โรครองช้ำ หรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis) คือ ภาวะที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า ทำให้มีอาการปวดส้นเท้า และฝ่าเท้า มักจะเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง หรือการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักบริเวณเท้าหนักกว่าปกติ โรครองช้ำจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว ก่อนที่จะกลายเป็นอาการเรื้อรัง และสร้างความทรมานในการใช้ชีวิตประจำวันได้
ภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ จะทำให้การเดินเกิดแรงกดที่ฝ่าเท้ามาก ส่งผลให้พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
การยืนเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นฝ่าเท้ารองรับน้ำหนักมากกว่าปกติ
การใช้งานฝ่าเท้า และส้นเท้าที่มากเกินไป เช่น การวิ่งที่หักโหมจนเกินไป, การวิ่งบนพื้นแข็ง, การเพิ่มระยะการเดิน เป็นต้น
สวมใส่รองเท้าไม่เหมาะสมกับเท้า เช่น การใส่รองเท้าส้นสูง, การใส่รองเท้าที่หลวม หรือคับแน่นจนเกินไป, การสวมรองเท้าที่พื้นด้านในหนา หรือบางเกินไป
อาการของโรคต่างๆ เช่น เอ็นร้อยหวายยึด, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
ปัจจัยทางโครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบน หรืออุ้งเท้าโก่งมากเกินไป
โรครองช้ำจะมีอาการปวด และเจ็บบริเวณส้นเท้า ในระยะแรกอาจเกิดจากการเดิน หรือการยืนเป็นเวลานาน แต่เมื่อเริ่มมีอาการมากขึ้น จะมีความรู้สึกปวดส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การเดิน 2-3 ก้าวแรกของวัน แต่มักปวดหรือมีอาการมากที่สุดคือหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ซึ่งโดยปกติแล้วจะปวดเพียงข้างใดข้างหนึ่ง แต่รองช้ำสามารถเกิดขึ้นกับเท้าทั้ง 2 ข้างได้เช่นกัน
ผู้สูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง
ผู้ที่มีภาวะอ้วน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย เนื่องจากไขมันที่ส้นเท้าบาง อีกทั้งเอ็น, กล้ามเนื้อของน่อง และฝ่าเท้า จะไม่แข็งแรงเท่าของเพศชาย
ผู้ที่มีอุ้งเท้าสูง หรือแบนผิดปกติ
ผู้ที่สวมใส่รองเท้าที่มีพื้นด้านในแข็ง หรือบางเป็นประจำ
นักวิ่ง หรือนักกีฬา ที่ต้องใช้เท้าเป็นเวลานาน
ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องยืนเป็นระยะเวลานาน เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขาย, ช่างเสริมสวย หรือพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
แพทย์จะทำการซักถามประวัติ, ตรวจร่างกายเบื้องต้น และสอบถามอาการกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ ซึ่งนอกจากโรครองช้ำแล้ว อาการปวดส้นเท้าหรือฝ่าเท้าอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ เช่น กระดูกส้นเท้าฟกช้ำ, เส้นประสาทที่ฝ่าเท้าถูกกดทับ เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการเอกซเรย์เพิ่มเติม เพื่อหาว่ามีความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณกระดูกเท้าหรือไม่
การรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ หรือ NSAIDs
ฉีดยาลดการอักเสบ เป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น และต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะหายขาด ซึ่งมีความเสี่ยงที่โรคจะกลับมาเป็นซ้ำได้
การรักษาด้วยคลื่นความถี่ (Shock Wave) เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้า เพื่อให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงซ่อมแซมตัวเอง ผลของการรักษามีความใกล้เคียงกับการผ่าตัด
การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วน และนำหินปูนที่กระดูกส้นเท้าออก
หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง และการเดินเท้าเปล่า
เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับเท้า และพื้นอ่อนนุ่มไม่บางหรือแข็งจนเกินไป
ก่อนออกกำลังกายให้ยืดเอ็นฝ่าเท้า และเอ็นร้อยหวายทุกครั้ง
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
หลีกเลี่ยงการยืนเป็นระยะเวลานาน ควรพักเป็นช่วง ๆ
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายบนพื้นแข็ง หรือออกกำลังกายประเภทที่ลดการกระแทกบริเวณส้นเท้า เช่น ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน เป็นต้น
การทำกายภาพบำบัด เช่น การบริหารเอ็นร้อยหวาย และพังผืดฝ่าเท้า
เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปเท้า ไม่หลวม ไม่คับแน่นเกินไป
เลือกรองเท้าที่มีแผ่นเสริม เพื่อช่วยทำให้ลดการกระแทกหรือกดเอ็นฝ่าเท้าเวลาเดิน จะช่วยปรับการลงน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกรองเท้าที่มี Arch of Foot เพื่อทำหน้าที่รองรับ และกระจายน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้าได้ดี ช่วยประคองรูปเท้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องขณะเคลื่อนไหว หรือก้าวเดิน
เลือกรองเท้าที่มีพื้นหนา, มีความนุ่ม และยืดหยุ่น
การยืดพังผืดที่ใต้ฝ่าเท้า ให้ผู้ป่วยนวดพังผืดที่ฝ่าเท้าครั้งละ 1 นาที แล้วพัก 30 วินาที จากนั้นจึงเริ่มใหม่ ควรทำทั้งหมด 3 ครั้ง
การยืดพังผืดกับกล้ามเนื้อน่องโดยใช้ผ้ายาง ให้ผู้ป่วยบิดข้อเท้าเข้าด้านใน แล้วใช้ผ้ายืดสำหรับการออกกำลังกายดึงที่บริเวณฝ่าเท้า 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 30 วินาที
การยืดกล้ามเนื้อน่องด้านในโดยการดันกำแพง ให้เหยียดขาข้างที่มีอาการปวดไปด้านหลัง และนำมือไปดันไว้กับผนัง ทำครั้งละ 30 วินาที ทั้งหมด 3 ครั้ง โดยพัก 30 วินาทีก่อนเริ่มครั้งใหม่
การรักษาด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าบริเวณส้นเท้า อาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ, ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือเอ็นฝ่าเท้าฉีกขาด ทำให้การรักษามีความยากมากยิ่งขึ้น และถ้าหากมีอาการเจ็บที่ส้นเท้า หรือฝ่าเท้าต่อเนื่อง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม อย่าปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นอาการเรื้อรัง เพราะอาจส่งผลให้เกิดความทรมานในการใช้ชีวิตประจำวัน