โรต้าไวรัส
โรต้าไวรัส สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงในเด็ก

 

โรต้าไวรัส (Rotavirus) คือ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis) เป็นโรคระบาดในช่วงฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 5 ขวบขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโรต้า การดูแลหรือคอยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเด็ก จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรใส่ใจอย่างยิ่ง

 

 

โรต้าไวรัสเกิดจากสาเหตุใด?

 

โรต้าไวรัส คือ ไวรัสอีกชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์ แพร่ระบาดผ่านการปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม เชื้อไวรัสโรต้าเมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร เยื่อบุผนังลำไส้เล็กจะเกิดการอักเสบ และเซลล์เยื่อบุลำไส้เล็กจะสร้างน้ำย่อยได้น้อย ทำให้การดูดซึมน้ำหรือสารอาหาร ทำได้น้อยลงจนเกิดอาการท้องร่วงขึ้นในที่สุด

 

 

อาการของโรต้าไวรัส

 

 

มีไข้

 

  • มีไข้, ซึม

 

  • มือเท้าเย็น, ไม่มีแรง 

 

  • ปัสสาวะน้อย, สีเข้ม หรืออาจไม่ปัสสาวะเลย 

 

 

 

โรต้าไวรัสติดต่อได้อย่างไร?

 

จากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง อาจปนเปื้อนมากับน้ำ, อาหารที่รับประทาน หรือของเล่น โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อออกมากับอุจจาระตั้งแต่ 2 วันก่อนมีอาการ และอาจแพร่ได้กระทั่งเมื่อหายจากอาการอุจจาระร่วงไปแล้วประมาณ 10 วัน ซึ่งโรต้าไวรัสเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย เพราะเชื้อสามารถติดอยู่บนมือและสิ่งแวดล้อมภายนอกได้นาน 

 

 

กลุ่มเสี่ยงของโรต้าไวรัส

 

กลุ่มเสี่ยงโรต้าไวรัส

 

เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุ 6 เดือน - 2 ปี เพราะเด็กอาจมีการอยู่รวมกันในสถานเลี้ยงเด็ก หรือโรงเรียน ซึ่งผู้ปกครอง, ผู้ที่ดูแลเด็ก หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจพบการติดเชื้อได้ แต่อาจจะไม่รุนแรงเท่าเด็ก เพราะผู้ใหญ่มักมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้แล้ว 

 

 

การวินิจฉัยโรต้าไวรัส 

 

แพทย์จะซักถามประวัติ อาการ และทำการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยอาจจะมีการตรวจเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น การเก็บตัวอย่างอุจจาระส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสที่อยู่ภายในอุจจาระ เป็นต้น 

 

 

การรักษาโรต้าไวรัส

 

จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ โดยในขั้นแรก ต้องไม่ให้เกิดปัญหาร่างกายของผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำ ด้วยการดูแล และระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร ได้แก่

 

ทานอาหารอ่อน

 

  • ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ และรับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม

 

  • ไม่ควรรับประทานยาปฏิชีวนะ และยาฆ่าเชื้อ

 

  • งดบริโภคอาหารประเภทนม และผลไม้ ยกเว้นเด็กเล็กที่ยังดื่มนมแม่

 

 

วัคซีนป้องกันโรต้าไวรัส

 

สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาได้รองรับวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัส แบบหยอดใช้สำหรับเด็กเล็กเท่านั้น วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพลดความรุนแรง และป้องกันอาการท้องร่วง เช่น 

 

  • วัคซีนชนิดหยอด 2 ครั้ง ควรหยอดเสร็จก่อนเด็กมีอายุ 6 เดือน 

 

  • วัคซีนชนิดหยอด 3 ครั้ง ควรหยอดเสร็จก่อนเด็กมีอายุ 8 เดือน

 

  • เด็กควรได้รับการหยอดวัคซีนครั้งแรกก่อนมีอายุ 15 สัปดาห์ และการหยอดครั้งสุดท้ายไม่ควรเกิน 32 สัปดาห์ 

 

โดยจะมีเด็กที่อยู่ในกลุ่มห้ามได้รับวัคซีน ดังนี้ 

 

  • เด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ

 

  • เด็กที่มีอายุเกินกว่าที่กำหนด

 

  • เด็กที่มีอาการแพ้ยาจากการได้รับวัคซีนครั้งก่อน หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

 

  • เด็กที่มีประวัติการเป็นลำไส้กลืนกัน หรือมีความผิดปกติที่ทางเดินอาหาร 

 

  • หากเด็กมีอาการป่วย หรือมีไข้ ควรเลื่อนการได้รับวัคซีนออกไปก่อน 

 

 

วิธีป้องกันโรต้าไวรัส

 

ล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร

 

  • ล้างมือบ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วงก่อนและหลังรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำ

 

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก รวมไปถึงดื่มน้ำที่สะอาด

 

  • ทำความสะอาดของที่เด็กมักสัมผัสบ่อยๆ เช่น ของเล่น หรือขวดนม เป็นต้น

 

 

แม้ว่าเด็กจะได้รับการหยอดวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัสแล้ว อาจสามารถเกิดอาการท้องร่วงขึ้นอีกได้ เพียงแต่เป็นการลดความรุนแรงของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเท่านั้น โดยผู้ปกครองควรให้เด็กปฏิบัติตามวิธีป้องกันข้างต้นร่วมด้วย หากมีอาการรุนแรงหรือผิดปกติ ควรรีบพาเด็กเข้าพบแพทย์ทันที



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

กุมารเวช

 

ท้องเสียเรื้อรัง ความผิดปกติจากลำไส้ที่ไม่ใช่แค่การติดเชื้อ