แพ้ยา ทราบได้จากอาการทางผิวหนัง
แพ้ยา ทราบได้จากอาการทางผิวหนัง

แพ้ยา คือ ปฏิกิริยาการต่อต้านของภูมิคุ้มกันในร่างกาย เมื่อได้รับการใช้ยา ไม่ว่าจะเป็น ยาทา ยารับประทาน และยาดม อาการแพ้ยา สามารถทราบได้จากอาการทางผิวหนัง และแบ่งความรุนแรงได้เป็น 2 ระยะของกลุ่มอาการ สามารถเป็นอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหลังการใช้ยาแล้วมีอาการผิดปกติ ควรหยุดการใช้ยา และทำการพบแพทย์โดยทันที

 

 

อาการแพ้ยา

 

อาการแพ้ยาสามารถแบ่งออกเป็น  2  กลุ่มอาการใหญ่ ๆ

 

1. กลุ่มที่มีอาการแพ้ยาไม่รุนแรง

      

  • อาการคันตามร่างกาย และคันบริเวณดวงตา

      

  • บวม

     

  • ผื่นขึ้น

      

  • ลมพิษ

      

  • เป็นไข้

      

  • น้ำมูกไหล

 

2. กลุ่มที่มีอาการแพ้ยารุนแรง

      

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  •       
  • ปวดท้อง

      

  • ท้องเสีย

      

  • ความดันโลหิตต่ำ

      

  • ชีพจรเต้นเร็ว หรือลดลงผิดปกติ

      

  • วิงเวียนศีรษะ

      

  • หลอดลมหดตัว หายใจลำบาก

      

  • ปาก และลิ้นบวมจนไปปิดกั้นทางเดินหายใจ

      

  • เกิดการอักเสบของอวัยวะภายใน เช่นตับอักเสบ ไตอักเสบ

      

  • เกิดการชัก

      

  • สูญเสียการรับรู้

 

 

ชนิดยาที่มักจะทำให้เกิดการแพ้ยา

      

  • เพนิซิลลิน (Penicillin) ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อต่อต้านการอักเสบ

      

  • อินซูลิน (Insulin) ยารักษาโรคเบาหวาน

      

  • แอสไพริน (Aspirin) ยาลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs

      

  • ยารักษาโรคแพ้ภูมิตนเอง

      

  • ครีม และโลชั่นคอร์ติโคเสตียรอยด์ (Corticosteroid)

      

  • ยารักษาโรคเก๊าท์ เช่น อัลโลพูรินอล (Allopurinol)

      

  • ยาต้านอาการชัก เช่น คาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) และลาโมไตรจีน (Lamotrigine)

      

  • ยารักษาวัณโรค

      

  • ยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

      

  • ยารักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวี

 

 

บุคคลที่มีความเสี่ยงเกิดการแพ้ยา

      

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ

      

  • ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

      

  • ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE)

      

  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี

 

 

เมื่อมีอาการแพ้ยา ควรทำอย่างไร

      

  • หยุดการใช้ยาโดยทันที

      

  • เตรียมยาที่ใช้แล้วคาดว่าจะมีอาการแพ้ เพื่อให้แพทย์พิจารณา

      

  • จดจำอาการแพ้ หรือบันทึกภาพถ่ายไว้ เพื่อให้แพทย์พิจารณา

      

  • รีบมาทำการพบแพทย์ทันที

      

  • ไม่ควรซื้อยาแก้แพ้มาใช้เอง

 

 

แพ้ยา

 

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่มีประวัติแพ้ยา

      

  • พกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้ตลอด พร้อมทั้งจำชื่อยาที่แพ้ให้ได้อย่างแม่นยำ

      

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มเดียวกับยาชนิดที่แพ้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้

      

  • หากมาใช้บริการสถานพยาบาล หรือคลินิก ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่ามีการแพ้ยา รวมทั้งประวัติการรักษา

 

 

สามารถสังเกตอาการแพ้ยาได้จากการที่ได้รับยาแล้วเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือ 2-3 วัน แล้วมีอาการผิดปกติตามผิวหนัง  อาการแพ้ยานั้นไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม รวมทั้งไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ นอกจากยาบางชนิดที่แพทย์วินิจฉัยความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ได้จากการตรวจเลือด ดังนั้นเมื่อแพทย์ถามถึงประวัติการแพ้ยา ควรตอบว่าไม่ทราบ แพทย์จะระมัดระวังการให้ยา มากกว่าผู้ป่วยที่บอกว่าไม่เคยแพ้ยา