เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด ไม่ใช่นักกีฬาก็เสี่ยงเป็นได้
เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด ไม่ใช่นักกีฬาก็เสี่ยงเป็นได้

การเล่นกีฬานั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่ในบางครั้งก็สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งนำมาสู่อาการบาดเจ็บ หนึ่งในนั้นคือเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด ซึ่งไม่ใช่นักกีฬาเสี่ยงเป็นอาการนี้ได้ อีกทั้งหากไม่รักษาให้ถูกวิธี โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และในอนาคตเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร

 

 

เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าคืออะไร

 

เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (Anterior Cruciate Ligament) คือ หนึ่งในเอ็นหลักของเข่าที่อยู่ลึกเข้าไปในบริเวณส่วนกลางของข้อเข่า มีหน้าที่รักษาความมั่นคงของข้อเข่า และควบคุมการเคลื่อนไหว รวมทั้งป้องกันการบิดหมุนของข้อเข่า ช่วยให้ข้อเข่าไม่เกิดอาการทรุด สร้างความมั่นคงในข้อเข่า

 

 

สาเหตุของเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

 

  • การวิ่งลงน้ำหนัก และหมุนข้อเข่าขณะที่เข่ายังเหยียดตรง ทำให้เส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าถูกกระชาก และเกิดการฉีกขาดได้

 

  • การบิดของเข่าอย่างรวดเร็ว และรุนแรง

 

  • การกระโดด หรือยกเท้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เอ็นไขว้หน้าถูกกระชากจนฉีกขาดได้

 

  • อุบัติเหตุจากการจราจร

 

  • กล้ามเนื้อตึง ไม่ยืดหยุ่น หรือไม่แข็งแรง ทำให้เข่าบาดเจ็บสะสมที่เอ็นไขว้หน้า และไม่ได้ฉีกขาดในทันที

 

 

อาการเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด

 

  • ได้ยินเสียงลั่นในข้อ (Audible Pop) และรู้สึกเหมือนว่ามีอะไรดีดอยู่ในขา

 

  • ปวดภายในเข่าลึกๆ

 

  • มีอาการเข่าบวม

 

  • มีเลือดออกในหัวเข่า ภายใน 1 - 2 ชั่วโมง ปวดเข่าจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่อได้หลังจากการบาดเจ็บ

 

  • หากเกิดการบาดเจ็บแล้วทิ้งไว้ และไม่ได้รับการรักษา จะมีความรู้สึกเหมือนเข่าหลวม ข้อเข่าไม่มั่นคง หรือเข่าทรุด

 

 

วิดีโอ ประสบการณ์จริงจากคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (คลิก)

 

 

 

การวินิจฉัยเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด

 

ขั้นแรกนั้น แพทย์จำการซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย และทำการใช้เทคโนโลยีเครื่องแพทย์ในการตรวจอย่างละเอียด ได้แก่

           

  • การถ่ายภาพทางรังสีปกติ (Plain X-Ray) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ เช่น ภาวะกระดูกหัก

 

  • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ใช้ในการวินิจฉัยอาการบาดเจ็บร่วมที่พบร่วมกันได้ เช่นกระดูกอ่อนบาดเจ็บ หมอนรองเข่าฉีกขาด

 

 

การรักษาเอ็นไขว้หน้าขาด

 

  • แพทย์จะทำการใส่เฝือกอ่อน และให้ยาลดการอักเสบประมาณ 1 สัปดาห์ แก่ผู้ป่วยเอ็นไขว้หน้าขาด เมื่ออาการบวม และการอักเสบเฉียบพลันบรรเทาลง แพทย์จะทำการตรวจวิเคราะห์เข่าอีกครั้ง เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ในระดับใด หากผู้ป่วยไม่สามารถใช้เข่าได้เหมือนเดิมก็จำเป็นจะต้องลดกิจกรรมลง หากพบว่าผู้ป่วยมีการบาดเจ็บร่วมในส่วนประกอบอื่นของข้อเข่า ไม่สามารถงอเหยียดได้เต็มที่ เกิดอาการเข่าหลวม และข้อเข่าไม่มั่นคง แพทย์มีความเห็นผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็จะต้องเข้ารับการผ่าตัด

 

การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อสร้างเอ็นข้อเข่าเทียม

 

  • แพทย์จะทำการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าโดยการส่องกล้องแบบแผลเจาะรู (Keyhole) เพื่อนำเอาเอ็นจากบริเวณใกล้เคียงหรือบริเวณอื่นๆ มาทำเป็นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าที่มีปัญหา ไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งแปลกปลอม ไม่เป็นอันตรายหรือสร้างผลข้างเคียง ช่วยให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตได้ปกติดังเดิม และผลการรักษามีประสิทธิภาพ

 

 

การดูแลหลังจากการผ่าตัด

 

  • 1  เดือนหลังผ่าตัดให้ใช้ไม้เท้า และสนับเข่า

 

  • 1.5 เดือนหลังผ่าตัด หยุดใช้ไม้เท้าและสนับเข่า

 

  • 3  เดือนหลังผ่าตัด เดินเร็วได้

 

  • 6-9  เดือนหลังผ่าตัด ทำกายภาพบำบัดให้เหมาะสมกับกีฬาแต่ละแบบ

 

  • ประมาณ 1 ปีหลังผ่าตัด สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้

 

 

เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด

 

 

การปฐมพยาบาลเอ็นไขว้หน้าเข่าขาดในเบื้องต้น

 

  • ให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ อย่าขยับ

 

  • ประคบเย็นให้เร็วที่สุด

 

  • ลองขยับเข่า งอเข่า เหยียดเข่า และค่อยๆ ลงน้ำหนัก

 

  • หากเข่ามีอาการบวม รีบนำส่งพยาบาล

 

  • หากมีอาการปวดเข่ารุนแรงมาก ไม่สามารถขยับได้ และข้อเข่าผิดรูป ควรให้ผู้ป่วยนอนเฉยๆ แล้วดามด้วยไม้ หรืออุปกรณ์อื่นๆ  หลังจากนั้นก็พันผ้ายึดให้แข็งแรงก่อนนำส่งโรงพยาบาล

 

 

เอ็นไขว้หน้าเข่าขาดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากมีอาการจากการได้รับบาดเจ็บ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี และไม่ควรปล่อยปละละเลยเป็นอันขาด ทั้งนี้ในปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้อง สามารถทำให้ผู้ป่วย เจ็บน้อย พักฟื้นไว กลับมาเล่นกีฬา หรือดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพข้อเข่าเสื่อม

 

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement)