ภาวะท้องลม โครโมโซมที่ผิดปกติ
ภาวะท้องลม โครโมโซมที่ผิดปกติ

ภาวะท้องลม (Blighted ovum) หรือไข่ฝ่อ คือการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติชนิดหนึ่ง ที่ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนถึงครบกำหนดคลอด หรือการแท้ง ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์เมื่อไข่ผสมกับอสุจิกันจนเกิดตัวอ่อนขึ้น เกิดการฝังตัวในโพรงมดลูก แต่ไม่มีทารกในถุงการตั้งครรภ์ (Pregnancy Sac) มักจะเกิดขึ้นจากโครโมโซมที่ผิดปกติของตัวอ่อน ในช่วงเวลาประมาณ 8-13 สัปดาห์ ของการตั้งครรภ์ ซึ่งผู้หญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการเลือดตกออกมาได้

 

 

ท้องลมเกิดจากอะไร

 

ในทางการแพทย์นั้นยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องลงนั้นเกิดจากอะไร แต่สามารถพบได้จาก

          

  • โครโมโซมของตัวอ่อนมีความผิดปกติ

          

  • มดลูก หรือไข่ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่แข็งแรง

           

  • อสุจิของฝ่ายชายไม่แข็งแรง

           

  • ไข่ และอสุจิมีความผิดปกติทางพันธุกรรม

          

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์มีอายุมาก

 

 

อาการของภาวะท้องลม

 

โดยร่างกายจะมีการสร้าง HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนของคนท้อง ผู้ที่ประสบกับภาวะท้องลมนั้นจะมีปริมาณฮอร์โมน HCG ที่น้อย

 

ในระยะแรกจะมีอาการคล้ายผู้ที่ตั้งครรภ์ปกติ

           

  • คลื่นไส้

 

  • เต้านมคัดตึง

 

  • แพ้ท้อง

 

เมื่ออาการเหล่านี้หายไปแล้วจะเกิดอาการ

           

  • ท้องไม่โต

           

  • ปวดท้องน้อย

           

  • มีประจำเดือนมากผิดปกติ

 

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ

 

 

การวินิจฉัยภาวะท้องลม

 

การตรวจอัลตราซาวด์

 

  • เมื่อตั้งครรภ์ได้ 7-8 สัปดาห์ หากอัลตราซาวด์แล้วพบว่าไม่มีทารก พบเพียงถุงการตั้งครรภ์ แพทย์จะสันนิษฐานว่าเกิดภาวะท้องลม

 

  • นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการตรวจเลือด เพื่อหาฮอร์โมนยืนยันการตั้งครรภ์

 

 

การรักษาภาวะท้องลม

 

การรักษาทางด้านร่างกาย

           

  • รอให้แท้งออกมาเอง หากไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ จะมีการแท้งออกมาเองภายใน 2 สัปดาห์หลังตัวอ่อนเสียชีวิตแล้ว

 

  • การใช้ยาเหน็บในช่วงคลอด ได้แก่ ยา Misoprostal  ผู้ที่ใช้ยานี้จะไม่มีอาการเจ็บใดๆ แต่อาจต้องใช้เวลาหลายวัน หากมีการแท้งไม่สมบูรณ์ มีเศษรก หรือเศษถุงการตั้งครรภ์ค้างอยู่

 

  • การขูดมดลูก สามารถทำได้ทุกอายุครรภ์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเลือดออกมาก ปวดท้องมาก หรือมีการแท้งไม่สมบูรณ์ แพทย์จะพิจารณา และทำการขูดมดลูกเอาชิ้นเนื้อในโพรงมดลูกออกมา เพื่อลดอาการแทรกซ้อน อีกทั้งวิธีการรักษานี้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

 

การรักษาทางด้านจิตใจ

 

  • ควรพูดให้กำลังใจผู้ที่เป็นภาวะท้องลม

 

  • ปรึกษาแพทย์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ต่อไป

 

  • หากผู้ที่เป็นภาวะท้องลมมีความเครียด และวิตกกังวลมาก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาคลายความวิตกกังวล 

 

 

ผู้ที่เคยเป็นท้องลม สามารถตั้งครรภ์ได้หรือไม่

 

ผู้ที่เคยเป็นท้องลมมาแล้ว สามารถตั้งครรภ์ได้ในครั้งต่อไป แต่ก็สามารถเกิดภาวะท้องลมได้อีกเช่นกัน หากผู้ที่ประสบกับภาวะท้องลมติดต่อกัน 2-3 ครั้งควรปรึกษาแพทย์

 

 

เมื่อไม่มีทารกในถุงตั้งครรภ์

 

 

การป้องกันภาวะท้องลม

 

  • การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่

 

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

 

  • การตรวจสุขภาพก่อนวางแผนการตั้งครรภ์

 

  • หากรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ควรทำการฝากครรภ์

 

ภาวะท้องลมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ และสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกวัยที่มีการตั้งครรภ์ เพียงแต่ผู้หญิงอายุมากจะมีความเสี่ยงกว่าผู้หญิงในช่วงวัยเจริญพันธุ์ และหากผู้ใดที่ประสบกับภาวะท้องลมขอให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง และสามารถผ่านปัญหานี้ไปได้



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ชาย-หญิง

 

 

โปรแกรมคลอด และฝากครรภ์