ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เพราะมีหน้าที่ในการช่วยย่อยและดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ แต่ตับอ่อนเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สามารถเกิดมะเร็งได้เช่นกัน ถึงจะพบได้ไม่บ่อยนัก แต่หากไม่รู้ตัวและปล่อยทิ้งไว้ อาจมีโอกาสเสียชีวิตสูงเช่นกัน
กรรมพันธุ์ เพราะหากมีบุคคลภายในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งตับอ่อน อาจมีโอกาส 5 - 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะถ่ายทอดไปสู่บุตรได้
อายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนมากมะเร็งตับอ่อนจะถูกพบในผู้สูงอายุ
โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานและโรคอ้วน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และซีสต์ในตับอ่อนบางประเภท
การสูบบุหรี่
เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
มีอาการแน่นท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่และบริเวณหลัง
เมื่อผู้ป่วยลองคลำท้องดูอาจจะพบก้อนได้
ตับและถุงน้ำดีโต
อุจจาระมีสีซีด ถ่ายเหลว
ปัสสาวะมีสีเข้ม
โรคมะเร็งตับอ่อนสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1
พบก้อนมะเร็งลุกลามอยู่ภายในตับอ่อน และอาจเริ่มลุกลามสู่บริเวณลำไส้เล็ก
ระยะที่ 2
มะเร็งมีการลุกลามออกจากบริเวณตับอ่อน เข้าสู่กระเพาะอาหาร ม้าม และลำไส้ใหญ่
ระยะที่ 3
พบมะเร็งมีการกระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่ 4
มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด แล้วแพร่กระจายไปที่ตับ
พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง
การบริโภคเนื้อแดง ไขมันอิ่มตัว หรืออาหารแปรรูปมากเกินไป
ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งตับอ่อน
การตรวจเลือด
การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การส่องกล้องตรวจบริเวณตับอ่อนและท่อทางเดินน้ำดี
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารด้วยคลื่นความถี่สูง
การฉีดรังสีร่วมกับการใช้ CT-SCAN
การ CT-SCAN แบบ Helical CT
วิธีการรักษาโรคมะเร็งตับอ่อน สามารถแบ่งออกได้ 2 วิธี ได้แก่
กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถทำการผ่าตัดได้
วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสภาพร่างกายที่แข็งแรง และมะเร็งยังไม่มีการลุกลามมาก เมื่อแพทย์ทำการผ่าตัด จากนั้นจะมีการนำชิ้นเนื้อไปตรวจ ถ้าหากพบข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ อาจจะพิจารณาวิธีการรักษาเพิ่มเติมโดยการใช้เคมีบำบัด และรังสีรักษา
กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้
หากพบว่าผู้ป่วยมีเชื้อมะเร็งลุกลามไปมากแล้ว แต่ร่างกายยังคงแข็งแรงอยู่ อาจจะใช้วิธีเคมีบำบัดร่วมกับการใช้รังสีรักษา แต่หากเป็นผู้ป่วยในกลุ่มที่ร่างกายไม่แข็งแรง แพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
การรักษาโรคนี้ อาจยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจน แต่ท่านสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเอง และอาจมีการปรับพฤติกรรมควบคู่ ดังนี้
การงดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยให้หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ติดมัน และอาหารประเภทที่มีไขมันสูง
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
โรคมะเร็งตับอ่อน ถึงจะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ถ้าหากเกิดขึ้นกับร่างกายของเราโดยไม่รู้ตัว แล้วพบว่าอยู่ในระยะสุดท้าย อาจทำให้เสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นควรสังเกตและดูแลร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ขึ้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบ และคัดกรองโรคตับ