การใช้ชีวิตในพื้นที่รอบบ้านของเราในทุก ๆ วัน อาจเสี่ยงที่จะพบเจอสัตว์มีพิษทั้งงู ตะขาบ หรือแมงป่องเนื่องจากสภาพแวดล้อม รวมถึงภูมิอากาศที่ทำให้สัตว์เหล่านี้เข้ามาพื้นที่ภายในบ้าน และหากเราถูกสัตว์จำพวกนี้กัดจะทำให้เกิดอันตรายได้ และจะยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีกหากเราไม่รู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่จำเป็น
เป็นสัตว์ที่เราสามารถพบได้เป็นปกติอยู่แล้วทั้งในข่าว หรือในชีวิตจริง โดยส่วนมากพิษของงูในไทยมักจะส่งผลต่อระบบประสาท เช่น งูเห่าหรืองูจงอาง เป็นต้น ผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการ ดังนี้ กล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรง ตาไม่มีแรง พูดไม่ออก กลืนน้ำลายลำบาก หยุดหายใจ และเสี่ยงเสียชีวิต ดังนั้นหากถูกงูกัดควรปฏิบัติ ดังนี้
พบได้มากในช่วงน้ำท่วม เนื่องจากตะขาบจะหนีน้ำและอาจเข้ามาอยู่อาศัยในเขตของผู้คนได้ หากถูกตะขาบกัดจะทำให้เกิดอาการ ดังนี้ ปวด บวม แดง และคันบริเวณที่ถูกตะขาบกัด บางรายอาจมีไข้ แต่อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ บรรเทาได้เองภายใน 24 ชม. หากพบว่าถูกตะขาบกัดให้ปฏิบัติ ดังนี้
แมลงมีพิษส่วนมากเมื่อกัด หรือต่อยแล้วจะทิ้งเหล็กในเอาไว้ด้วย เช่น แตน ผึ้ง และต่อ โดยแผลที่ถูกต่อยจะมีอาการบวมแดง เพราะเหล็กในมีกรด แต่อาการจะรุนแรงแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และบริเวณที่ถูกกัดด้วย หากถูกแมลงมีพิษกัดหรือต่อยให้ปฏิบัติ ดังนี้
พบได้บ่อยในที่ชื้นและมืด พิษจะอยู่ที่หางมีพิษในระดับที่อันตราย หากถูกต่อยจะทำให้แผลมีอาการปวดบวม และแดง ผู้ป่วยบางรายจะอาจมีอาการรุนแรง ได้แก่ ปวดกระดูกไปถึงกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง หากถูกแมงป่องต่อยให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้
พบได้ในพื้นที่ชุ่มชื้นใกล้แหล่งน้ำ ลำตัวมีสีดำและส้ม และเสี่ยงถูกกัดในฤดูฝนช่วงกลางคืน หากสัมผัสตัวมัน ต่อให้มันตายไปแล้วพิษจะยังคงอยู่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้ ผิวหนังที่สัมผัสจะแดงมีตุ่มปวดแสบ และร้อน อาจมีไข้ร่วมด้วย ปกติแล้วเมื่อสัมผัสสารพิษจะพบตุ่มบนผิวหนังในตอนเช้า ตุ่มอาจเกิดอาการแตกได้แต่อาการเหล่านี้จะบรรเทาจนหายได้ใน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่กล่าวไปเป็นสิ่งที่ควรทำระหว่างร่างกายพักฟื้น ถึงแม้ส่วนมากอาการที่เกิดจากพิษของสัตว์จะไม่รุนแรงมาก แต่หากมีอาการแพ้สารพิษอาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา