โรคสมองอักเสบจากภาวะแพ้ภูมิต้านทานต่อตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ (Anti-NMDAR Encephalitis) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน (Autoimmune Encephalitis) คือ โรคที่เนื้อสมอง หรือเยื่อหุ้มสมองมีการอักเสบ โดยร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานบางส่วนผิดปกติ จนเกิดการทำลายของสมอง ผู้ป่วยมักจะมีลักษณะอาการคล้ายโดนผีเข้าสิง เหมือนกับผู้ป่วยจิตเวช หากไม่ทำการรักษาให้ทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันเอ็นเอ็มดีเอ เกิดจากการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยเนื้องอก และจะมีตัวรับเอ็นเอ็มดีเอที่อยู่บนเซลล์ในเนื้องอก เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตรวจเจอเนื้องอกจึงสร้างแอนติบอดีขึ้นมาทำลาย แต่โปรตีนชนิดตัวรับเอ็นเอ็มดีเอจะอยู่ที่บริเวณเซลล์สมอง แอนติบอดีจึงไปจับกับตัวรับเอ็นเอ็มดีเอในสมอง และทำลายเซลล์สมอง โดยเนื้องอกนั้นมักจะเกิดที่รังไข่ ปอด เต้านม และอัณฑะ และสามารถพบผู้ป่วยโรคนี้ได้จากภาวการณ์อักเสบภายหลังการติดเชื้อสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
อาการโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน
ในระยะแรกจะมีอาการคล้ายโรคไข้หวัด ได้แก่
ในระยะต่อมาจะมีอาการทางประสาท ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวให้เป็นปกติ ได้แก่
ในระยะต่อมาจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น
ขั้นต้นแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย และตรวจร่างกาย ได้แก่
รวมทั้งการวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการใกล้เคียงกัน เช่น โรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส โรคซึมเศร้า หรือโรคจิตเภท
การรักษาโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน
ผู้ป่วยโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันสามารถพบได้ทุกเพศ และทุกช่วงวัย แต่มักจะพบในเพศหญิงอายุน้อย และในวัยเจริญพันธุ์ ทั้งนี้ไม่ใช่มนุษย์เพียงเท่านั้น มีการค้นพบว่าหมีขั้วโลกที่มีชื่อว่า Knut ใน Berlin Zoological Garden ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันเอ็นเอ็มดีเอ หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว ประมาณ 4 ปี พบโรคนี้ครั้งแรกในสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์เป็นครั้งแรก
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI