หินปูนในเต้านม คือ หินปูนที่เกิดจากการสะสมเซลล์ที่ตายแล้ว จากการผลิตน้ำนมในบริเวณต่อมน้ำนม ซึ่งน้ำนมนั้นจะมีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ สามารถแบ่งหินปูนในเต้านมได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ หินปูนในเต้านมชนิดที่ไม่อันตราย และหินปูนในเต้านมที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ดังนั้นผู้หญิงที่ต้องการทราบว่าตนเองมีหินปูนในเต้านม จะต้องทำการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) เท่านั้น เพราะสามารถสังเกตอาการจากภายนอกด้วยตนเองได้
ลักษณะของหินปูนในเต้านมชนิดที่ไม่อันตราย
ลักษณะของหินปูนในเต้านมที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
นอกจากนี้หินปูนในเต้านมที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมยังสามารถเกิดการกระจายตัวได้เป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่
เนื้องอกในเต้านมนั้น สามารถคลำพบได้จากภายนอก มี 2 ชนิด คือเนื้องอกปกติ และเนื้องอกที่เป็นมะเร็งเต้านม
ซีสต์ หรือถุงน้ำในเต้านมนั้นสามารถคลำพบได้จากภายนอก ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง สามารถหายได้เองตามธรรมชาติ นอกจากจะมีขนาดใหญ่ ร่วมกับมีอาการเจ็บ จะต้องให้แพทย์ทำการเจาะน้ำในถุงออก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
ทั้งสองอย่างนี้จะแตกต่างหินปูนในเต้านม ที่จะต้องเครื่องแมมโมแกรมในการตรวจเท่านั้น ไม่สามารถสังเกตอาการได้จากภายนอก
การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram)
แพทย์จะสามารถเห็นลักษณะที่แตกต่างของเนื้อเยื่อแต่ล่ะชนิดของผู้ป่วย ได้แก่
ลักษณะดังกล่าวที่พบจากเครื่องแมมโมแกรมในข้างต้น รวมทั้งลักษณะของหินปูน และการกระจายตัวของหินปูน องค์ประกอบเหล่านี้แพทย์จะนำมาวินิจฉัยในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
การเจาะชิ้นเนื้อ
โดยใช้เครื่อง Stereotactic unit เป็นเครื่องมือทางรังสีวิทยา ใช้ทำการเจาะหินปูนที่เต้านมโดยเฉพาะ โดยขั้นตอนเจาะชิ้นเนื้อมีดังนี้
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรมาทำการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องแมมโมแกรม รวมทั้งคุณผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยง หากตรวจพบหินปูนในเต้านมที่เป็นมะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้น จะช่วยทำให้การรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram with Ultrasound)