ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คือ ภาวะหายใจลำบาก ที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เพราะพื้นที่ผิวในปอดลดลง หรือมีอากาศค้างในปอดมาก จากการขยายตัวของถุงลมที่แตก หรืออักเสบ คนส่วนใหญ่มักจะยังไม่ทราบว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ก็เสี่ยงเป็นได้ ซึ่งการสูดดมสารพิษจากสภาพแวดล้อมที่เป็นมลภาวะ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ ควันรถ หรืออาหาร ทั้งงหมดนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ทั้งสิ้น
ในขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยถึงอาการ ระยะเวลาในการเกิดโรค รวมทั้งสอบถามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หลังจากนั้นก็จะใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด ได้แก่
การเป่าเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer)
การตรวจโลหิต
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT Scan
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
การรักษาด้วยยา
ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators)
ยาปฏิชีวนะ
สเตียรอยด์
Phosphodiesterase-4 Inhibitor
การผ่าตัด
การบำบัด
โรคนี้เป็นหนึ่งใน 26 โรคเรื้อรังที่สำนักประกันสังคมจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และค่าบริการทางการแพทย์ให้ทั้งผู้ป่วยใน และนอก อีกทั้งโรงพยาบาลเพชรเวชได้เตรียมพร้อมรับผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคม ในปี 2566 ที่กำลังจะถึง รวมทั้งเครื่องมือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ
ถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่รักษาได้ไม่หายขาด ทำได้เพียงบรรเทาอาการ และชะลอระยะเวลาการถูกทำลายของปอดให้ช้าลงที่สุด ซึ่งข้อมูลขององค์การอนามัยโรคระบุว่า มีผู้ป่วยโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 80 ล้านคน และเสียชีวิตถึงปีละ 3 ล้านราย ผู้ที่อยู่ทำงานในห้องครัว ตามท้องถนนที่ได้รับควันบ่อยๆ ควรระมัดระวัง