ไซยาไนด์ สารพิษที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้
ไซยาไนด์ สารพิษที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้

ไซยาไนด์ (Cyanide) คือ สารประกอบที่มีพิษสูงจากคาร์บอนและอะตอมไนโตรเจน อย่างละ 1 อะตอม หากเข้าสู่ร่างกาย จะไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ โดยเฉพาะบริเวณตรงสมองหรือหัวใจและหลอดเลือดที่ขาดออกซิเจน จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอันตรายรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณ ระยะเวลาที่ได้รับ จึงมีผู้นำสารนี้มาทำอัตวินิบาตกรรม รวมทั้งก่ออาชญากรรมกันทั้งในไทยและต่างประเทศ ทั้งที่จริงแล้วมันมีประโยชน์ อีกทั้งเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าที่คาดคิดไว้

 

 

ไซยาไนด์มาจากไหน

 

แหล่งธรรมชาติ มีความเข้มข้นน้อย ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

 

พบได้ในพืชบางชนิด เช่น

 

  • หน่อไม้

 

  • มันสำปะหลัง

 

  • ข้าวโพด

 

  • ต้นไผ่

 

  • ฝ้าย

 

  • อัลมอนด์

 

ย่อยสลายสัตว์จำพวกแมลง ได้แก่

 

  • กิ้งกือ

 

  • ตะขาบ

 

  • ผีเสื้อ

 

กิจกรรมของมนุษย์และในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

 

  • เผาไหม้ทำการเกษตร

 

  • ควันรถ

 

  • สูบบุหรี่

 

  • สีทาบ้าน

 

  • กาแฟ

 

  • เกลือ

 

การสังเคราะห์นำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

 

ไซยาไนด์และไฮโดรเจน มีพิษสูงแบบเฉียบพลัน แต่ไม่ใช่สารก่อมะเร็ง มักจะอยู่ในสายการผลิต ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ทองคำ

 

  • เหล็ก

 

  • พลาสติก

 

  • เครื่องสำอาง

 

  • ยารักษาโรค

 

 

ซากแมลง

 

 

อาการพิษไซยาไนด์

 

  • วิงเวียนศีรษะ

 

  • ใจสั่น

 

  • หน้าแดง

 

  • คลื่นไส้ อาเจียน

 

  • ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์เข้าสู่กระแสเลือด

 

  • เป็นผื่น แผลที่ผิวหนัง

 

  • ประสาทตาถูกทำลาย สามารถตาบอดได้

 

  • หมดสติ

 

  • ชัก

 

  • ความดันโลหิตต่ำ

 

  • หัวใจหยุดเต้น

 

พิษแบบเรื้อรัง คือ ได้รับปริมาณไม่เข้มข้นแต่ระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดคอพอก และปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์

 

 

หัวใจหยุดเต้น

 

 

การรักษาพิษไซยาไนด์

 

เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปในที่อากาศถ่ายเทสะดวก หากมีสติต้องทำให้อาเจียนและเพิ่มออกซิเจน สำหรับผู้ที่หมดสติต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ทำ CPR แต่ไม่ใช่การเป่าปาก เรียกรถฉุกเฉินหรือส่งโรงพยาบาลด่วนที่สุด

 

การใช้ยา

 

  • ในกลุ่มสร้างเมทฮีโมโกลบิน เพื่อให้หลอดเลือดขยายตัว ร่างกายใช้ออกซิเจนได้ เช่น Sodium Nitrite และ Sodium Thiosulfate

 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มยาสารประกอบอื่น ๆ ที่ใช้ตามความเห็นของแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • โคบอลต์

 

  • ซัลเฟอร์

 

  • ไซยาโนไฮดริน

 

แบบประคับประคองอาการ

 

  • เฝ้าระมัดระวังภาวะหัวใจล้มเหลว เลือดเป็นกรด โดยให้สารน้ำ หรือยากันชัก เป็นต้น

 

 

CPR

 

 

การป้องกันพิษไซยาไนด์

 

  • เก็บใส่บรรจุภัณฑ์ในที่แห้ง ปิดสนิท อากาศถ่ายเทสะดวก ติดป้ายเตือนว่าเป็นสารอันตราย

 

  • มีอุปกรณ์ป้องกันในการขนย้าย

 

  • ใช้สารเคมีดับเพลิงที่ไม่ทำปฏิกิริยากับไซยาไนด์

 

  • ฝึกอบรมและซักซ้อมเหตุฉุกเฉินที่เกิดจากพิษสารนี้

 

 

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไซยาไนด์ถูกใช้เป็นอาวุธทางเคมี ต่อมาในประเทศสหรัฐอเมริกานำไปประหารชีวิตนักโทษด้วยการฉีดเข้าสู่ร่างกาย ผลกระทบเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับร่างกายมนุษย์เท่านั้น สัตว์และสิ่งแวดล้อมก็ได้รับไปด้วย โดยเฉพาะสัตว์ในน้ำ นก จะมีความไวต่อไซยาไนด์มาก รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จะมีอาการน้ำลายไหล ชัก กล้ามเนื้อกระตุก