Laboratory
ห้องปฏิบัติการ (Laboratory)

ห้องปฏิบัติการหรือห้องแล็บเอกชน (Laboratory) คืออะไร

 

คือ ห้องที่เป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการทางการแพทย์  เพื่อให้การวินิจฉัยโรค มีความถูกต้องแม่นยำ โดยห้องแล็บเอกชนดังกล่าวจะรับสิ่งส่งตรวจหรือตัวอย่าง (มีอยู่หลายชนิดแต่ละชนิดมีขั้นตอนการดูแลการตรวจที่แตกต่างกัน เช่น ปัสสาวะ เลือด เป็นต้น) เข้ามาจากแผนกหรือภาคส่วนต่าง ๆ ของทางโรงพยาบาลเพื่อนำสารเหล่านั้นเข้ากระบวนการตรวจสอบเพื่อหาเชื้อที่อาจนำพาไปสู่โรคร้ายหรือตรวจความสมบูรณ์และความบกพร่องของสิ่งเหล่านั้น เพื่อใช้เป็นตัววินิจฉัยในการรักษาโรคต่อไป

 


รวดเร็ว และแม่นยำ

 

หนึ่งในขั้นตอนของการวินิจฉัยโรคไม่ใช่เพียงแค่การสังเกตอาการของผู้ป่วยแล้วจึงสามารถสรุปผลได้ หรือการติดตามอาการของผู้ป่วยระหว่างการรักษาก็จำเป็นต้องพึ่งห้องปฏิบัติการเช่นกัน ดังนั้นการส่งตรวจที่ต้องการเข้าสู่ห้องปฏิบัติการเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีประโยชน์หลากหลายต่อการวินิจฉัยโรค ได้แก่

 

  • เพิ่มความแม่นยำและความถูกต้องของการวินิจฉัยที่ได้

  • ขั้นตอนการวินิจฉัยมีความรวดเร็วมากขึ้น

  • ช่วยตรวจสอบผลข้างเคียงจากการรักษาโรค

  • ทำให้การติดตามอาการของโรคมีประสิทธิภาพ

 

 

มาตรฐานการจัดการ

 

ห้องปฏิบัติการ ของทางโรงพยาบาลเพชรเวชผ่านเกณฑ์การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO 15189 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผ่านการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2560 โดยสภาเทคนิคการแพทย์ ซึ่งเปรียบเสมือนโครงสร้างรากฐานที่ดีและทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นที่มุมมองทางคุณภาพและปรับปรุงการบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเต็มที่

 

 

ห้องปฏิบัติการกลาง (Central Laboratory)

 

เรามีระบบการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บเอกชนที่ทันสมัยมากขึ้น ด้วยเครื่อง cobas pro (CCE) เครื่องวิเคราะห์สารเคมีในเลือดแบบอัตโนมัติสำหรับการตรวจทางเคมีคลินิก และอิมมูโนวิทยา แบบ consolidation ที่มีความทันสมัย และยังพัฒนาระบบไอทีจากระบบ IT5000 เป็น cobas INFINITY ซึ่งถือว่าเป็นที่แรกในประเทศไทย

 

cobas infinity IT solutions คือ เป็นโปรแกรมระบบงานห้องปฏิบัติการ ที่ติดตั้งฐานข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีระบบจัดการข้อมูลก่อนทำการตรวจวิเคราะห์ เช่น การบันทึกข้อมูล การค้นหาข้อมูลผู้ป่วย การขอตรวจ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีระบบจัดการข้อมูลขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์ เช่น การบันทึกผล การรับรองผล การเชื่อมต่อกับเครื่องตรวจอัตโนมัติ เป็นต้น รวมถึงมีระบบจัดการข้อมูลขั้นตอนหลังการตรวจวิเคราะห์ เช่น การพิมพ์ผล การส่งผลกลับระบบ HIS การค้นหาผล เป็นต้น โรงพยาบาลเพชรเวชยังได้มีการส่งตรวจทาง Molecular เช่น HIV viral load เป็นต้น แต่ปัจจุบันโรงพยาบาลเพชรเวชได้มีการพัฒนาห้อง Molecular ด้วยระบบ CAP/CTM48

 

Blood

 

ระบบห้องเจาะเลือด (Blood collection system)

 

ในส่วนของห้องเจาะเลือด เราได้มีการปรับปรุงห้องเจาะเลือดใหม่ เพื่อรองรับงานที่มากขึ้นทำให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องแล็บเอกชนมีความสะดวกสบายมากขึ้น และได้ลงโปรแกรม Auto Blood collection System หรือ ABS ช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และตรงตามมาตรฐานของ JCI ซึ่งระบุไว้ดังนี้

 

คุณลักษณะเฉพาะของโปรแกรม ABS

 

  • สามารถรับข้อมูลผู้ป่วย (Patient demographic) โดยการเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยเพื่อการบ่งชี้ตัวผู้ป่วย

  • สามารถจัดการลำดับคิวให้บริการ (Queue system) โดยสามารถพิมพ์บัตรคิวสำหรับรอรับบริการห้องเจาะเลือด

  • สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยเพื่อการบ่งชี้ตัวผู้ป่วยและบันทึกการยืนยันการบ่งชี้ตัวผู้ป่วย (Patient identification)

  • สามารถเชื่อมต่อเครื่องเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติเพื่อพิมพ์ barcode sticker พร้อมติดหลอดเลือดหรือสั่งพิมพ์ในกรณีที่ใช้เครื่อง Barcode printer

  • โปรแกรมสามารถคืนหมายเลขคิวไปยังระบบในกรณีที่ช่องบริการไม่มีความพร้อมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่องอื่นสามารถกดเรียกเพื่อให้บริการผู้ป่วยได้

  • สามารถบันทึกตรวจสอบย้อนกลับถึงปัญหาและพัฒนาแก้ไข รวมถึงการจัดทำรายงานสถิติเพื่อวิเคราะห์ และปรับปรุงการให้บริการ

  • มีระบบ Data Security ในการเข้าถึงข้อมูล

 

การเตรียมตัวก่อน - หลังการตรวจเลือด 

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอและหลีกเลี่ยงการดื่มสุราเนื่องจากจะทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ

  • ควรอดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ

  • ควรใส่เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย หรือสวมเสื้อแขนสั้นที่ง่ายต่อการเจาะเลือด

  • หลังเจาะเลือดควรกดแผลที่เจาะเลือดไว้ประมาณ 5 - 10 นาทีเพื่อให้เลือดหยุดไหลแล้วค่อยดึงสำลีที่ปิดแผลออกได้

  • หากมีอาการหน้ามืด หรือวิงเวียนศีรษะควรแจ้งเจ้าหน้าที่และนั่งพักสักครู่ 

  • หากบริเวณแผลมีรอยช้ำเขียวหลังการเจาะเลือด ซึ่งรอยช้ำดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์ ไม่ควรนวดคลึงบริเวณที่เป็นรอย แต่สามารถทายาแก้ฟกช้ำเพื่อบรรเทารอยช้ำได้ 

 

โรงพยาบาลเพชรเวช เป็นโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพทั่วไปขนาดใหญ่

 

ตั้งอยู่ติด ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ใกล้แยกเอกมัย-คลองตัน

แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2521 

ประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนจำนวน 200 เตียง

ผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพของโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA (Hospital Accreditation)

โรงพยาบาลเพชรเวช ดูแลทุกครอบครัว ตั้งมั่นให้บริการคนไทย ทั้งประกันสังคม, และสิทธิ์ร่วมอื่น ๆ

 

จะเห็นได้ว่าห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บเอกชน มีความสำคัญต่อกระบวนการวินิจฉัยโรคและมีประโยชน์สำหรับการบริการผู้ตรวจสุขภาพ ด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ จึงทำให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง