ไม่รับประทานอาหารเช้า ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย
ไม่รับประทานอาหารเช้า ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

ด้วยสภาวะที่เร่งรีบในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมืองหลวง หรือจังหวัดใหญ่ๆ ทั้งผู้ใหญ่วัยทำงาน และนักเรียน นักศึกษา มักจะไม่รับประทานอาหารเช้า อาจจะบริโภคเครื่องดื่มในปริมาณเล็กน้อย เช่น กาแฟ หรือน้ำหวาน 1 แก้ว เพื่อที่จะไปออฟฟิศ สถานศึกษาให้ทันเวลา หลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย อีกทั้งการรับประทานอาหารเพื่อชดเชยในมื้อถัดไป ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะมีความเสี่ยงต่อน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือภาวะอ้วนได้

 

 

ทำไมต้องรับประทานอาหารเช้า

 

ร่างกายของมนุษย์ในเวลานอนหลับ จะมีไกลโครเจน  ที่อยู่ในบริเวณตับ และกล้ามเนื้อ คอยทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในโลหิตไม่ให้ต่ำลงผิดปกติ ดังนั้นเมื่อตื่นขึ้นมาทำกิจวัตรส่วนบุคคลในช่วงเวลาเช้าแล้ว ควรรับประทานอาหาร เพื่อเพิ่มพลังงาน หากไกลโครเจน ถูกใช้ไปจนหมด ร่างกายจะนำกรดไขมันมาเป็นพลังงาน ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เกิดการอ่อนเพลีย อ่อนล้า การรับรู้ หรือทำงานต่างๆ ได้ไม่เต็มที่

 

 

การรับประทานอาหารเช้ามีประโยชน์อย่างไร

 

  • กระตุ้นสมอง

 

  • ช่วยให้มีสมาธิที่ดี

 

  • การจดจำดีขึ้น

 

  • สามารถควบคุมน้ำหนัก รวมทั้งความหิว

 

  • ร่างกายสดชื่น

 

  • ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น หัวใจ เบาหวาน โรคสมองเสื่อม

 

 

ผลเสียจากการไม่รับประทานอาหารเช้า

 

ภาวะผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ จิตใจ และบุคลิกภาพ ได้แก่

 

  • อัตราการเผาผลาญลดลง

 

  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำไปเลี้ยงสมองไม่พอ

 

  • การทำงานของสมองไม่มีประสิทธิภาพ

 

  • สารอาหารไม่เพียงพอ

 

  • ไขมันในเลือดสูง

 

  • การเจริญเติบโตไม่เต็มที่

 

  • มีกลิ่นปาก

 

  • หงุดหงิดง่าย

 

ความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ

 

  • โรคเส้นเลือดในสมอง

 

  • โรคหัวใจ

 

  • เบาหวาน

 

  • อัลไซเมอร์

 

  • อัมพฤกษ์ อัมพาต

 

  • ความดันในโลหิตสูง

 

 

 ประสิทธิภาพของระบบต่างๆ-ลดลง

 

 

เช้านี้ รับประทานอะไรดี

 

ปริมาณแคลอรีอาหารมื้อเช้า สำหรับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย ควรอยู่ที่ 400-450 กิโลแคลอรี ผ่านกรรมวิธีที่ปรุงสุก สด สะอาด ให้คุณประโยชน์จากสารอาหารที่หลากหลาย โดยมีเมนูแนะนำ เช่น

 

  • โจ๊ก

 

  • ข้าวต้ม

 

  • ข้าวไข่เจียว

 

  • ข้าวผัดอเมริกัน

 

  • สลัดทูน่า หรือไก่

 

  • แซนด์วิชปลา

 

  • ขนมปังธัญพืช

 

  • ซีเรียล

 

  • นมจืด

 

ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม ไขมัน หรือน้ำตาลสูง รวมทั้งการปิ้ง ย่าง โดยไม่ผ่านภาชนะ

 

  • หมูปิ้งติดมัน

 

  • ตับย่างแบบไหม้เกรียม

 

  • ไก่ทอด

 

  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

 

  • พิซซ่า

 

  • เบคอน

 

  • ข้าวกล่องที่ผ่านไมโครเวฟ ตามร้านสะดวกซื้อ

 

  • ปลากระป๋อง

 

  • เค้ก

 

  • ไอศกรีม

 

  • น้ำผลไม้บรรจุขวดที่มีการใส่สี แต่งกลิ่น

 

  • น้ำอัดลม

 

 

อย่างที่ทราบกันว่ามื้อเช้าเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นควรปรับเวลาตื่นนอนให้เหมาะสม เพื่อมาจัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายปลอดภัยจากโรค หรือภาวะผิดปกติต่างๆ อีกทั้งควรเลือกวัตถุดิบให้ถูกตามหลักโภชนาการ รับประทานอย่างไม่เร่งรีบ ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงภาชนะที่ใช้ควรมีความสะอาด ขนาดพอดีกับอาหาร