Q : แพคเกจโรคหลอดเลือดสมองใครบ้างที่ควรตรวจ
A : ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต ระดับไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ประจำ ผู้ที่ดื่มสุราเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงที่คอตีบ
Q : สนใจแพคเกจต้องทำอย่างไรบ้าง
A : หากสนใจแพคเกจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่ LINE คลิก เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงให้คำแนะนำการเข้ารับบริการได้เลย (ระบุต้องการแพคเกจตรวจโรคหลอดเลือดสมอง)
Q : ตรวจแพคเกจโรคหลอดเลือดสมอง จะสามารถรู้ได้ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองใช่หรือไม่
A : การตรวจสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองเพื่อป้องกัน ค้นหาปัจจัยเสี่ยง และควบคุมรักษาปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงเบาหวานไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า และโรคหัวใจบางชนิด ดังนั้นในผู้ใหญ่ที่ไม่เคยมีโรคมาก่อนจึงควรตรวจสุขภาพ วัดความดันโลหิต และตรวจเลือดเป็นประจำทุกปี และควรงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด สำหรับผู้ที่มีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงควรรับประทานยา และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในผู้ที่เคยมีอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ที่เคยมีอาการแล้ว ถ้าเป็นชนิดหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันควรรับประทานยาป้องกันเช่นยาในกลุ่ม Aspirin หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
Q : สนใจตรวจแพคเกจโรคหลอดเลือดสมอง สามารถตรวจได้เลยหรือไม่
A : หากผู้รับบริการสนใจ สามารถแจ้งความประสงค์ตรวจกับเจ้าหน้าที่ได้เลยค่ะ เจ้าหน้าที่จะให้เข้าพบแพทย์เพื่อซักประวัติเบื้องต้น และพิจารณาให้เข้าแพคเกจอีกครั้ง (เหตุผลจะต้องพบแพทย์ก่อนเพื่อซักประวัติและอาการหากมีความเสี่ยงด้านใดจะสามารถแนะนำการตรวจที่เหมาะสม และที่ถูกต้องได้)
Q : เข้าพบแพทย์และเข้ารับบริการได้วันไหนบ้าง
A : แนะนำ นพ.อุเทน บุญอรณะ และ พญ.นฤมล เตียรถ์วิจิตร สามารถเข้ารับบริการได้วันจันทร์-ศุกร์ที่ OPD Premium ชั้น 16 อาคาร A เวลา 09.00 - 15.00 น.
Q : การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
A : ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ และงดอาหารและเครื่องดื่มประมาณ 8-12 ชั่วโมง
Q : ใช้เวลาตรวจกี่ชั่วโมงและรอรับผลตรวจได้เลยหรือไม่
A : ใช้เวลาตรวจ และรอรับผลตรวจ ประมาณ 3-4 ชม.
Q : แพคเกจโรคหลอดเลือดสมองรวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วใช่หรือไม่
A : รวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว จะไม่รวมกรณีแพทย์พิจารณาต้องฉีดสี
Q : Stroke หรือภาวะหลอดเลือดสมองคืออะไร
A : โรคหลอดเลือดสมอง อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ โรคอัมพาต หรือภาวะสมองขาดเลือด ไม่ใช่โรคของสมองแต่เป็นโรคของหลอดเลือด โดยมี 3 จุดหลัก ๆ ในร่างกายที่จะได้รับผลกระทบ คือ 1. สมอง 2. หัวใจ 3. ไต โดยมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ ด้วย ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้หลอดเลือดมีปัญหาคือ 1. โรคเบาหวาน 2. โรคความดัน 3. โรคไขมันสูง 4. โรคหัวใจ และ 5. การสูบบุหรี่ ซึ่ง 5 สาเหตุนี้สามารถตรวจและแก้ไขที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้
Q : หลอดเลือดสมองตีบ กับ หลอดเลือดสมองแตก แตกต่างกันอย่างไร
A : หลอดเลือดสมองแตกคือ การที่มีเลือดออกในสมองจึงไปกดเนื้อสมอง ทำให้พื้นที่ตรงนั้นไม่สามารถทำงานได้ ส่วนหลอดเลือดสมองตีบ คือการที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนในหลอดเลือดได้ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ สำหรับอาการที่แสดงออกมาของทั้ง 2 ประเภทจะคล้ายกัน แต่จะต่างที่ขั้นตอนการดูแล การให้ยารักษา แต่จริง ๆ คนไข้ทั้ง 2 กลุ่ม วิธีการดูแลเพื่อให้การฟื้นตัวได้ดีคือการทำกายภาพบำบัด การกินยาเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ เส้นเลือดสมองตีบมีโอกาสเป็นซ้ำได้สูงมาก ต้องขยันทำกายภาพบำบัดฟื้นตัวใน 6 เดือนแรก ถ้าขยันทำกายภาพบำบัดจะดีขึ้นจนสามารถหายเป็นปกติได้
Q : โรคทางสมอง (stroke) ที่พบมากที่สุด
A : สำหรับบ้านเราโรคของหลอดเลือดสมองจะพบมากที่สุด แล้วตามด้วยโรคไฟฟ้าในสมอง หรือลมชัก และโรคสมองเสื่อม และอื่น ๆ สำหรับกลุ่มโรคสมองเสื่อมในไทย หรือสากลปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ ทำได้แค่เพียงชะลอให้เกิดการเสื่อมช้าลง
Q : วิธีสังเกตโรค stroke
A : โรคนี้จะไม่มีสัญญาณบอก ต้องตรวจสุขภาพ เนื่องจากว่าเราใช้งานสมองเพียง 30% หากเกิด stroke ในสมองส่วน 70% ที่ไม่ได้ใช้งาน เราจึงไม่สามารถที่จะรู้ได้เลย เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ เวลาตรวจสุขภาพอาจจะต้องตรวจ ct scan เพื่อดูว่าเคยเป็น stroke มาก่อนหรือไม่ จะได้ทราบภาวะเสี่ยงของตัวเอง ถ้าเคยเป็นแสดงว่าคุณอยู่บนความเสี่ยง และที่สำคัญโรคนี้ไม่ว่าจะวัยใด ๆ สามารถเป็นได้หมด ถ้าอยู่บนพื้นฐานความเสี่ยงโรค 5 อย่าง หรือ life style การใช้ชีวิต เช่น ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงอยู่บนความเสี่ยงที่จะเป็นได้
Q : รู้อย่างไรว่าเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
A : ถ้าคุณมีโรคประจำตัว คือ1. โรคเบาหวาน 2. โรคความดัน 3. โรคไขมันสูง 4. โรคหัวใจ และ5. การสูบบุหรี่ แสดงว่าคุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือด คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทุกคนไม่ได้เป็นโรค stroke ไม่ได้เป็นเส้นเลือดสมอง บางอย่างมีอาการเตือนจริง แต่อีก 50% จะไม่มีอาการเตือน ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการจะกังวลและใช้ชีวิตไม่มีความสุข จึงต้องหมั่นตรวจสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงของโรค
Q : การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในกลุ่มเสี่ยง
A : ถ้ารู้ตัวว่าอยู่บนความเสี่ยงมีวิธีแก้ไข คือ การตรวจสุขภาพอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปจะตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ถ้าเราสุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าโรคอะไรเราจะลดความเสี่ยงลงได้ การดูแลตัวเองและกินยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมเรื่องอาหาร และออกกำลังกาย
Q : ขั้นตอนดูแลคนไข้โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
A : การรักษามี ๆ 3 ขั้นตอนคือ ต้องตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอว่าโรคที่เกี่ยวเนื่องและมีความเสี่ยงอยู่หรือไม่ ถ้าคุณมีโรคที่อยู่บนความเสี่ยง คุณต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ และต้องดูแลสุขภาพให้ดี
หากมีอาการผิดปกติต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เช่น อาการหน้าเบี้ยว แขนอ่อนแรง พูดไม่ชัด ต้องรีบไปโรงพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมง เพราะมันไม่ใช่สัญญาณเตือนแต่มันเป็นสัญญาณบอกว่าคุณเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว เมื่อถึงมือหมอจะได้รับยาสลายลิ่มเลือด และจะรักษาได้โดยการทำกายภาพบำบัดและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่เคยละเลยมาก่อน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง
รู้เท่าทัน Strokeโรคหลอดเลือดสมอง