รับประทานอาหารอิ่มเร็ว สัญญาณความผิดปกติจากระบบย่อยอาหาร
รับประทานอาหารอิ่มเร็ว สัญญาณความผิดปกติจากระบบย่อยอาหาร

บุคคลที่มีอาการรับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็ว หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียน นี่คือภาวะอิ่มเร็วกว่าปกติ  (Early Satiety) เป็นสัญญาณความผิดปกติจากระบบย่อยอาหาร ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวที่ลดลง ผอมมากเกินไป รวมทั้งอาการต่างๆ เช่น การหิวกระหาย ภาวะขาดสารอาหารได้ นอกจากนี้ภาวะอิ่มเร็วยังเป็นสัญญาณจากโรคร้ายต่างๆ เช่น เบาหวาน และโรคมะเร็ง

 

 

สาเหตุของภาวะอิ่มเร็ว

    

  • ภาวะกล้ามเนื้อกระเพาะทำงานน้อยลง (Gastroparesis) ส่งผลให้มีอาหารค้างอยู่ที่ลำไส้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน

      

  • โรคที่เกิดจากระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ท้องมาน และกรดไหลย้อน  เป็นต้น

      

  • โรคในกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน  (IBS) เช่น ท้องผูก ท้องอืด และปวดท้องเป็นต้น

      

  • โรคเกิดจากสมอง เช่น พาร์กินสัน  (Parkinson’s Disease)  และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)

      

  • โรคทางจิตเวช เช่น  โรคไบโพลาร์ และโรคซึมเศร้า

      

  • ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง เช่น โรคอะโนเร็กเซีย (Anorexia)

 

 

อาการภาวะอิ่มเร็ว

      

  • กลืนลำบาก

      

  • อาเจียน บางครั้งอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด

      

  • ปวดช่องท้อง

      

  • เป็นไข้ หนาวสั่น

      

  • อุจจาระมีลักษณะสีดำ

 

หากมีอาการอิ่มเร็วร่วมกับอาการเหล่านี้ในข้างต้น ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษา

 

 

การวินิจฉัยภาวะอิ่มเร็ว

 

ในขั้นต้นนั้นแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย ถามถึงอาการอิ่มเร็ว และระยะเวลาในการเกิดอาการ รวมทั้งการตรวจร่างกาย ตรวจโลหิต เพื่อวัดระดับน้ำตาลในเลือด และทำการนับจำนวนของเม็ดเลือด นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ มาใช้ในการวินิจฉัยภาวะอิ่มเร็ว ได้แก่

      

  • การอัลตราซาวด์ช่องท้อง

      

  • การส่องกล้องกระเพาะอาหารส่วนต้น (Upper Endoscopy)

      

  • การตรวจอุจจาระ เพื่อหาภาวะเลือดออกในลำไส้

 

 

อิ่มเร็ว

 

 

การรักษาภาวะอิ่มเร็ว

 

การรักษาภาวะอิ่มเร็วจะขึ้นอยู่กับสาเหตุในการเกิดโรค

 

การรักษาโดยแพทย์

      

  • การให้รับประทานยาบรรเทาอาการ Metoclopramide Antiemetics หรือ Erythromycin

      

  • การผ่าตัด การป้อนอาหารเหลวทางสายยาง จากจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร หรือการกระตุ้นกระเพาะอาหารด้วยไฟฟ้า (Gastric Electrical Stimulation) เพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

 

การรักษาด้วยตนเอง

      

  • การรับประทานอาหารในปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

      

  • เพิ่มการรับประทานอาหารประเภทเหลว

      

  • ลดการรับประทานไขมัน และกากใยอาหารให้น้อยลง

      

  • เลือกเมนูอาหารที่อยากรับประทาน

 

 

ภาวะอิ่มเร็วโดยทั่วไปนั้น อาจไม่ได้มีอะไรที่น่าเป็นห่วง แต่ถ้าหากเกิดจากการที่กล้ามเนื้อท้องไม่ผลักดันอาหารผ่านลำไส้ได้อย่างเหมาะสม จนทำให้รู้สึกอึดอัด นี่คือสัญญาณเตือนว่ามีเนื้องอกอยู่ในกระเพาะอาหาร ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างแน่ชัด เพราะเนื้องอกนั้นอาจเป็นเนื้องอกชนิดร้าย หรือมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ ควรทำการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

โปรแกรมส่องกล้องโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้