หู เป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากหูเป็นอะไรขึ้นมา จากเสียงในชีวิตประจำวันที่เราควรได้ยิน อาจจะกลายเป็นเงียบสนิท หรือเบา เหมือนใครมาหมุนปรับเสียงรอบข้างของเราลง วันนี้เราจะพามารู้จักกับหนึ่งในโรคเกี่ยวกับหู ที่ถ้าหากเราปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้คุณสูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน นั่นคือ “โรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) ”
โรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน เป็นโรคที่เกิดจากประสาทหูของเราเกิดการเสื่อมขึ้นแบบทันที หรือภายในระยะเวลาสั้น ๆ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจได้ยินเสียงเพียงเล็กน้อย ซึ่งในบางรายอาจจะรู้สึกสูญเสียการได้ยินมาก จนอาจไม่ได้ยินเสียงใดเลย โดยโรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หรือถาวรได้ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ แล้วไม่เข้ารับการรักษา
การติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่, หัดเยอรมัน หรืองูสวัด เป็นต้น
การไหลเวียนของเลือดภายในหูน้อยลง อาจเกิดจากความดันต่ำหรือการเสียเลือดมาก
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันแบบรุนแรง
การใส่หูฟังแล้วเปิดเสียงดัง หรืออยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง เป็นระยะเวลานาน
อาจเกิดจากเนื้องอกที่เส้นประสาทหู และเนื้องอกในสมอง
การพักผ่อนน้อยเกินไป
สูญเสียการได้ยินแบบเฉียบพลัน โดยมักจะเกิดกับหูเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
มีเสียงภายในหูข้างที่เกิดโรค
อาจมีอาการเวียนศีรษะและมีปัญหาการทรงตัวร่วมด้วย
ไม่ได้ยินเสียงภายนอก รู้สึกเหมือนมีอะไรติดขัดหรือแน่นภายในหู
คุณภาพเสียงที่ได้ยินลดลง ต้องคอยฟังซ้ำ หรือเปิดเสียงสิ่งที่จะฟังให้ดังขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ จะแตกต่างกันไปตามสาเหตุและอาการของโรค แต่ภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดเหมือนกันในผู้ป่วยรายที่ปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้ารับการรักษา คือ หูตึงหรือสูญเสียการได้ยินแบบถาวร
แพทย์จะทำการซักประวัติ และตรวจร่างกายคนไข้ เพื่อแยกภาวะโรคที่เกี่ยวกับหูชั้นนอกหรือหูชั้นในออก
ส้อมเสียง คือ การเคาะส้อมเสียงหรืออุปกรณ์ที่มีสองขาพร้อมกับด้ามจับ เพื่อคัดกรองการได้ยินเสียงแบบเบื้องต้น และแยกประเภทของเสียงที่ได้ยิน
ใช้เครื่องมือ Audiogram หรือเครื่องมือตรวจการได้ยิน โดยการวินิจฉัยวิธีนี้จะเป็นการนำคนไข้เข้าสู่ห้องเงียบ แล้วใช้หูฟังเสียงทีละข้าง เพื่อเป็นการประเมินระดับการได้ยินแบบเดซิเบล
เบื้องต้น แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยา เช่น ยาลดการอักเสบ, วิตามิน, ยาขยายหลอดเลือด หรือยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ เป็นต้น
ในผู้ป่วยรายที่ไม่ได้มีอาการรุนแรงหรืออยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย แพทย์จะให้นอนพักรักษาตัวที่บ้านได้ หากผู้ป่วยที่เข้าข่ายว่าจะมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อตรวจระดับการได้ยินเป็นระยะ เพื่อประเมินและติดตามผลการรักษาต่อไป
การใส่เครื่องช่วยฟัง จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ยินเสียงที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การฉีดยาสเตียรอยด์ ในกรณีที่การรับประทานยาไม่ได้ผล, สูญเสียการได้ยินขั้นรุนแรง เป็นต้น
ไม่ควรใช้ยาที่มีผลต่อประสาทหู เช่น ยาแอสไพริน, อะมิโนไกลโคไซด์ และควินิน เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง และไม่ควรใส่หูฟังเปิดเพลงดัง ๆ เป็นระยะเวลานาน
ไม่ควรแคะหูแรง เพราะอาจส่งผลให้แก้วหูทะลุ และติดเชื้อที่หูชั้นในได้
ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงกีฬาประเภทที่ต้องมีการเข้าปะทะ
ลดความเครียด, พักผ่อนให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงการติดเชื้อภายในหู
โรคประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน เป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวมาก ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า หู คืออวัยวะที่สำคัญ และมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของเรามาก เพราะฉะนั้น หากการได้ยินเสียงลดลง หรือมีอาการอื่น ๆ ที่ผิดปกติภายในหู ควรเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยและดำเนินการรักษา อย่าปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด เพราะอาจนำไปสู่การสูญเสียการได้ยินแบบถาวรได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง