ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็เสี่ยงเป็นได้
ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็เสี่ยงเป็นได้

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย Bacterial Vaginosis คือ การอักเสบของช่องคลอด อันเกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด โดยแบคทีเรียชนิดแลคโตบาซิลไล  (Latobacilli) มีปริมาณลดลง จำนวนแบคทีเรียที่แอนแอโรบส์ (Anaerobes) มีมากขึ้น ช่องคลอดจึงเกิดการอักเสบในที่สุด ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกวัย แม้ว่าในผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน

 

 

สาเหตุช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

 

พฤติกรรมต่างๆที่ทำให้ช่องคลอดเกิดความไม่สมดุลกัน จนเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย  ได้แก่

      

  • การสวนล้างช่องคลอด

      

  • การใส่ห่วงคุมกำเนิด

      

  • การตั้งครรภ์

      

  • การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนครั้งละหลายคน

      

  • การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ

      

  • ไม่ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์

 

 

อาการช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

      

  • อาการตกขาวผิดปกติ เช่น เป็นสีส้ม สีเขียว เป็นฟอง

      

  • มีกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ร่วมกับอาการตกขาว อาจมีอาการไข้ขึ้นร่วมด้วย

      

  • ระคายเคืองบริเวณช่องคลอด

      

  • รู้สึกว่ามีอาการแสบร้อนในขณะปัสสาวะ

      

  • ใช้ยารักษาช่องคลอดติดเชื้อรา แต่รักษาไม่หาย

 

 

การวินิจฉัยช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

 

ในขั้นต้นแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย หลังจากนั้นก็จะทำการตรวจดังนี้

 

การตรวจภายในช่องคลอด

      

  • แพทย์จะสังเกตบริเวณช่องคลอด ถึงการตกขาว และกลิ่นไม่พึงประสงค์ และใช้เครื่องมือ ตรวจดูภายในช่องคลอด เพื่อตรวจดูอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน และการติดเชื้อภายใน

 

การตรวจการตกขาว

      

  • แพทย์จะนำตัวอย่างตกขาวของผู้ป่วย มาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

 

การตรวจสอบความเป็นกรดในช่องคลอดด้วยการวัดค่า pH

      

  • หากระดับค่า pH ของผู้ป่วยอยู่ที่ 4.5 ขึ้นไป มีความเสี่ยงในการที่ช่องคลอดติดเชื้อแบคทีเรีย

 

 

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย กับเชื้อราในช่องคลอด แตกต่าง และเหมือนกันอย่างไร

 

  • การติดเชื้อราในช่องคลอดนั้น จะมีอาการระคายเคือง แสบ คัน บริเวณช่องคลอด มีการตกขาวออกเป็นสีขาวข้น แต่ไม่มีกลิ่น ระดับค่า pH ของผู้ป่วยต่ำกว่า 4.5 สามารถรักษาได้ด้วยยาสอดช่องคลอด

 

  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ร่วมกับการตกขาว ผู้ป่วยจะมีค่า pH อยู่ที่ 4.5 ขึ้นไป

 

  • ภาวะทั้งสองนี้เหมือนกันตรงที่พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิด คือการสวนล้างช่องคลอดด้วยกันทั้งคู่

 

 

การรักษาช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

 

การรับประทานยาปฏิชีวนะ

 

  • ยาเมโทรนิดาโซล เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาการปวดท้อง ต้องงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างใช้ยานี้

      

  • ยาคลินดามัยซิน

      

  • ยาทินิดาโซล งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างใช้ยานี้

 

ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการใช้ยายาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะอาจจะเกิดการดื้อยาได้ ทั้งนี้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรรักษาช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียด้วยการใช้ยายาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ เพราะอาจส่งผลข้างเคียงเกิดภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ ควรพบสูตินรีเวช เพื่อทำการรักษาด้วยวิธีอื่น

 

 

ช่องคลอดอักเสบ

 

 

การป้องกันช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

      

  • หลีกเลี่ยงการล้างช่องคลอด หรือการใช้น้ำยาล้างทำความสะอาด

      

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าอนามัยตลอดเวลา รวมทั้งการสวมชุดชั้นในที่รัดตึง

      

  • ทำความสะอาดร่างกาย รวมทั้งเครื่องแต่งกาย เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นโดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด

      

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หากมีความจำเป็นควรใช้ถุงยางอนามัย

      

  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ หรือมีอาการตกขาว ควรมาพบแพทย์ และไม่ควรใช้ยามารักษาด้วยตนเอง

      

  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่หากมีอาการของภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

 

 

ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ใช่โรคทางเพศสัมพันธ์ แต่ถ้ามีอาการของภาวะนี้แล้วไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น จะทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์สูงมาก เช่น โรคเอดส์ หรือโรคซิฟิลิส อีกทั้งภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนี้ เมื่อรักษาหายแล้วแต่ถ้าละเลยในการดูแลช่องคลอดมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพสตรี