พยาธิปอดหนู อันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น จากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด
พยาธิปอดหนู อันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น จากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด

การนำสัตว์น้ำจืด เช่น หอยโข่ง หอยขม และกุ้ง มารับประทานโดยไม่สะอาด เป็นอันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น เป็นอัมพาต และเสียชีวิตได้ เพราะสัตว์พวกนี้จะมีพยาธิปอดหนู และตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในตัวของสัตว์ เมื่อรับประทานสัตว์น้ำจืดพวกนี้เข้าไป ก็ได้รับพยาธิปอดหนู หรือตัวอ่อนพยาธิเช่นกัน ซึ่งพยาธินี้สามารถขึ้นไปที่สมอง ตา และไขสันหลังของมนุษย์ได้

 

 

พยาธิปอดหนู คืออะไร

 

พยาธิปอดหนู (Angiostrongylus Cantonensis) หรือพยาธิหอยโข่ง คือ พยาธิตัวกลมที่อาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงของหนู รูปร่างเรียวยาว 2-3 เมตร มีทั้งเพศผู้ และเพศเมีย โดยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ลักษณะเป็นสีแดงสลับสีขาวเมื่อหนูถ่ายอุจจาระจะมีพยาธิตัวอ่อนปะปนออกมาพร้อมกัน เมื่อสัตว์ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะสัตว์น้ำจืด เช่น หอย ตัวทาก หรือกุ้งแม่น้ำ มันจะรับประทานตัวอ่อนของพยาธิ หรือตัวอ่อนของพยาธิได้ไชเข้าตัวสู่ตัวสัตว์นั้น จะมีการเจริญเติบโต อยู่ในกล้ามเนื้อ หรืออวัยวะต่างๆของสัตว์ และเมื่อมนุษย์ได้เอาสัตว์ตัวนั้นมาเป็นวัตถุดิบอาหาร โดยไม่ปรุงสุก พยาธิปอดหนูจะเข้าสู่ร่างกาย เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้

 

 

อาการเมื่อพยาธิปอดหนูเข้าสู่ร่างกาย

      

  • ปวดศีรษะ

      

  • เป็นไข้

      

  • ตาพร่ามัว จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น

      

  • คลื่นไส้อาเจียน

      

  • มีอาการชักเกร็ง

      

  • สูญเสียการทรงตัว

      

  • อัมพาต

      

  • เสียชีวิต

 

 

การวินิจฉัยเมื่อพยาธิปอดหนูเข้าสู่ร่างกาย

 

หากพยาธิปอดหนูเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-30 วัน จะเกิดอาการต่างๆ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายผู้ป่วย เพื่อหาพยาธิปอดหนู และทำการรักษา โดยการวินิจฉัยดังนี้

      

  • การซักประวัติผู้ป่วย

      

  • การตรวจพบพยาธิที่ตา

      

  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

      

  • การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา

      

 

การรักษาเมื่อพยาธิปอดหนูเข้าสู่ร่างกาย

      

  • การใช้ยาแก้ปวดศีรษะ

      

  • หากผู้ป่วยมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แพทย์ให้ยาสเตียรอยด์ Prednisolone แก่ผู้ป่วย

      

  • หากพยาธิปอดหนูเข้าไปในตาของผู้ป่วย แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาพยาธิออกมาจากตา

      

  • หากผู้ป่วยมีความดันของน้ำในไขสันหลังสูง แพทย์จะทำการเจาะระบายน้ำในไขสันหลัง ของผู้ป่วยออกเป็นระยะๆ

 

หนู

 

 

 

อาหารที่มักจะมีพยาธิปอดหนู

 

ส่วนใหญ่การรับประทานแบบสุกๆ ดิบๆ และไม่สะอาด และมักจะเป็นอาหารจากสัตว์น้ำจืด ได้แก่

      

  • หอยประเภทต่างๆ เช่น หอยเชอร์รี หอยโข่ง หอยขม

      

  • ปลาน้ำจืด

      

  • กุ้งแม่น้ำ

      

  • กบ

      

  • ตะกวด

 

นอกจากนี้การรับประทานผักสด หรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนก็สามารถได้รับพยาธิปอดหนูเช่นกัน

 

 

การป้องกันพยาธิปอดหนูเข้าสู่ร่างกาย

      

  • รับประทานอาหารปรุงสุก

      

  • ดื่มน้ำสะอาด ปราศจากการปนเปื้อน

      

  • ล้างวัตถุดิบอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ ก่อนนำมาทำอาหารรับประทาน

      

  • รักษาความสะอาด เพื่อป้องกันหนูที่เป็นพาหะของพยาธิปอดหนู

 

 

การค้นพบพยาธิปอดหนูครั้งแรกที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในค.ศ. 1935  โดยพบจากเส้นเลือดปอดหนู นอกจากนี้ยังสามารถพบพยาธิปอดหนูได้ในแถบทวีปเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยนั้นมักจะพบได้บ่อยในภูมิภาคอีสาน และภาคกลาง