หลังจากมีข่าวออกมาว่าทั่วโลกโซเชียลว่า ใส่หน้ากากนาน ๆ จะทำให้ภาวะเลือดเป็นกรด เนื่องจากการใส่หน้ากากอนามัยจะทำให้เราหายใจเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจออกมากลับเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน กรมควบคุมโรคจึงออกมาอธิบายถึงข้อมูลดังกล่าว ข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นใดนั้นมาติดตามกัน
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสภาวะเลือดเป็นกรดกันก่อน โดยภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) เป็นภาวะที่ของเหลวในร่างกายไม่สมดุลกันทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด และมีอันตรายต่อสุขภาพ ในทางการแพทย์ค่า PH ของเลือดในคนปกติจะอยู่ที่ 7.35-7.45 ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนก๊าซ ภาวะเลือดเป็นกรดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท หากเกิดจากปอดจะเรียกว่า ภาวะกรดจากระบบหายใจ (Carbondioxide Acidosis) แต่หากเกิดจากการทำงานของไตจะเรียกว่า ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ (Metabolic Acidosis)
คำตอบเรื่องนี้บอกได้คำเดียวว่า “ไม่จริง”ค่ะ ยังไม่มีผลวิจัยใด ๆ ยืนยันว่าการใส่หน้ากากนาน ๆ จะทำให้เลือดเป็นกรด เพียงแต่จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ การสวมหน้ากากอนามัยยังทำให้เราสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ปกติ ภาวะเลือดเป็นกรดจะเป็นภาวะที่เลือดมีค่า PH น้อยกว่า 7.35 ซึ่งภาวะนี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากการป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ได้แก่ โรคทางเดินหายใจอุดกั้น การรับประทานยากดประสาท การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือการได้รับบาดเจ็บทางช่องอก ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด อึดอัด หายใจไม่ออก สับสน มึนงง เวียนศีรษะ
แม้การสวมหน้ากากนาน ๆ จะไม่ได้ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดอย่างที่ลือกัน แต่บางคนอาจจะเกิดอาการมึนหัว เวียนศีรษะจากการใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการสวมหน้ากากอนามัยแบบ N95 ซึ่งเป็นหน้ากากที่ออกแบบมาสำหรับวงการแพทย์ใช้ในห้องปฏิบัติการเชื้อโรค หน้ากากจึงแนบสนิทกับใบหน้า ไม่ระบายอากาศ ทำให้ต้องออกแรงหายใจมากขึ้น และอาจทำให้ขาดออกซิเจนจนถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้ ดังนั้นควรเลือกใช้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดา หรือแบบผ้าที่มีช่องลมระบายอากาศด้านข้างทำให้สามารถใส่ได้หลายชั่วโมงและไม่มีปัญหากับระบบทางเดินหายใจนั่นเอง
การสวมหน้ากากอนามัยยังคงเป็นวิธีการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ดีวิธีหนึ่ง การเลือกหน้ากากอนามัยที่สวมใส่สบายตลอดทั้งวัน และใส่หน้ากากอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งที่ควรพึงกระทำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตนเอง และควรเปลี่ยนหน้ากากเป็นประจำเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย
_____________________________________
แหล่งข้อมูลอ้างอิง