รวมข้อสงสัยโปรแกรมผ่าตัดริดสีดวงทวาร
รวมข้อสงสัยโปรแกรมผ่าตัดริดสีดวงทวาร

แพคเกจผ่าตัดริดสีดวงทวาร (Staple Hemorrhoidectomy)

 

 

Q : แพทย์ผ่าตัดริดสีดวง แบบ Staple มีท่านใดบ้าง และออกตรวจในวันและเวลาใดบ้าง

 

 

A1 : แนะนำแพทย์เฉพาะทาง 1 ท่าน คือ นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์  โดยจะออกตรวจคนไข้วันจันทร์-วันศุกร์ ก่อนเข้ารับบริการสามารถตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ได้ 

 

A2 : สามารถนัดหมายหรือตรวจสอบคิวแพทย์ได้ที่ LINE คลิก

 

 

Q : ตรวจพบเป็นริดสีดวงทวารสนใจผ่าตัด แบบ Staple จะผ่าตัดได้หรือไม่

 

 

A : หากตรวจพบริดสีดวงทวาร และต้องเข้ารับการผ่าตัด แพทย์จะพิจาณาการผ่าตัด แบบ Staple อีกครั้ง เนื่องจากสามารถใช้ในการรักษาริดสีดวงทวารภายในได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้รักษาริดสีดวงทวารภายนอกได้ และการผ่าตัดวิธีนี้ไม่สามารถใช้รักษาโรคแทรกซ้อนของริดสีดวงทวารได้

 

 

Q : สนใจแพคเกจผ่าตัดริดสีดวง แบบ Staple ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : ก่อนเข้าแพคเกจจะมีค่าพบแพทย์และการส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยก่อนผ่าตัดและกรณีวินิจฉัยต้องเข้ารับการผ่าตัดจะมีค่าตรวจร่างกายก่อนผ่าตัด ทั้งนี้หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยเข้าแพคเกจได้ จะไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

 

 

Q : ก่อนเข้าแพคเกจจะต้องพบแพทย์จะมีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง

 
 

A : 1.พบแพทย์เฉพาะทางก่อนเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการ และร่างกายก่อนผ่าตัด ค่าใช้จ่ายประมาณ 700 - 1,000 บาท (กรณีไม่มีส่งตรวจอุปกรณ์พิเศษใด ๆ เพิ่ม)

 

A : 2.ตรวจร่างกายก่อนผ่าตัด (Pre-op) หากผู้ป่วยไม่มีโรคประจำตัว ค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 - 5,000 บาท กรณีผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

 

A : 3.ตรวจโควิด-19 Antigen Test (ATK) ก่อนเข้ารับบริการผ่าตัด ค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 บาท (กรณีผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจะต้องตรวจโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR 1,500 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่แพทย์พิจารณาส่งตรวจ)

 

A : 4.หลังผ่าตัดแพทย์จะนัดหมายติดตามอาการเพื่อดูถึงความผิดปกติ หรือดูแผลผ่าตัดว่าเกิดการติดเชื้อ มีผลข้างเคียงหรือไม่ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายประมาณ 700 - 1,000 บาท (ไม่รวมหากมียากลับบ้านเพิ่มและส่งตรวจอุปกรณ์พิเศษใด ๆ เพิ่ม)

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นควรทำอย่างไรบ้าง

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น สามารถนำผลตรวจทั้งหมดมาประกอบพิจารณาการผ่าตัดเพิ่มเติมได้เลย หากแพทย์พิจารณาจากผลการตรวจเดิมได้ ผู้ป่วยอาจไม่ต้องตรวจรายการอื่น และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก่อนผ่าตัด

 

 

Q : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่นมาแล้ว แต่เนื่องจากต้องเดินทางไกล และต้องการทราบผลเบื้องต้นจะผ่าตัดได้หรือไม่ ควรทำอย่างไร

 

 

A : หากมีผลตรวจจากโรงพยาบาลอื่น และต้องการทราบผลการผ่าตัดเบื้องต้น สามารถส่งให้ทางโรงพยาบาลเพื่อประสานพยาบาลและแพทย์ประเมินเบื้องต้นก่อนได้ หลังจากนั้นแพทย์จะนัดหมายมาพบแพทย์ตามขั้นตอนอีกครั้ง

 

 

Q : พบแพทย์แล้วสามารถผ่าตัดได้เลยหรือไม่

 

 

A : ในกรณีฉุกเฉิน หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าคนไข้ต้องเข้ารับการผ่าตัด สามารถผ่าตัดได้เลย ส่วนในกรณีไม่ฉุกเฉินแพทย์จะนัดหมายอีกครั้งโดยไม่เกิน 1 สัปดาห์ (ทั้งนี้อยู่ที่ความสะดวกของผู้ป่วยและคิวแพทย์ผ่าตัดด้วย)

 

 

Q : มีประกันชีวิตสามารถใช้ในแพคเกจนี้ได้หรือไม่

 

 

A : หากมีประกันชีวิตและมีการคุ้มครองการผ่าตัดสามารถเข้าผ่าตัดแพคเกจนี้ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมีการตรวจสอบความคุ้มครองเบื้องต้นก่อนเข้ารับบริการ และในวันที่พบแพทย์เพื่อประเมินการผ่าตัดจะมีการเช็กความคุ้มครองอีกครั้ง

 

 

Q : สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้หรือไม่

 

 

A : กรณีสิทธิประกันสังคม สามารถผ่าตัดได้ ซึ่งไม่สามารถเข้าแพคเกจได้ แต่จะต้องเข้าพบแพทย์ตามขั้นตอนประกันสังคม โดยจะต้องเข้าพบแพทย์ทางด้านอายุรกรรมหลังจากแพทย์วินิจฉัยจะส่งต่อแพทย์เฉพาะอีกครั้ง และนัดหมายเข้ารับการผ่าตัด

 

 

Q : หากมีสิทธิประกันสังคมแต่ไม่สะดวกรอผ่าตัดประสงค์จะชำระรักษาตามแพคเกจได้หรือไม่

 

 

A : หากผู้ป่วยประสงค์ผ่าตัดโดยไม่ใช้สิทธิประกันสังคมสามารถเข้ารับบริการได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาอีกครั้ง และผู้ป่วยจะต้องสละสิทธิ์โครงการประกันสังคมและยินยอมการรักษาค่าพยาบาลตามเงื่อนไขของโรงพยาบาลที่กำหนดก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

 

Q : ผ่าตัดริดสีดวงทวาร มีวิธีการผ่าตัด 2 วิธี ดังนี้

 

 

A1 : การผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบดั้งเดิม สามารถผ่าตัดริดสีดวงทวารได้ทุกแบบ มีแผลผ่าตัดผ่านตำแหน่งของหูรูด หลังผ่าตัดจะปวดแผล ต้องทำแผลจนกว่าแผลจะหาย จึงทำให้กลับไปทำงานตามปกติได้ช้า

 

A2 : การผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ (STAPLE HEMORRHOIDOPEXY) การผ่าตัดเข้าไปด้านในของทวารหนักบริเวณที่ อยู่สูงกว่าหูรูดขึ้นไป ซึ่งบริเวณนี้ไม่มีประสาทรับความเจ็บปวดมาเลี้ยง จึงไม่มีอาการปวดแผลหลังการผ่าตัด และแผลผ่าตัดจะอยู่ด้านในของทวารหนักจึงไม่ต้องทำแผลและแช่ก้นหลังการผ่าตัด

 

 

Q : ผ่าตัดริดสีดวง ควรเลือกผ่าตัดแบบไหนดี

 

 

A1 : การผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบเดิม สามารถผ่าตัดริดสีดวงทวารได้ทุกแบบ มีแผลผ่าตัดผ่านตำแหน่งของหูรูด ปวดแผลมาก ทำแผลจนกว่าแผลจะหาย จึงทำให้กลับไปทำงานตามปกติได้ช้า

 

A2 : การผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ (STAPLE HEMORRHOIDOPEXY) การผ่าตัดเข้าไปด้านในของทวารหนักบริเวณที่ อยู่สูงกว่าหูรูดขึ้นไป ซึ่งบริเวณนี้ไม่มีประสาทรับความเจ็บปวดมาเลี้ยง จึงไม่มีอาการปวดแผลหลังการผ่าตัด และแผลผ่าตัดจะอยู่ด้านในของทวารหนักจึงไม่ต้องทำแผลและแช่ก้นหลังการผ่าตัด

 

 

Q : ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดเท่าใด

 

 

A : ผ่าตัดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

 

 

Q : เมื่อแพทย์วินิจฉัยผ่าตัดริดสีดวงแบบ Staple จะมีขั้นตอนการผ่าตัดอย่างไร

 

 

A : โดยใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ ตัดและเย็บจากข้างในโดยไม่ต้องใช้มือเย็บ ซึ่งจะตัดเนื้อเยื่อริดสีดวงส่วนเกินรวมทั้งเย็บแผลในเวลาเดียวกัน ตำแหน่งที่เย็บนี้จะอยู่ที่ตรงขั้วของริดสีดวงพอดี แนวการเย็บอยู่ตำแหน่งสูง จะทำให้เกิดความเจ็บปวดน้อย

 

 

Q : ผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบ Staple กับผ่าตัดริดสีดวงแบบดั้งเดิม ต่างกันอย่างไร

 

 

A : การผ่าตัดริดสีดวงทวารแบบเดิม สามารถผ่าตัดริดสีดวงทวารได้ทุกแบบ มีแผลผ่าตัดผ่านตำแหน่งของหูรูด ปวดแผลมาก ต้องทำแผลจนกว่าแผลจะหาย จึงทำให้กลับไปทำงานตามปกติได้ช้า (เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนของริดสีดวงทวาร) การผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ (STAPLE HEMORRHOIDOPEXY) การผ่าตัดเข้าไปด้านในของทวารหนักบริเวณที่ อยู่สูงกว่าหูรูดขึ้นไป เจ็บแผลน้อย ไม่มีอาการปวดแผลหลังการผ่าตัด ไม่ต้องทำแผลและแช่ก้นหลังการผ่าตัด ฟื้นตัวเร็ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงบางรายอาจผ่าตัดวิธีนี้ไม่ได้

 

 

Q : หลังผ่าตัดแล้ว มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกได้หรือไม่

 

 

A : โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่สามารถรักษาหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกถ้าหากเรายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินหรือการใช้ชีวิต หลังผ่าตัดแพทย์จะแนะนำการดูแลตัวเอง เช่น แนะนำในการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บปวดเวลาถ่าย มีทั้งการกินอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อให้อุจจาระนิ่ม และการดื่มน้ำอย่างเพียงพอในช่วงเวลาพักฟื้น

 

 

แพคเกจผ่าตัดริดสีดวงทวาร (Hemorrhoidectomy) 

 

 

Q : แพทย์ผ่าตัดริดสีดวง มีท่านไหนบ้าง

 

 

A1 : แนะนำแพทย์เฉพาะทาง 2 ท่าน นพ.ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์ และพญ.วารินทร์ เวสารัชวิทย์ 

 

 

A2 : สามารถนัดหมายหรือตรวจสอบคิวแพทย์ได้ที่ LINE คลิก

 

 

Q : เมื่อแพทย์วินิจฉัยผ่าตัดริดสีดวง แบบดั้งเดิม จะมีขั้นตอนการผ่าตัดอย่างไร

 

 

A : แพทย์จะทำการตัดหัวริดสีดวงทวารหนักที่ยื่นออกมาทิ้ง และเย็บปิดแผล

 

 

Q : โรคริดสีดวงทวาร มีอาการอย่างไร

 

 

A : มีเลือดออกขณะหรือหลังถ่ายอุจจาระ มีติ่งหรือก้อนที่ทวารหนักอาจมีอาการคัน ปวด เจ็บ บริเวณที่เป็นริดสีดวง

 

 

Q : โรคริดสีดวงทวารแตกต่างกับโรคฝีคัณฑสูตรอย่างไร

 

 

A : โรคริดสีดวงมีเลือดออกขณะหรือหลังถ่ายอุจจาระ มีติ่งหรือก้อนที่ทวารหนักอาจมีอาการคัน ปวด เจ็บ บริเวณที่เป็นริดสีดวง โรคฝีคัณฑสูตร ฝีที่เกิดขึ้นจากการอุดตันของต่อมผลิตเมือก และเกิดการติดเชื้อจนเป็นหนองภายในทวารหนัก โดยบริเวณนี้จะมีต่อมผลิตเมือกจำนวนมากซึ่ง เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากเป็นทางผ่านของอุจจาระ ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียสะสมจนเกิดเป็นฝี และเมื่อฝีแตกออกจนมีหนองไหลออกมาที่ผนังรอบปากทวารก็จะกลายเป็นฝีคัณฑสูตร โรคทั้งสองนี้แม้จะมีอาการคล้ายคลึงกันคือ มีอาการเจ็บบริเวณทวารหนัก อาจถ่ายเป็นเลือด แต่โรคฝีคัณฑสูตรจะไม่สามารถหายเองได้เหมือนโรคริดสีดวง ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเท่านั้น

 

 

Q : หลังผ่าตัดแล้ว มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกได้หรือไม่

 

 

A : โรคริดสีดวงทวารเป็นโรคที่สามารถรักษาหายแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกถ้าหากเรายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินหรือการใช้ชีวิต หลังผ่าตัดแพทย์จะแนะนำการดูแลตัวเอง เช่น แนะนำในการรับประทานอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บปวดเวลาถ่าย มีทั้งการกินอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อให้อุจจาระนิ่ม และการดื่มน้ำอย่างเพียงพอในช่วงเวลาพักฟื้น



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

แพคเกจผ่าตัดริดสีดวงทวาร

 

 

ริดสีดวงทวารหนัก โรคของคนติดห้องน้ำ (อัปเดตเนื้อหา 2567)

 

 

อาหารที่คนเป็นริดสีดวง “ควรกิน” และ “ไม่ควรกิน”

 

 

ผ่าตัดริดสีดวงแบบ Stapled Hemorrhoidectomy ดีอย่างไร