มะเร็งเต้านมอาการและระยะอันตราย
อาการและระยะอันตรายของมะเร็งเต้านมคุณรู้หรือยัง

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) ความเสี่ยงอันดับ 1 สำหรับมะเร็งในผู้หญิง ช่วงระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ ก่อนที่จะปรากฏก้อนเนื้อหรือลักษณะผิดปกติของเต้านมหากปล่อยทิ้งไว้อันตรายสูงสุดถึงขั้นเสียชีวิตได้ สามารถตรวจพบเชื้อมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกแม้ไม่มีอาการผ่านเครื่อง Digital Mammogram & Ultrasound หากพบเจอเชื้อมะเร็งจะสามารถทำการรักษาต่อไปได้ตามความเหมาะสม

 

อาการของมะเร็งเต้านม

 

ในระยะแรกของโรคนี้จะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมาทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองมีโรคร้ายนอกจากจะได้รับการตรวจด้วยเครื่อง Mammogram ส่วนอาการที่มักปรากฏเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติที่เต้านมมีดังนี้

 

  • คลำพบก้อนเนื้อที่เต้านม หรือใต้รักแร้
  • ช่วงไม่มีประจำเดือนมีอาการเจ็บบริเวณเต้านม
  • มีของเหลวหรือน้ำเหลืองไหลออกมาจากเต้านม
  • เกิดผื่นคันที่เต้านมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • ลักษณะรูปร่างเต้านมที่เปลี่ยนไปจากเดิม
  • กดที่เต้านมแล้วผิวหนังบุ๋ม

 

ถึงแม้ว่าจะคลำไม่เจอก้อนนั่นไม่ได้หมายความว่าเราปลอดภัยเนื่องจากก้อนมะเร็งเต้านมมีขนาดเล็กใหญ่ตามระยะของมะเร็งทั้ง 4 ระยะโดยจะมีขนาดเล็กสุดอยู่ที่ 1 เซนติเมตรเท่านั้น

 

ระยะของมะเร็งเต้านม

 

  • มะเร็งเต้านมระยะที่ 1 : เชื้อจะยังไม่กระจายโดยก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็กว่า 2 เซนติเมตร
  • มะเร็งเต้านมระยะที่ 2 : เชื้ออาจเริ่มแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ก้อนเนื้อจะมีขนาด 2-5 เซนติเมตร
  • มะเร็งเต้านมระยะที่ 3 : เชื้อจะเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองอย่างมากทำให้เนื้อบริเวณรักแร้ติดกับอวัยวะใกล้เคียง ในระยะนี้ก้อนเนื้อจะมีขนาดมากกว่า 5 เซนติเมตร
  • มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 : เชื้อจะแพร่สู่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น สมอง กระดูก หรือปอด เป็นต้น ระยะนี้ก้อนเนื้อจะมีขนาดได้หลายขนาด

 

 

อาการมะเร็งเต้านม

 

สาเหตุของมะเร็งเต้านม

 

สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งเต้านมนั้นยังไม่ชัดเจน แต่ยังมีความเสี่ยงที่อาจส่งเสริมให้เกิดโรคได้ซึ่งมีทั้งความเสี่ยงที่ควบคุมได้ และความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น

 

  • ความเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ : รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย รวมไปถึงการทำกิจกรรมที่ได้รับรังสีในปริมาณสูง หรือการทานยาคุม เป็นต้น
  • ความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ : อายุที่มากขึ้นพบมากในหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป มีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีคนในครอบครัวเคยเป็น หรือจากการกลายพันธุ์ของยีน เป็นต้น

 

สถิติความอันตรายของมะเร็งเต้านม

 

หากนับเฉพาะมะเร็งในผู้หญิงมะเร็งเต้านมถือเป็นความเสี่ยงเป็นอันดับ 1 โดยในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นประมาณ 20,000 คนต่อปีและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ถึงแม้อัตราการเสียชีวิตในประเทศไทยจะต่ำ แต่หากไม่สามารถตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจะส่งผลร้ายสูงสุดถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน โดยหญิงไทยควรเข้ารับการตรวจตามมาตรฐานที่สมควร

 

  • อายุ 20 ปีขึ้นไปควรตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองเดือนละ 1 ครั้ง
  • อายุ 35-40 ปีควรเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านม 1 ครั้ง
  • อายุ 40 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมปีละ 1 ครั้ง

 

นอกจากนี้หากอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมสามารถเข้ารับการตรวจได้เช่นกันไม่ควรปล่อยไว้ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าหากตรวจพบเชื้อมะเร็งเร็วจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

 

การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมไม่เจ็บมากอย่างที่คิด

 

การตรวจหาเชื้อมะเร็งเต้านมโดยปกติแล้วจะค่อนข้างมีความเจ็บปวดเมื่อเข้ารับการตรวจจากการถูกเครื่อง Mammogram บีบหน้าอก แต่สำหรับการตรวจที่โรงพยาบาลเพชรเวชด้วยเครื่อง Digital Mammogram & Ultrasound ที่มีแผ่นรองรับตามลักษณะของเต้านมทำให้เจ็บน้อยลงพร้อมด้วยประสิทธิภาพของการหาเชื้อมะเร็งเต้านมชั้นนำระดับประเทศ

 

รักษามะเร็งเต้านมได้อย่างไรบ้าง

 

หากได้รับการวินิจฉัยและทราบระยะของเชื้อมะเร็งแล้วจะสามารถทำการรักษาต่อไปซึ่งมีอยู่หลายวิธีทั้งการผ่าตัด การใช้ยาต้านฮอร์โมน การฉายรังสี และการใช้เคมีบำบัดโดยการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจจากแพทย์ และปัจจัยด้านอื่น ๆ ของผู้ป่วยด้วย สำหรับรายละเอียดการรักษาสามารถอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้

 

  • รักษาด้วยการผ่าตัด : มีอยู่หลายรูปแบบทั้งการผ่าตัดเต้านมออก ผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และการผ่าตัดเสริมหน้าอกหลังการรักษามะเร็งเต้านม
  • รักษาด้วยเคมีบำบัด : เป็นการใช้ยาที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งหรือทำลายเชื้อมะเร็งเพื่อหยุดการแพร่กระจายและอาจมีผลข้างเคียงจากการรับยาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดยาและร่างกายของผู้ป่วย
  • รักษาด้วยการฉายรังสี : เป็นการใช้รังสีเพื่อยับยั้งและทำลายเซลล์มะเร็งโดยต้องทำการฉายรังสีอย่างต่อเนื่องตามกำหนดการ นอกจากนี้ยังสามารถใช้รักษาร่วมกับวิธีผ่าตัดเต้านมได้ด้วย
  • รักษาด้วยการใช้ยาต้านฮอร์โมน : การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องผ่านการวินิจฉัยลักษณะของเชื้อก่อนหากสอดคล้องกับฮอร์โมนจะสามารถใช้ยาประเภทนี้รักษาได้ โดยต้องทานยาต่อเนื่อง 5-10 ปี

 

การป้องกันมะเร็งเต้านม

 

การป้องกันไม่สามารถทำได้ 100 % เนื่องจากปัจจัยความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ ผู้หญิงไทยจึงควรป้องกันตนเองเท่าที่ทำได้ผ่านการดูแลสุขภาพหมั่นออกกำลังกาย และเข้าตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง Mammogram ตามกำหนดอย่างเหมาะสม

 

ความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ต้องสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง หากปล่อยให้ตนเองเป็นโรคมะเร็งในระยะท้ายจะยิ่งรักษาได้ยากขึ้น

 

แพคเกจที่เกี่ยวข้อง