ตากระตุก สัญญาณเตือนของโรคร้าย
ตากระตุก สัญญาณเตือนของโรคร้าย

ตากระตุก (Eyes Twitching) คือ การที่เปลือกตามีการขยับเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว  สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง โดยปกติทั่วไปแล้วอาการตากระตุกนั้น จะไม่มีอาการที่ไม่รุนแรง และไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่บางกรณีก็ไม่สามารถปิดตาให้สนิทลงพร้อมกันได้จะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที อีกทั้งตากระตุกก็เป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายได้เช่นกัน

 

 

สาเหตุตากระตุก

           

  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

          

  • ตาแห้ง ตาล้า เกิดการระคายเคืองที่ตา

           

  • ความเครียดสะสม

           

  • โรคภูมิแพ้

           

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด

           

  • มลภาวะเป็นพิษ

           

  • สัมผัสกับแสงแดดจ้าเป็นเวลานานๆ

           

  • การขาดสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด

           

  • การดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีนมากจนเกินไป เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม

           

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          

  •  สูบบุหรี่

 

 

อาการตากระตุกที่ต้องไปพบแพทย์ทันที

           

  • ตากระตุกติดต่อกันนานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป

           

  • เกิดการกระตุกเพิ่มเติม ใกล้บริเวณที่ตากระตุก

           

  • ดวงตามีอาการบวม แดง และมีของเหลวไหลออกมา

           

  • เปลือกตาด้านบนเลื่อนลงมา ไม่สามารถมองเห็นได้เป็นปกติ

         

  • เมื่อเกิดอาการตากระตุกแล้วเปลือกตาปิดสนิททันที

 

 

การรักษาตากระตุก

 

การรักษาด้วยการรับประทานยา

           

  • Clonazepam

          

  •  Lorazepam

           

  • Trihexyphenidy

 

การฉีด Botulinum Toxin หรือ Botox

           

  • แพทย์จะฉีดยาโบท็อกซ์ลงไปบริเวณกล้ามเนื้อรอบดวงตาที่มีอาการกระตุก เพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นอยู่ในสภาพอ่อนแรงชั่วคราว ไม่สามารถหดเกร็งตัวได้ และช่วยป้องกันไม่ให้เส้นประสาทส่งสัญญาณไปที่กล้ามเนื้อให้เกิดการกระตุกนั่นเอง การรักษาด้วยวิธีนี้ จะช่วยไม่ให้เกิดตากระตุกได้ 3-6 เดือน เพียงเท่านั้น

 

 

ตากระตุกสัญญาณบอกโรคอะไรได้บ้าง

           

  • โรคอัมพาตใบหน้า (Bell’s Palsy) 

           

  • โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia)

           

  • โรคคอบิดเกร็ง (Cervical dystonia)

           

  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)

           

  • โรคกล้ามเนื้อช่องปากหรือขากรรไกรบิดเกร็ง (Oromandibular Dystonia)

           

  • โรคกล้ามเนื้อใบหน้าบิดเกร็ง (Facial Dystonia)

           

  • โรคทูเร็ตต์ (Tourette's Disorder)

 

ตากระตุก

 

 

 

การป้องกันตากระตุก

           

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

           

  • ลดการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์

           

  • หลีกเลี่ยงจากความเครียด

           

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และน้ำอัดลม

           

  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

           

  • เลิกการสูบบุหรี่

           

  • นวดกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตา

           

  • ประคบร้อนบริเวณดวงตา ประมาณ 10 นาที

 

 

ตากระตุกนั้นเป็นเรื่องของความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสมอง หรือระบบประสาทไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องโชคลางแต่อย่างใด อีกทั้งหากมีการกระตุกของใบหน้าร่วมด้วยควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม