของสารกลูตาไธโอนอีกด้วย โดยมีสูตรทางเคมี คือ C₅H₈NO₄Na ซึ่งผงชูรสนั้นเกิดจากการหมักส่วนผสมจากพืช ได้แก่

 

  • อ้อย

 

  • มันสำปะหลัง

 

  • ข้าวโพด

 

 

ผงชูรสมีผลเสียอย่างไร

 

อาการแพ้

 

  • ไม่ว่าจะเป็น ชาที่ปาก ลิ้น ใบหน้า หู

 

  • ปวดกล้ามเนื้อ โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก

 

  • หายใจไม่สะดวก

 

  • ปวดท้อง

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • กระหายน้ำ

 

  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

  • อัมพาตตามแขน ขา ชนิดชั่วคราว

 

ความเสี่ยงของโรคและภาวะผิดปกติ

 

  • ได้แก่ สูญเสียการมองเห็นจากจอประสาทตาถูกทำลาย

 

 

  • วิตามินในร่างกายลดลง เป็นโรคผิวหนัง

 

  • ระบบประสาทส่วนหน้าและกลางถูกทำลาย โดยเฉพาะในวัยเด็กอาจส่งผลต่อระดับพัฒนาการด้านสติปัญญา

 

  • หากมารดาบริโภคผงชูรสมากเกิดไปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครโมโซมของทารกในครรภ์ เมื่อคลอดออกมาแล้วอาจพิการได้

 

 

อาการแพ้ผงชูรส

 

 

ผงชูรสทำให้ผมร่วงจริงหรือ

 

ไม่มีข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาหรือวารสารการวิจัยทางการแพทย์ที่กล่าวว่าผงชูรสทำให้ผมร่วง หัวล้าน หรือผมบาง เป็นต้น ปัญหาเส้นผมและศีรษะไม่มีความเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารหรือวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งสิ้น เพราะความเป็นจริงแล้วความผิดปกตินี้เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากตัวหนังศีรษะและเส้นผมเอง กรรมพันธุ์ โรคมะเร็งต่าง ๆ หรือต่อมไร้ท่อ ได้รับสารพิษ บริโภคยาบางชนิด เครียด ขาดสารอาหารและวิตามิน

 

 

ผงชูรสไม่ได้ทำให้ผมร่วง

 

 

ข้อแนะนำการรับประทานผงชูรส

 

  • ทำอาหารรับประทานเอง เพราะบางร้านอาจใส่ในปริมาณมากเกินไป

 

  • บริโภคไม่เกินมื้อละ 1 ช้อนชา

 

  • อาหารเมนูประเภทซุป ควรเพิ่มเติมรสชาติจากกระดูกของเนื้อสัตว์หรือผักอย่าง แครอทและฟัก

 

  • เมื่อสั่งอาหารจากร้านค้า ควรแจ้งว่าไม่ใส่ผงชูรส

 

  • เลือกบรรจุภัณฑ์ผงชูรสที่มีวัน เดือน ปี ที่ผลิตและหมดอายุ ไม่มีรอยตำหนิหรือชำรุด ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

  • หากซื้ออาหารมารับประทานเข้าไปแล้ว มีอาการคอแห้ง ชาที่ปาก หายใจติดขัด ควรหยุดบริโภคทันที

 

 

วิถีชีวิตคนผู้คนในปัจจุบันอาจจะมีความเร่งรีบ ละเลยใส่ใจในการรับประทานอาหาร บริโภคเมนูที่ใช้ผงชูรสเป็นวัตถุดิบมากเกินไปเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ไตทำงานหนัก ทำให้เป็นโรคไตเรื้อรังได้ในอนาคต ควรมาทำการตรวจสุขภาพทั้งนี้ผู้ที่ไม่ควรได้รับผงชูรสเลยจะเป็นกลุ่มเสี่ยงอย่างสตรีที่ตั้งครรภ์ และทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 3 เดือน เพราะเสี่ยงจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากกว่ากลุ่มบุคคลอื่น ๆ 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต

 

 

โรคไต ตัวร้ายที่ไม่ได้มากับความเค็มเพียงอย่างเดียว