ติดเค็ม ผลร้ายที่ไม่ใช่แค่โรคไต
ติดเค็ม ผลร้ายที่ไม่ใช่แค่โรคไต

ติดเค็ม คือ พฤติกรรมชอบรับประทานอาหารที่โซเดียมสูงอยู่เป็นประจำ ทำให้ร่างกายสะสมสารนี้ไว้เป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลร้ายต่อภูมิต้านทาน ไม่ใช่แค่ไตเพียงอย่างเดียว ยังมีความผิดปกติอื่น ๆ อีกมากมายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งปกติการบริโภคโซเดียมโดยไม่ก่อโรคจะอยู่ที่  2,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ผู้ที่ได้รับเยอะกว่านั้นมาเป็นเวลานาน สารเคมีในสมองจะเร่งการผลิตโดพามีน จึงมีความรู้สึกหิว และต้องได้รับอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด ถึงจะบรรเทาความอยากนี้ลดลงได้

 

 

พฤติกรรมที่แสดงว่าติดเค็ม

 

  • รับประทานอาหารสำเร็จรูป และของว่างประเภทขนมทอดกรอบที่ขายกันตามร้านสะดวกซื้ออยู่เป็นประจำ

 

  • เติมน้ำปลา เกลือ ซีอิ๊ว ซอส หรือเครื่องปรุงที่เพิ่มรสชาติเค็มในอาหาร

 

  • มักจะบริโภคผลไม้หมักดอง หรือที่บรรจุในกระป๋อง

 

  • ซดน้ำก๋วยเตี๋ยว หรือน้ำยำจนหมด

 

  • โซเดียมในเลือดสูง มากว่า 145 มิลลิโมลต่อลิตร

 

 

มาม่า

 

 

อาการของผู้ติดเค็ม

 

  • คอแห้ง

 

  • กระหายน้ำ

 

  • ปวดศีรษะ

 

  • อารมณ์หงุดหงิด

 

  • ความดันโลหิตสูง

 

  • บวมบริเวณอวัยวะต่าง ๆ เช่น ใบหน้า แขน ขา

 

  • ในช่องปากจะผลิตน้ำลายมากขึ้น

 

 

ปวดหัว ความดัน

 

 

อาหารที่มีโซเดียมสูง

 

  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

 

  • โจ๊กซองหรือถ้วยคัพ

 

  • ขนมกรุบกรอบ

 

  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แหนม เบคอน ไส้กรอก กุนเชียง

 

  • ซอสพริก มะเขือเทศ มายองเนส

 

  • ผลิตภัณฑ์จากชีส ครีม เนย

 

  • น้ำจิ้มสุกี้ และชนิดอื่น ๆ

 

  • เครื่องปรุงถนอมอาหาร ได้แก่ ไตปลา ปลาร้า พริกแกง กะปิ เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้

 

  • เมนูปิ้ง ย่าง ชาบู หม้อไฟ น้ำซุป

 

  • น้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้แต่งกลิ่น ใส่สีผสมอาหาร

 

 

มันฝรั่งทอด

 

 

ติดเค็มเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง

 

  • ปัญหาระบบไหลเวียนโลหิต

 

  • กระดูกผุ

 

  • ไตวาย

 

  • ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

  • มะเร็งกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร

 

  • โรคหัวใจ

 

 

อ้วน

 

 

ติดเค็มทำอย่างไรดี

 

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงโรคที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้

 

  • เพิ่มการรับประทานผัก ผลไม้สด และธัญพืช

 

  • หลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูงตามหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น

 

  • เลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีปริมาณของโซเดียมต่ำ โดยการอ่านฉลากโภชนาการ

 

  • ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

 

  • ใช้ลิ้นแตะชิมอาหาร รวมทั้งลดการเติมเครื่องปรุงรสชาติเค็มเพิ่มเติม

 

 

พฤติกรรมการรับประทานอาหารย่อมส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว หากรู้ว่าตนเองติดเค็มควรลดปริมาณโซเดียมลงทีละนิด ฝึกปรับลิ้นให้ชิน นอกจากนี้ควรระมัดระวังโซเดียมแฝง ซึ่งก่อให้เกิดโรคร้ายเช่นกัน เพียงแต่ว่ามักจะอยู่ในอาหารที่เราอาจคาดไม่ถึง เช่น ผลไม้เชื่อม เค้ก ผักดอง ของพวกนี้มักมีรสหวานนำ แต่วัตถุดิบบางอย่างนั้นมีโซเดียมเยอะ แต่ไม่ได้มีรสเค็มจัด

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

คลินิกอายุรกรรม

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต

 

 

โซเดียมแฝง ในอาหาร สาเหตุในการเกิดโรคที่ปราศจากความเค็ม