กล้ามเนื้อบิดเกร็ง ความเสี่ยงผิดปกติจากโรคระบบประสาท
กล้ามเนื้อบิดเกร็ง ความเสี่ยงผิดปกติจากโรคระบบประสาท

กล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) คือ ภาวะกล้ามเนื้อบีบรัดผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ ทำให้อวัยวะบางแห่ง หรือหลายที่ มีการกระตุก เคลื่อนตัวช้าแบบซ้ำ ๆ ซึ่งกล้ามเนื้อมัดนั้นอาจบิดรูปได้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาท มักจะเกิดบริเวณตรงคอ มือ ขา ดวงตาส่วนบน ลิ้น กล่องเสียง เป็นต้น ในเวลาเครียด กังวล ระหว่างเขียนหนังสือ เล่นดนตรี

 

 

กล้ามเนื้อบิดเกร็งเกิดจากอะไร

 

ปัจจุบันทั้งทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ยังหาสาเหตุในการเกิดภาวะนี้ไม่ได้ แต่มีข้อสันนิษฐานสรุปว่าเกิดจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ความผิดปกติจากสมอง โดยเฉพาะส่วนที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อ

 

  • กรรมพันธุ์

 

  • ขาดออกซิเจน

 

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

 

  • รับสารพิษ เช่น โลหะหนักและคาร์บอนมอนอกไซด์

 

  • เจ็บป่วยจากโรคร้าย ไม่ว่าจะเป็น ไข้สมองอักเสบ หลอดเลือดสมอง พาร์กินสัน เกิดการบาดเจ็บ เนื้องอก มะเร็ง ข้างในศีรษะ

 

 

หัวแตก

 

 

อาการของกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

 

  • สั่น

 

  • ตากะพริบเองและไม่สามารถหยุดได้

 

  • คอบิดเกร็ง

 

  • พูดไม่ชัดหรือเสียงเบา

 

  • น้ำลายไหล

 

  • กลืนลำบาก

 

  • ปลายเท้าบิดเข้าหาตัวเอง

 

  • ตะคริว

 

 

ข้อมือบิดเกร็ง

 

 

ประเภทของกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

 

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

 

  • สามารถเกิดเพียงข้างซ้ายหรือขวา เริ่มจากบริเวณดวงตา มุมปาก ใต้คาง  หากรุนแรงใบหน้าอาจเสียรูปได้

 

กะพริบตา 2 ข้าง

 

  • เมื่อไม่สามารถควบคุมความถี่จนหนังตาปิดได้ ทำให้มองไม่เห็น

 

กล้ามเนื้อคอบิดเกร็ง

 

  • เมื่อก้ม เงย เอียงคอ จะสั่นกระตุก

 

กล้ามเนื้อมือเกร็ง

 

  • ปวด เมื่อยปลายแขนขณะเขียนหนังสือ

 

 

คอบิดเกร็ง

 

 

การวินิจฉัยกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

 

ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย ถามถึงระยะเวลาอาการความผิดปกติ รวมทั้งความเครียด หลังจากนั้นจะทำการตรวจเพิ่มเติม ด้วยวิธีการ

 

ตรวจเลือดหรือปัสสาวะ

 

  • เพื่อหาสารพิษในร่างกาย

 

ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เอกซเรย์หาความผิดปกติในสมอง

 

  • CT Scan

 

  • MRI

 

 

ภาพสแกนสมอง

 

 

การรักษากล้ามเนื้อบิดเกร็ง

 

Botulinum Toxin

 

  • โดยการฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อ

 

การใช้ยา

 

  • เพื่อลดอาการกล้ามเนื้อบีบรัดตัว ซึ่งเป็นยาที่ส่งผลต่อโดพามีนในระบบประสาท

 

ทางเลือกบำบัด

 

  • ทำกายภาพ

 

  • ฝึกทักษะการพูด

 

  • นั่งสมาธิ

 

  • เล่นโยคะ

 

 

ฉีดโบท็อก

 

 

การป้องกันกล้ามเนื้อบิดเกร็ง

 

  • ระมัดระวังอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ เช่น ใส่หมวกนิรภัยเมื่อขับขี่จักรยานยนต์

 

  • หลีกเลี่ยงมลภาวะเป็นพิษ

 

  • รับประทานยาโดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน

 

 

ผลกระทบของผู้ป่วยภาวะนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานรวมทั้งกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หากยังคงปล่อยให้มีความผิดปกติรุนแรงเรื่อย ๆ  ไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจได้ ทั้งนี้หากท่านใดมีประวัติป่วยหรือประสบอุบัติเหตุทางสมอง แล้วมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น สามารถมาตรวจหาความผิดปกติได้ที่โรงพยาบาลเพชรเวช

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

ศูนย์สมองและระบบประสาท

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคทางสมอง

 

 

ตรวจหาความผิดปกติโรคทางสมอง ด้วยการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI

 

 

คอบิดเกร็ง การเคลื่อนไหวบริเวณคอ และศีรษะที่ผิดปกติ