เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น รับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไรในวันที่ต้องศึกษาเล่าเรียน
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น รับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไรในวันที่ต้องศึกษาเล่าเรียน

วัยรุ่น (Adolescence) คือ ช่วงอายุ13-20 ปี ที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพัฒนาการของร่างกาย ความคิด สุขภาวะจิตที่แตกต่างไปจากเด็ก ในขณะที่สติปัญญายังคงต้องใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ดังนั้นการที่จะให้บุคคลในวัยนี้ก้าวไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต จะต้องใช้ปัจจัยทั้งครอบครัว สังคมในสถานศึกษา เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม โรคทางเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด ใช้ความรุนแรง เป็นต้น

 

 

เมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยรุ่น

 

ด้านร่างกาย

 

  • มีหนวด เคลา และขนตามร่างกาย

 

  • เสียงแตกพร่า

 

  • ไหล่กว้าง ส่วนสูงเพิ่มขึ้น

 

  • อวัยวะเพศมีการแข็งตัวเมื่อถูกกระตุ้น

 

  • ฝันเปียก

 

อารมณ์

 

  • ก้าวร้าวรุนแรง

 

  • มั่นใจในตนเองสูง

 

  • รำคาญสิ่งที่จุกจิก

 

  • แสดงความรักต่อเพศตรงข้าม

 

  • ไม่ทำตามกฎระเบียบ

 

  • เลียนแบบพฤติกรรมคนที่ให้ความยกย่อง

 

 

ชายหนุ่ม

 

 

เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยรุ่น

 

ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

 

  • หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น

 

  • สะโพกผาย

 

  • ขนขึ้นตรงจุดอับของร่างกาย

 

  • มีประจำเดือน

 

ทางด้านอารมณ์

 

  • ประหม่า เขินอายเมื่อสนทนากับเพศตรงข้าม

 

  • ใส่ใจเรื่องสุขภาพความสวยงามมากขึ้น

 

  • แต่งกายตามสมัยนิยม

 

  • ชอบให้คนมาชมในรูปลักษณ์ของตนเอง

 

 

สาวเป็นสิว

 

 

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการของวัยรุ่น

 

กรรมพันธุ์

 

  • การถ่ายทอดอัตลักษณ์ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น เช่น สีผิว หมู่โลหิต โรคหรือภาวะความผิดปกติบางชนิด

 

สภาพแวดล้อม

 

  • เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อสภาวะจิตใจของวัยรุ่น หากต้องอยู่ในแวดวงของยาเสพติด การพนัน ทะเลาะเบาะแว้ง หนีเรียน ย่อมทำให้มีความแข็งกระด้าง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือลงมือทำสิ่งผิดกฎหมาย เพื่อได้รับการยอมรับในสังคมนั้น แม้กระทั่งในกลุ่มเพื่อนร่วมสถานศึกษาที่มักจะให้ความสำคัญต่อความสวยงามจากภายนอกมากเกินไป ทำให้เปลี่ยนแปลงตนเองตามอุดมคติคนอื่น ใช้ยาลดน้ำหนัก ศัลยกรรมหมอเถื่อนที่ไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพราคาถูก จะทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงเกิดอันตรายขึ้นได้

 

การอบรมเลี้ยงดูและความสัมพันธ์ในครอบครัว

 

  • แม้ว่าปัจจัยในข้างต้นจะทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ผิดไป แต่ถ้าได้สมาชิกในครอบครัวคอยเป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ สิ่งที่ไม่ดีจะสามารถทำอะไรบุคคลในวัยนี้ได้ การให้ความรัก ความอบอุ่น โดยไม่ก้าวล้ำความเป็นส่วนตัวมากเกินไป หรือใช้ความรุนแรงทั้งทางร่างกายและคำพูดในการลงโทษ

 

 

ให้เกียรติแก่เพศตรงข้าม

 

 

การป้องกันปัญหาในวัยรุ่น

 

  • ใส่ใจในการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

 

  • หลีกเลี่ยงความเครียดจากการเรียนหรือเรื่องอื่น

 

  • ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น เล่นดนตรี ทำงานบ้าน เสพศิลปะ

 

  • ให้เกียรติแก่ทุกเพศ ไม่ควรแทะโลมทางวาจา สายตา รวมทั้งการดูหมิ่น

 

  • ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดใด ๆ ทั้งสิ้น

 

  • เลือกคบเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร

 

  • หากขับขี่ยานพาหนะต้องไม่คึกคะนอง ใส่อุปกรณ์นิรภัยอย่างมีสติ

 

  • หากมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายอย่างใดหรือรู้สึกไม่สบายใจ ให้รีบปรึกษาผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ทันที

 

 

วัยรุ่นหนึ่งคนกว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ต้องใช้เวลาในการปรับตัว เรียนรู้ สู้กับสิ่งไม่ดีที่จะพาไปสู่ความอันตราย รวมทั้งเสียค่าใช้จ่ายจากผู้ปกครองอย่างมาก ทั้งค่าเทอม รักษาพยาบาล ค่าอาหาร ฯลฯ ดังนั้นควรดูแลตนเองให้พ้นจากความเสี่ยงต่อโรคภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงใกล้เปิดเทอมนี้ ก่อนจะไปเข้าห้องเรียนพบเพื่อน ครู อาจารย์ อาจจะไปตรวจสุขภาพเพื่อรับรู้ถึงความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการเรียนในปีการศึกษานั้น

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนเข้าเรียน