มะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากการขับถ่าย
มะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากการขับถ่าย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คือ การเกิดก้อนเนื้อร้ายในท่อลำไส้ จากติ่งเนื้อเล็กๆ จนเกิดการตีบ ส่งผลให้เกิดผลกระทบกับระบบขับถ่าย ซึ่งสังเกตจากอุจจาระที่มีขนาดเล็กลง หรือเหลวมากผิดปกติ อาจจะมีมูกเลือดปนออกมาด้วย ผู้ป่วยบางรายมีภาวะซีด เพราะเสียเลือดในขณะถ่ายหนักแบบเรื้อรัง แต่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ ดังนั้นต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วย

 

 

สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ยังหาสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่มีปัจจัยความเสี่ยงของโรคนี้ ได้แก่

 

  • กรรมพันธุ์ จากการกลายพันธุ์ของยีน ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานของเซลล์ จนกลายเป็นเนื้อร้าย และถ่ายทอดสู่รุ่นต่อไป

 

  • ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

 

  • โรคหรือภาวะที่ทำให้ลำไส้เกิดการอักเสบ เช่น ลำไส้อักเสบ

 

  • รวมทั้งการเกิดเนื้องอกในบริเวณนั้น

 

  • การรับประทานอาหารไขมันสูง กากใย และไฟเบอร์ต่ำ เนื้อสัตว์ปิ้ง ย่าง ผัก ผลไม้ที่ไม่สะอาด

 

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

 

  • ไม่ค่อยออกกำลังกาย

 

  • ผู้ป่วยโรคอ้วน เบาหวาน มะเร็งเต้านม และเนื้อร้ายที่เกิดในทางนรีเวช

 

  • ผู้ที่ได้รับการรักษามะเร็งด้วยวิธีฉายแสงในช่องท้อง

 

 

อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

  • คลำพบก้อนแข็งที่นูนออกมาบริเวณท้องน้อยด้านขวา

 

  • ปวดท้อง

 

  • ท้องอืด

 

  • ท้องผูก

 

  • อาเจียน

 

  • มีความรู้สึกขับถ่ายไม่สุด

 

  • อ่อนเพลีย

 

  • ไม่มีแรง

 

  • เหนื่อยง่าย

 

  • เบื่ออาหาร

 

  • น้ำหนักลดลงผิดปกติ

 

 

การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

ขั้นแรกแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย ในเรื่องของอาการ และระยะเวลาที่เกิดการผิดปกติ รวมทั้งการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว หลังจากนั้นจะทำการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

 

  • การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือด และสิ่งผิดปกติที่ปนออกมา

 

  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เก็บชิ้นเนื้อบางส่วนไปวิเคราะห์

 

  • การเอกซเรย์ตรวจสวนแป้งลำไส้ใหญ่ (Barium Enema)

 

  • การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ (CT-Colonography)

 

 

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

 

ประคับประคองผู้ป่วย

 

  • เพื่อบรรเทาความเจ็บ ปวด และอาการรุนแรงที่อาจจะเพิ่มขึ้น

 

เคมีบำบัด (Chemotherapy)

 

  • เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเซลล์มะเร็ง

 

การฉายรังสี (Radiation Therapy)

 

  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยในระยะแรกๆ เพื่อลดขนาดของก้อนเนื้อ และกำจัดเซลล์มะเร็งหลังผ่าตัด

 

การผ่าตัด

 

  • ผู้ป่วยในระยะแรกที่ขนาดก้อนเนื้อยังไม่ใหญ่มาก แพทย์จะผ่าตัดโดยการส่องกล้อง

 

  • หากมีการลุกลาม หรือขยายตัวของมะเร็ง แพทย์ต้องผ่าตัดออก และเย็บลําไส้ส่วนที่เหลือให้เข้ากัน แต่ถ้าไม่สามารถเย็บได้ จะต้องเอาลำไส้ใหญ่ออกทางหน้าท้องชั่วคราว เพื่อต่อกับถุงสำหรับเก็บกากอาหาร ทั้งนี้ผู้ป่วยบางรายอาจผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบถาวร

 

 

ลำไส้ใหญ่

 

 

การป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 50 ปี

 

  • เพิ่มปริมาณการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช และปลาให้มากขึ้น

 

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 30 นาที

 

  • ผ่อนคลายความเครียดให้ถูกลักษณะ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง และนั่งสมาธิ เป็นต้น

 

  • ควบคุมน้ำหนักตัวอย่างถูกวิธี

 

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งการสูบบุหรี่

 

 

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ พอกับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย อีกทั้งความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยๆ ก็มีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นไม่ควรละเลยต่อสุขภาพ หากพบเนื้อร้ายจากการตรวจคัดกรองโรค สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่ควรปล่อยไว้ ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ ก่อนที่จะได้รับผลกระทบที่ไม่คุ้มค่า



 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้