โควิดสายพันธุ์มิวเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังถูกเฝ้าระวังด้วยความสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและการระบาดที่รวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามสายพันธุ์เดลต้ายังอันตรายกว่ามาก อีกทั้งยังไม่พบในประเทศไทย และยังต้องรอดผลการศึกษาวิจัยของสายพันธุ์มิวเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เด่นชัดกว่านี้
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดหมวดหมู่ให้กับโควิดสายพันธุ์มิว (B.1.621) ให้อยู่ในประเภท “สายพันธุ์ที่น่าสนใจ (VOI)” เป็นสิ่งยืนยันถึงความอันตรายและความสามารถในการระบาดได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามในเวลานี้เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ายังคงเป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมากที่สุดอยู่ โควิดสายพันธุ์มิวพบครั้งแรกที่ประเทศโคลัมเบียเดือนมกราคม 2564 ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดไปยังประเทศอื่นกว่า 30 ประเทศ และถูกระบุว่ามีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสายพันธุ์เบตากับอัลฟา
กลุ่มกลายพันธุ์ของสายพันธุ์มิวมีข้อบ่งชี้ของความสามารถในการเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ อย่างไรก็ตามยังคงมีการยืนยันว่าวัคซีนในปัจจุบันที่ผ่านการรองรับ เช่น Pfizer ยังสามารถช่วยป้องกันสายพันธุ์มิวได้ดีอยู่ ถึงแม้จะอยู่ในการจับตามองถึงความเสี่ยงในการระบาดรุนแรงก็ไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป เนื่องจากการกลายพันธุ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่มีสายพันธุ์ไหนที่มีแนวโน้มรุนแรงกว่าเดลต้าในขณะนี้
อาการของผู้ติดเชื้อโควิดนั้นมีความใกล้เคืองกันในทุกสายพันธุ์ อาการเฉพาะตัวที่แน่นอนของสายพันธุ์มิวยังต้องอยู่ระหว่างการวิจัยเพื่อข้อมูล แต่เราสามารถสังเกตอาการที่บ่งบอกต่อความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่
สถานการณ์การระบาดของโควิดในประเทศไทยจากข้อมูลวันที่ 6 กันยายน 2564 ยังยืนยันว่ามีการพบโควิดหลายสายพันธุ์ ได้แก่ เดลต้า อัลฟ่า และเบต้า ซึ่งสายพันธุ์เดลต้าเป็นสายพันธุ์อันตรายที่พบได้มากที่สุดในประเทศไทย ยังไม่มีการรายงานว่าพบสายพันธุ์มิวในขณะนี้ แต่ต้องทำการเฝ้าระวังสำหรับความเสี่ยงในอนาคตหากมิวระบาดรุนแรงในประเทศอื่น ๆ
ในอนาคตเราอาจต้องพบเจอสายพันธุ์โควิดที่กลายพันธุ์อยู่ตลอดจนกว่าจะสามารถควบคุมได้ ระหว่างนั้นจึงไม่ควรใช้ชีวิตด้วยความประมาทแม้ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วก็ตาม