โครเมียม แร่ธาตุที่มีประโยชน์ และอันตรายจากการสูดดม
โครเมียม แร่ธาตุที่มีประโยชน์ และอันตรายจากการสูดดม

โครเมียม (Chromium) คือ แร่ธาตุโลหะหนักชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ และสำคัญต่อร่างกาย แต่ถ้าหากได้รับมากจนเกินไป โดยเฉพาะจากการสูดดม หรือการรับประทานก็สามารถเป็นอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยโครเมียมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามแหล่งที่เกิดขึ้นได้แก่ Trivalent Chromium และ Hexavalent Chromium

 

 

ประโยชน์ของโครเมียม

 

สามารถได้ประโยชน์จากการรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุโครเมียม ประเภท Trivalent Chromium ได้ดังนี้

           

  • ช่วยปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

           

  • สามารถลดความดันโลหิตสูงได้

           

  • มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย

          

  • มีส่วนช่วยในการทำงานของโปรตีนในร่างกาย

           

  • ป้องกันโรคที่เกี่ยวกับกระดูก

           

  • สามารถลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย

           

  • ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ

           

  • ช่วยในการเผาผลาญไขมัน

           

  • ป้องกันภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง

 

 

อันตรายจากโครเมียม

 

สารพิษที่เป็นอันตรายจากแร่ธาตุโครเมียมชนิด Hexavalent Chromium แบ่งเป็น แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังจาก รูปแบบดังนี้

 

อันตรายของโครเมียมจากการรับประทาน จะทำให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลัน ดังนี้

           

  • ระบบทางเดินอาหารอักเสบเฉียบพลัน

           

  • เลือดออกในทางเดินอาหาร

           

  • ภาวะขาดน้ำ

           

  • โลหิตจาง

           

  • ไตวาย

           

  • เลือดแข็งตัวผิดปกติอย่างรุนแรง

           

  • อาการช็อก

           

  • เสียชีวิต

 

อันตรายของโครเมียมจากการสูดดม จะทำให้เกิดอันตรายแบบเรื้อรัง ดังนี้

           

  • การระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ

          

  • โรคจมูกอักเสบ

          

  •  โรคปอด เช่น โรคมะเร็งปอด

 

 

แหล่งอาหารที่มีส่วนประกอบของโครเมียม

           

  • น้ำมันข้าวโพด

           

  • จมูกข้าวสาลี

           

  • เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี

           

  • เห็ด

           

  • ไข่แดง

           

  • เนยแข็ง

           

  • เนื้อไก่

           

  • หอยกาบ

           

  • ตับลูกวัว

           

 

ปริมาณโครเมียมที่ควรได้รับ

          

  • เพศชาย อายุระหว่าง 19-50 ปี ควรได้รับ 35 ไมโครกรัมต่อวัน

           

  • เพศหญิง อายุระหว่าง 19-50 ปี ควรได้รับ 25 ไมโครกรัมต่อวัน

          

  • เพศชาย อายุ 50 ปีขึ้น ควรได้รับ 30 ไมโครกรัมต่อวัน

           

  • เพศหญิง อายุ 50 ปีขึ้น ควรได้รับ 20 ไมโครกรัมต่อวัน

 

 

โครเมียม

 

 

การป้องกันอันตรายจากโครเมียม

           

  • สวมหน้ากากอนามัย

           

  • สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด

           

  • ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากการทำงาน

           

  • หากเสื้อผ้าที่เปื้อนโครเมียม ควรแยกซักกับเสื้อผ้าปกติ

           

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือเข้าไปในบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งของโครเมียม

           

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำปี

 

 

แม้ว่าโครเมียมจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ประโยชน์ของมันนอกที่ได้จากการรับประทานอาหารแล้ว ยังสามารถใช้โครเมียมเป็นส่วนประกอบของรถยนต์ การผลิตสี การย้อมผ้า และการทำเครื่องประดับต่างๆ อีกทั้งหากร่างกายสารโครเมียม จะส่งผลให้การทำงานของอินซูลินมีปัญหา ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ดังนั้นควรได้รับโครเมียมที่ถูกประเภท และปริมาณอย่างเหมาะสม

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพปอด

 

 

รวมตรวจสุขภาพประจำปี