โรคลมพิษ
โรคลมพิษ อย่าชะล่าใจว่าไม่อันตราย

 

ลมพิษ หรือ urticaria เป็นอาการของโรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผื่นนูนแดง และไม่มีขุย โดยลมพิษจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะกระจายตัวบริเวณลำตัว แขน และขา แต่ระยะเวลาที่เกิดอาการจะไม่เกิน 24 ชม. ถ้าหายแล้วผื่นจะยุบลง แต่อาจจะมีผื่นชนิดใหม่ขึ้นแทนได้อีก ซึ่งลมพิษเป็นโรคที่อยู่ใกล้ตัวทุกท่านมาก สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อาการอาจจะดูไม่ร้ายแรง แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นโรคที่สร้างความไม่สบายตัวให้ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

 

 

ชนิดของโรคลมพิษ 

 

 

ลมพิษเรื้อรัง 

 

 

คือ ลมพิษที่มีอาการเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย ติดต่อกันเกิน 6 สัปดาห์ และเป็นอย่างน้อย 2 วัน/สัปดาห์ โดยเกิดจากสาเหตุหรือปัจจัยหลายอย่าง อาจจะเป็นการกดทับ ความเย็น และการแปรปรวนภายในร่างกาย

 

 

ลมพิษเฉียบพลัน 

 

 

คือ อาการจะคล้ายกับลมพิษเรื้อรัง แต่ระยะเวลาของอาการ จะไม่เกิน 6 สัปดาห์ โดยสาเหตุเกิดมาจากอาการแพ้ต่าง ๆ  เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร แมลงกัดต่อย หรืออาจจะเกิดจากการติดเชื้อบางชนิดได้

 

 

 

 

ลมพิษ เกิดจากสาเหตุใด 

 

 

  • แพ้พิษของแมลง 

 

 

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา 

 

 

  • แพ้สภาพอากาศ ไม่ว่าจะเป็นความเย็น หรือความร้อน 

 

 

  • แพ้อาหารหรือส่วนประกอบที่อยู่ในอาหาร เช่น อาหารทะเล สีผสมอาหาร สารกันบูด

 

 

  • แพ้ยา เกิดจากปฏิกิริยาการแพ้ยาบางชนิด ซึ่งมีผลข้างเคียงที่อาจจะทำให้เกิดลมพิษขึ้นได้  

 

 

  • แพ้ฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร และพืชบางชนิด


 

ลมพิษ ควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดใดบ้าง

 

 

  • เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา เนื้อกุ้ง เนื้อหอย เนื้อแพะ เป็นต้น 

 

 

  • ผัก เช่น ตระกูลถั่ว มะเขือเทศ 

 

 

  • เครื่องปรุงรส เช่น น้ำส้มสายชู พริกป่น กานพลู อบเชย 


 

  • วัตถุดิบอาหารบางชนิด เช่น ไข่ ชีส โยเกิร์ต ของจำพวกหมักดอง

 

 

 

 

ลมพิษ รักษาอาการอย่างไร 

 

 

  • ให้ทานยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน ซึ่งมีทั้งแบบง่วงและไม่ง่วง ผู้ป่วยควรทานยาตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

  • ให้ยาชนิดอื่น ในกรณีที่ให้ยาต้านฮิสตามีนแล้วผื่นไม่ตอบสนอง แพทย์จะพิจารณายาชนิดอื่น ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสารสื่อกลางในผิวหนัง ซึ่งเป็นตัวก่อให้เกิดลมพิษ

 

 

  • ทาโลชันหรือครีมที่มีส่วนผสมของเมนทอล อย่างเช่น คาลาไมน์ เพื่อลดอาการคัน 

 

 

  • ถ้ามีอาการแทรกซ้อน เช่น หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หน้าบวม อาการที่กล่าวมา คือ การแพ้อย่างรุนแรง ถ้าผ่านไป 24 ชม. แล้วไม่ดีขึ้น ให้รีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน 

 

 

  • แพทย์จะวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาตามปัจจัยที่ก่อให้เกิดลมพิษ

 

 

 

 

ลมพิษ สามารถป้องกันได้อย่างไร 

 

 

  • ขณะเป็นลมพิษ ไม่ควรเกาผิวหนัง เพราะอาจจะทำให้เกิดการอักเสบได้ 

 

 

  • ไม่ควรใช้สบู่ น้ำหอม เครื่องสำอางค์ ครีม หรือโลชัน ที่มีส่วนผสมของสารเคมีชนิดรุนแรง 

 

 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเข้าใกล้สิ่งกระตุ้น ที่อาจทำให้เกิดลมพิษ 

 

 

  • ควรรับประทานหรือพกยาต้านฮิสตามีนติดตัวไว้ ถ้าอาการกำเริบจะสามารถใช้ได้ทันที 

 

 

  • ควรรับประทานยาตามที่แพทย์กำกับ ถ้าฤทธิ์ของยาทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงนอนระหว่างวันจนรบกวนการทำกิจวัตรประจำวัน ให้แจ้งแพทย์เพื่อเปลี่ยนชนิดของยา 

 

 

ลมพิษ เป็นอีกหนึ่งโรคที่อยู่คู่กับทุกท่าน เพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย อาการอาจจะดูไม่มีอะไรรุนแรงมาก นอกจากคันบริเวณผิวหนัง แต่อย่าชะล่าใจ เพราะลมพิษไม่ได้มีฤทธิ์แค่ผื่นคัน แต่มีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงด้วย และสิ่งที่น่ากังวล คือ เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าลมพิษจะเกิดขึ้นช่วงเวลาใด ถ้าผู้ป่วยเป็นลมพิษ แล้วมีอาการกำเริบรุนแรง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ แนวทางการรักษา และวิธีป้องกันตนเอง



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

คลินิกอายุรกรรม

 

คันเนื้อคันตัวผิดปกติ เป็นภูมิแพ้ผิวหนังหรือเปล่า