รวมเรื่องสงสัยเมื่อต้องตรวจสุขภาพ
รวมเรื่องสงสัยเมื่อต้องตรวจสุขภาพ

ก่อนตรวจสุขภาพต้องมีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่นอนแม่นยำ หากละเลยสามารถส่งผลให้การตรวจสุขภาพมีผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ ผู้เข้ารับบริการต้องบอกข้อมูลกับแพทย์ที่จำเป็นทั้งประวัติสุขภาพ หรือกรณีสงสัยว่าตนเองตั้งครรภ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องงดน้ำงดอาหาร และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ได้จำนวนชั่วโมงที่สัมพันธ์กับรายการที่ต้องการตรวจด้วย

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ

 

บางคนอาจเคยตรวจสุขภาพมาแล้วหลายครั้ง ในขณะที่หลายคนอาจไม่คุ้นชินและกำลังจะตัดสินใจตรวจเป็นครั้งแรกแน่นอนว่าต้องเกิดความสงสัยและมีคำถามมากมายก่อนเข้ารับการตรวจซึ่งมีรายละเอียดที่จำเป็นต้องรู้นอกเหนือจากการงดน้ำงดอาหารหรือการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออยู่อีกหลายประการ เช่น เป็นประจำเดือนตรวจได้ไหม การเก็บปัสสาวะที่ถูกต้อง การปฏิบัติตัวหลังการเจาะเลือด หรือการเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพ เป็นต้น โดยทางโรงพยาบาลเพชรเวชยินดีให้ข้อมูลดังนี้

 

ต้องเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพตามอายุจริงหรือไม่

 

โดยส่วนมากแล้วโปรแกรมตรวจสุขภาพมักจะกำหนดอายุที่เหมาะสมตามรายการตรวจของโปรแกรมนั้น ๆ แต่หากในรายการตรวจดังกล่าวไม่มีรายการตรวจที่ต้องการ ผู้เข้าใช้บริการสามารถเลือกโปรแกรมอื่น ๆ ที่มีรายการตรวจที่ต้องการได้ถึงแม้อายุแนะนำของโปรแกรมนั้น ๆ จะไม่ตรงกับอายุจริงของท่านก็ตาม หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่บทความตรวจสุขภาพแต่ละช่วงอายุต้องตรวจอะไรบ้าง (คลิก)

 

การงดน้ำงดอาหารก่อนการตรวจสุขภาพ

 

ปกติแล้วการเข้ารับการตรวจสุขภาพจะต้องงดน้ำงดอาหาร และควรเลือกตรวจในช่วงเช้าโดยมีกฎเกณฑ์ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • กรณีต้องการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด : ควรงดน้ำงดอาหารก่อนทำการเจาะเลือด 6 ชั่วโมง
  • กรณีต้องการตรวจระดับไขมันในเลือด : ทั้งการตรวจ HDL, LDL, ไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอเลสเตอรอลควรงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจ 12 ชั่วโมง (สามารถจิบน้ำได้เล็กน้อยหากมีความกระหาย)
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ส่งผลต่อการตรวจปัสสาวะ : ทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควรงดให้ได้ 24 ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหวานด้วยเช่นกัน

 

เป็นประจำเดือนตรวจสุขภาพได้ไหม

 

สำหรับสตรีที่ต้องการเข้ารับการตรวจสุขภาพไม่ควรเลือกตรวจก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน เนื่องจากส่วนหนึ่งของการตรวจคือการตรวจปัสสาวะ และในช่วงมีประจำเดือนหรือก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วันจะมีส่วนทำให้ผลการตรวจปัสสาวะผิดเพี้ยน ดังนั้นหากอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวควรบอกแพทย์ก่อนเข้ารับการตรวจ

 

 

มีประจำเดือนตรวจสุขภาพได้ไหม

 

การเก็บปัสสาวะที่ถูกต้องในการตรวจร่างกาย

 

การเก็บปัสสาวะนั้นผู้เข้ารับการตรวจจะต้องเก็บปัสสาวะในช่วงกลาง โดยให้ถ่ายช่วงต้นและช่วงท้ายทิ้งไป สำหรับสตรีที่มีประจำเดือนควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน

 

ก่อนตรวจสุขภาพควรนอนกี่ชั่วโมง

 

ผู้เข้าใช้บริการควรนอนให้ได้ 7 ชั่วโมงขึ้นไป หากก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพไม่นอนพักผ่อนให้เพียงพอจะส่งผลให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ หากมาตรวจสุขภาพจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนได้

 

ให้ข้อมูลกับแพทย์ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ

 

  • หากมีประวัติเกี่ยวกับสุขภาพ หรือมีโรคประจำตัว
  • หากสตรีสงสัยว่าตนเองอาจตั้งครรภ์
  • หากไม่ได้งดดื่มแอลกอฮอล์หรือน้ำหวาน
  • กรณีมีประจำเดือนแต่ต้องการตรวจ

 

ปฏิบัติตัวหลังการเจาะเลือดจากการตรวจสุขภาพอย่างไร

 

หลังเจาะเลือดแล้วสามารถดูแลตนเองได้ด้วยการกดบริเวณที่ทำการเจาะเลือด 5-10 นาที ห้ามทำการนวดหรือคลึงเพราะอาจส่งผลให้เส้นเลือดแตกได้ หากบริเวณที่เจาะเลือดมีรอยเขียวช้ำอาจเป็นสัญญาณว่าเส้นเลือดแตก อาการจะหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ผู้เข้าใช้บริการสามารถทายาเพื่อแก้อาการเขียวช้ำได้

 

นอกจากนี้หากมีคำถามหรือปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพสามารถสอบถามแพทย์ก่อนเข้ารับการตรวจได้เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องและเพื่อผลลัพธ์การตรวจที่ดีที่สุด

 

 


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง