Petcharavejhospital.com
โปรโมชั่นสุขภาพ
คลายความกังวลใจ เรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

เพิ่มเติม

เพิ่มเติม
บุคลากรแพทย์
นพ.ชัยสิทธิ์ สุริยานุสรณ์
ดูประวัติแพทย์
พญ.แพร ทรัพย์สำรวย
ดูประวัติแพทย์
นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์
ดูประวัติแพทย์
นพ.อุเทน บุญอรณะ
ดูประวัติแพทย์

เพิ่มเติม
บทความสุขภาพ
มะเร็งเต้านม โรคร้ายที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้และระวัง
  จากมะเร็งทั้งหมดที่มีมากมายหลายชนิด มะเร็งเต้านมถือว่าเป็นมะเร็งที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากที่สุดอันดับหนึ่ง เมื่อเป็นแบบนี้เราไม่สามารถมองข้ามมะเร็งชนิดนี้ได้ วันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับโรคร้ายนี้กัน      สาเหตุของมะเร็งเต้านม         โดยปกติแล้ว มักเกิดขึ้นในเพศหญิงเนื่องจากมีพฤติกรรม และวิถีชีวิตที่สุ่มเสี่ยงโรคนี้ ซึ่งอาจรวมไปถึงผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีบุตรด้วย นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้จากปัจจัยที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เช่น พันธุกรรม หรือระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นโรคนี้จึงมีด้วยกันหลายทาง โดยเมื่อเนื้อเยื่อในเต้านมเกิดการติดเชื้อ และกลายเป็นเชื้อมะเร็งจนพัฒนาเป็นเนื้อร้ายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถแพร่เชื้อร้ายไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้อีกด้วย ส่วนใหญ่อวัยวะที่เกิดเชื้อมะเร็งเต้านม มักเกิดบริเวณท่อน้ำนมและต่อมผลิตน้ำนมมากกว่าจุดอื่น     อาการของมะเร็งเต้านม   ในระยะแรกของมะเร็งทุกชนิดรวมถึงมะเร็งเต้านม มักไม่แสดงอาการใดออกมาให้เราสังเกตเห็น แต่เราสามารถตรวจได้ด้วยการคลำหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใกล้รักแร้ รวมไปถึงการเกิดความผิดปกติกับเต้านม เช่น มีของเหลวสีเหลืองหรือสีเหมือนเลือดไหลออกมาจากเต้า    มะเร็งเต้านมแบ่งออกได้ 4 ระยะ ดังนี้   ระยะที่ 1 เซลล์เริ่มผิดปกติ หากมีก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 2 เซนติเมตร โดยเชื้อมะเร็งอาจยังไม่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น   ระยะที่ 2 ในระยะนี้ก้อนเนื้อจะมีขนาดใหญ่กว่าเดิม และยังสามารถแพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้ คือ ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับบริเวณรักแร้   ระยะที่ 3 เชื้อมะเร็งที่เต้านมขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง และขนาดของก้อนเนื้อใหญ่ขึ้นแต่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร โดยเชื้อมะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากกว่าระยะที่ 2   ระยะที่ 4 ในระยะนี้เชื้อจะสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้แล้ว ดังนั้นเชื้อมะเร็งจะสามารถแพร่ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ปอด กระดูก ตับ เป็นต้น หากผู้ป่วยดำเนินมาถึงในระยะนี้ จะไม่สามารถรักษาจนหายขาดได้แล้ว     ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านม   การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากพบประวัติว่ามีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านม         อายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคนี้เพิ่มขึ้น   เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วมีการใช้ฮอร์โมนทดแทน   พบประวัติว่าเคยเป็นมะเร็งรังไข่    พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ได้รับรังสีในปริมาณมาก ออกกำลังกายน้อย โรคอ้วน ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น     ภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็งเต้านม         ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงจากการรักษาโรคร้ายนี้ เนื่องด้วยวิธีรักษาจะมีผลต่อร่างกายด้วย เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ทานอาหารได้น้อย อารมณ์ไม่คงที่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองบวมเนื่องจากต่อมดังกล่าวมีการอุดตัน และจากที่กล่าวไปว่าเชื้อมะเร็งสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะในร่างกายผ่านทางกระแสเลือดได้ด้วย     การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม   การตรวจเลือด   การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา   การตรวจทางรังสีวิทยา เช่น การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อถ่ายภาพเต้านม การใช้เครื่องถ่ายภาพรังสีเต้านม การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อถ่ายภาพเต้านม เป็นต้น   การตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจการลุกลามของมะเร็งที่ลามไปยังกระดูก การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น     การรักษามะเร็งเต้านม   การรักษาจะเป็นไปตามระยะของโรค โดยสามารถแบ่งวิธีรักษาได้ดังนี้   การผ่าตัด เป็นวิธีรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการในระยะเริ่มต้น โดยแพทย์จะพิจารณาอย่างละเอียดว่าควรจะผ่าตัดแบบตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือผ่าตัดแบบสงวนเต้า โดยจะตัดออกเฉพาะบริเวณที่เป็นมะเร็งเท่านั้น   การฉายแสง เป็นการฉายรังสีเข้าไปบริเวณก้อนมะเร็งเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเติบโต มักจะเป็นการรักษาที่ใช้ร่วมกับการผ่าตัดแบบสงวนเต้าในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ และมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองด้วย   การใช้เคมีบำบัด หรือคีโม เป็นการบำบัดด้วยยาต้านฮอร์โมน และการให้ยาทำลายเซลล์มะเร็ง แต่วิธีการนี้จะทำให้อวัยวะส่วนอื่นได้รับผลกระทบไปด้วย ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และผมร่วงได้     การป้องกันมะเร็งเต้านม   หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้น้ำหนักเกินมาตรฐาน         การให้นมบุตรด้วยตัวเองจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้   อีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้ คือการสังเกตอาการ การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง การตรวจแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์เต้านม เป็นต้น      การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง   การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง หรือการคลำเต้านม มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้   การสังเกตตัวเองหน้ากระจก เป็นการตรวจดูลักษณะ ขนาด รูปร่าง และสีผิวของเต้านมทั้งสองข้างว่ามีความผิดปกติหรือไม่ วิธีนี้ควรสังเกตเพื่อเปรียบเทียบอาการ แต่ต้องสังเกตเป็นระยะเวลานานนับเดือน   ท่านอนราบ เป็นวิธีที่ต้องนอนราบด้วยท่าทางสบาย แล้วยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้น จากนั้นใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมืออีกข้างคลำให้ทั่วเต้านมและบริเวณรักแร้ แต่ไม่ควรบีบเนื้อเต้านมเพราะอาจจะทำให้เข้าใจผิดว่าคลำเจอก้อนเนื้อ เมื่อเสร็จแล้วให้เปลี่ยนไปคลำอีกข้าง   ตรวจขณะอาบน้ำ สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมเล็กให้ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำเหมือนท่านอนราบ ส่วนผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่ ให้ใช้มือข้างหนึ่งตรวจคลำจากด้านล่าง และใช้มืออีกข้างหนึ่งตรวจคลำจากทางด้านบน     มะเร็งเต้านมไม่ได้มีวัคซีนป้องกันเหมือนมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเอง จึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคร้ายได้ในระดับหนึ่ง หากท่านสงสัย หรือลองสังเกตตนเองแล้วรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย หากเกิดอะไรขึ้น จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง    สูตินรีเวช   โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound)   จริงหรือไม่ ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้   หินปูนในเต้านม ความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
อ่านเพิ่มเติม
โรคไส้เลื่อน เกิดขึ้นได้เพียงไม่สวมกางเกงในจริงหรือไม่ ?
  โรคไส้เลื่อน เป็นโรคที่สามารถพบได้มากในผู้ชาย แล้วเราเคยสงสัยกันไหม ว่าเพียงแค่การไม่สวมกางเกงในอาจทำให้เกิดโรคนี้ได้จริงหรือ ? แล้วไส้เลื่อนเกิดบริเวณไหนของร่างกายได้บ้าง และโรคนี้มีวิธีการรักษากับการป้องกัน รวมถึงอันตรายอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมกัน     โรคไส้เลื่อน คือ ?   คือ โรคที่เกิดจากบริเวณลำไส้ มีการเคลื่อนตัวออกจากจุดเดิมจนกลายเป็นก้อน โดยมีสาเหตุมาจากผนังช่องท้องที่มีความอ่อนแอ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น         ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ    ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ    ไส้เลื่อนเนื่องจากการผ่าตัด    ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ   ไส้เลื่อนบริเวณหน้าท้องเหนือสะดือ    ไส้เลื่อนบริเวณกะบังลม    ไส้เลื่อนภายในช่องเชิงกราน   ซึ่งประเภทของไส้เลื่อนที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีสาเหตุการเกิดแบบเดียวกัน ผู้ป่วยมักมีอาการรู้สึกได้ถึงก้อนที่ตุงอยู่ และมีอาการปวดเวลาต้องก้มตัวหรือยกของ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแน่นท้องร่วมด้วย ในกรณีที่รุนแรง อาจมีอาการปวดเฉียบพลัน ท้องผูก อาเจียน โดยก้อนตุงมีลักษณะแข็งที่เกิดจากเลือดไม่ไหลเวียน ในกรณีนี้ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษา เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้ตายได้     สาเหตุของโรคไส้เลื่อน   โดยปกติจะเกิดจากผนังช่องท้องและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ไม่แข็งแรง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากผลกระทบของอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัดได้ ไม่เพียงแค่นั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ด้วย เช่น         การยกของหนักจนเกิดอาการเกร็ง    อายุที่เพิ่มมากขึ้น    เกิดแรงดันภายในช่องท้อง เช่น ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์    มีปัญหาด้านการขับถ่าย    มีอาการไอหรือจามอย่างรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น วัณโรค    เกิดจากน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือผู้ที่เคยเป็นไส้เลื่อนมาก่อน เป็นต้น     การไม่สวมกางเกงใน คือหนึ่งในสาเหตุของโรคไส้เลื่อนจริงหรือไม่ ?    เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้ มักมาจากกิจกรรมของผู้ชายเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าหากผู้ชายไม่ใส่กางเกงใน จะทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิด โดยไส้เลื่อนที่มักพบในผู้ชายคือ ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ นอกจากนี้หลายคนยังอาจไม่รู้ด้วยว่าผู้หญิงเองสามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน หากมีกิจกรรม หรือพฤติกรรมที่เข้าข่ายเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุของการเกิดโรคตามที่ได้กล่าวไปจากหัวข้อข้างต้น     การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อน   การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรค เช่น หากเป็นไส้เลื่อนบริเวณแผลผ่าตัดหรือไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยการตรวจร่างกาย โดยผู้ป่วยจะมีก้อนนูนที่สามารถคลำได้เฉพาะตอนยืน ไอ จาม และยกของ ถ้าหากเป็นไส้เลื่อนชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือมีการคลำจากภายนอกไม่พบ แพทย์อาจพิจารณาวิธีการตรวจอื่น เช่น หากผู้ป่วยเป็นไส้เลื่อนกะบังลม อาจใช้วิธีการส่องกล้องผ่านลำคอไปยังหลอดกับกระเพาะอาหาร เพื่อให้เห็นอวัยวะภายใน หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นไส้เลื่อนบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน อาจจะใช้วิธีการตรวจอัลตราซาวด์ เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ และ MRI      การรักษาโรคไส้เลื่อน   สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัด โดยผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและวางแผนผ่าตัดตามอาการของโรค    การผ่าตัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่    การผ่าตัดแบบเปิด ถือเป็นการผ่าตัดตามแบบมาตรฐาน    การผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งวิธีนี้จะมีแผลผ่าตัดที่เล็กกว่าแบบแรก ใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่นาน ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และผู้ป่วยอาจมีการเสียเลือดน้อยลง แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องจะมีรายจ่ายที่สูงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด     การป้องกันโรคไส้เลื่อน   โรคไส้เลื่อนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ ด้วยการคอยรักษาแรงดันในช่องท้องให้เป็นปกติหรือพยายามลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเกร็งหน้าท้อง ได้แก่    พยายามควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามมาตรฐาน    รับประทานประเภทไฟเบอร์ที่มีส่วนช่วยในระบบขับถ่าย    ไม่ยกของหนัก แต่ถ้าหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยกอย่างถูกวิธี    งดการสูบบุหรี่         ควรเข้ารับการรักษาโรคที่ส่งผลให้มีอาการไอหรือจามหนัก ๆ และรีบเข้าพบแพทย์หากพบว่ามีอาการผิดปกติหรือสุ่มเสี่ยงว่าจะเป็นโรคไส้เลื่อน     โรคไส้เลื่อน สามารถเกิดได้ทั้งเพศชายและหญิง โดยวิธีการรักษาโรคนี้สามารถทำได้เพียงวิธีเดียว คือ การผ่าตัด ดังนั้นหากไม่ต้องการเป็นโรคร้ายนี้ เราต้องคอยดูแลสุขภาพของตนเอง โดยการพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อช่องท้องของเราทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งถือเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด หากสงสัยหรือพบว่ามีอาการเข้าข่าย ควรรีบเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุด   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง   ผ่าตัดไส้เลื่อนแบบส่องกล้องและแบบเปิดหน้าท้อง   ผ่าตัดไส้เลื่อน อันตรายไหมนะ   ก่อนจะมาเป็นไส้เลื่อน ความผิดปกติที่สังเกตได้
อ่านเพิ่มเติม
24
ชม. อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน
58
ONLINE : IPD
1500
รับผู้ป่วยเฉลี่ย : วัน
46
ปี ที่ดูแล