ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เนื้องอกที่เกิดจากการใช้งานบ่อยๆ
ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เนื้องอกที่เกิดจากการใช้งานบ่อยๆ

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ (Ganglion Cyst) คือ เนื้องอกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นบริเวณเส้นเอ็นหรือข้อต่อ มักจะพบบริเวณมือ และข้อมือบริเวณด้านหน้า และด้านหลัง เกิดจากการใช้งานของข้อมือบ่อยๆ หรือเกิดจากการกระแทก  โดยซีสต์ หรือถุงน้ำนี้มีลักษณะด้านในเป็นของเหลว เป็นรูปวงกลม หรือวงรี  สามารถหายเองได้ แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัด

 

 

สาเหตุในการเกิดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

 

เนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อเกิดความเสียหายหรือฉีกขาด จนทำให้เกิดถุงน้ำขนาดเล็กแล้วกลายเป็นก้อนขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันในทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน มีเพียงทฤษฎีต่างๆ ที่ทำให้เกิดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ ดังนี้

 

  • การเคลื่อนไหวข้อมือบ่อยๆ โดยเฉพาะการกระดกข้อมือ

 

  • การยกของหนัก หรือการออกกำลังกายประเภทเวทเทรนนิ่ง

 

  • ประสบอุบัติเหตุได้รับการกระแทกบริเวณข้อมือ

 

 

อาการของก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

 

  • พบก้อนนูน นิ่มๆ บริเวณข้อมือหรือหลังมือ ประมาณ 1-3 เซนติเมตร  ไม่มีความเจ็บปวด

 

  • หากก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ กดทับบริเวณเส้นประสาทอาจจะมีอาการ ปวด ชา เสียว หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

 

การวินิจฉัยก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

 

แพทย์จะทำการตรวจดูก้อนถุงน้ำที่ข้อมือบริเวณภายนอกก่อน โดยการใช้แสงส่องตรวจดู และพิจารณาว่าก่อนเนื้อนี้มีความแข็ง หรือข้างในเป็นของเหลว หลังจากนั้นก็จะใช้การวินิจฉัยเพิ่มเติม ดังนี้

           

  • การเอกซเรย์

           

  • การอัลตราซาวด์

           

  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

           

  • การตรวจด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

           

  • การตรวจเก็บตัวอย่างของเหลวจากถุงน้ำ แพทย์จะใช้เข็มฉีดยาเจาะเข้าไปบริเวณถุงน้ำ เพื่อเก็บตัวอย่างของเหลวภายในมาตรวจสอบ

 

 

การรักษาก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

 

  • การดูดของเหลวออกจากถุงน้ำ แพทย์จะใช้เข็มฉีดยาดูดของเหลวออกจากถุงน้ำบริเวณข้อมือ เพื่อลดการเคลื่อนไหว และอาจฉีดสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบ

 

  • การสวมเฝือก หรือการดามเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวทำให้ก้อนถุงน้ำสามารถมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ หากก้อนถุงน้ำหดตัวลง ก็จะไม่เกิดการกดทับบริเวณเส้นประสาท ส่งผลให้อาการปวดลดลง

 

  • การผ่าตัด แพทย์จะตัดก้อนถุงน้ำที่ยึดอยู่กับข้อ และเส้นเอ็นออกไป มีความเสี่ยงที่อวัยวะโดยรอบ เช่น เส้นประสาท เส้นเลือด หรือเส้นเอ็น ได้รับความเสียหาย ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ รวมทั้งหลังผ่าตัดมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้

 


 

การดูแลหลังผ่าตัดก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

           

  • หลีกเลี่ยงการขยับข้อมือหลังผ่าตัดที่พันผ้า และใส่เฝือกชั่วคราว ประมาณ 10 -14 วัน

           

  • ยกแขนขึ้นสูงๆ กำนิ้วมือสลับกับเหยียดนิ้วมือบ่อยๆ เพื่อบรรเทาอาการบวม

          

  • เมื่อแผลซึม สกปรก ควรทำแผลใหม่

           

  • ทำการตัดไหม ประมาณ 7 - 10 วัน หลังผ่าตัด

 

 

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

 

 

การป้องกันก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ

 

  • ควรสังเกตข้อมือของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

 

  • หลีกเลี่ยงการเจาะก้อนถุงน้ำด้วยตนเอง

 

  • ระมัดระวังอุบัติเหตุ ที่เกิดการกระแทกของข้อมือ

 

  • ลดการใช้งานข้อมือที่มากจนเกินไป

 

 

ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เป็นเนื้องอกธรรมดาไม่ใช่ก้อนเนื้อร้าย และไม่ได้กลายเป็นมะเร็งในระยะเวลาต่อมาอย่างแน่นอน  และมีโอกาสสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากพบว่ามีอาการที่น่าสงสัย ควรเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์เพื่อไม่ให้เกิดอาการรุนแรงตามมาได้