ปัสสาวะเป็นเลือด ความผิดปกติภายในร่างกายอย่างรุนแรง
ปัสสาวะเป็นเลือด ความผิดปกติภายในร่างกายอย่างรุนแรง

ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) คือ อาการบอกโรค หรือความผิดปกติภายในร่างกายอย่างรุนแรง โดยสีที่ปัสสาวะออกมาจากสีเหลือง หรือสีใสๆ กลายมาเป็นสีน้ำตาลเข้ม ชมพู และสีแดง  ทั้งนี้ผู้ที่มีสีปัสสาวะปกติ ก็อาจจะมีโลหิตปนออกมาได้ แต่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องถึงจะมองเห็น สำหรับอาการปัสสาวะเป็นเลือดมักจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่ถ้าหากมีลิ่มเลือดออกมา ก็อาจจะปวดท้องน้อยได้

 

 

สาเหตุปัสสาวะเป็นเลือด

 

เซลล์เม็ดเลือดเกิดการรั่วผ่านไต หรืออวัยวะในส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ จึงมีโลหิตไหลออกมากับปัสสาวะ ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ได้แก่

 

  • ผู้ที่ใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ

 

  • การสูบบุหรี่

 

  • พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่สัมผัสสีย้อมผ้า หรือสารเคมีกลุ่มเบนซีนเป็นประจำ

 

  • ผู้ที่เคยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแบบเรื้อรัง

 

  • ผู้หญิงที่มีประวัติการฉายแสงบริเวณอุ้งเชิงกราน

 

  • ผู้ที่มีประวัติได้รับเคมีบำบัด

 

 

ปัสสาวะเป็นเลือดเกิดจากโรคอะไรได้บ้าง

 

  • การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ

 

  • เนื้องอกที่กระเพาะปัสสาวะ

 

  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

 

  • ท่อปัสสาวะอักเสบ

 

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

 

  • นิ่วในท่อไต

 

  • ไตอักเสบ

 

  • เนื้องอกในไต

 

  • มะเร็งไต

 

  • ต่อมลูกหมากอักเสบ

 

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก

 

 

การวินิจฉัยอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

ในขั้นแรกแพทย์จะสอบถามประวัติอาการความเจ็บป่วย รวมทั้งการรักษาในอดีตที่ผ่านมา หลังจากนั้นก็จะตรวจร่างกายผู้ป่วย เพื่อทำการวินิจฉัย ได้แก่

 

การตรวจปัสสาวะ

 

  • เป็นตรวจดูการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยการเก็บปัสสาวะตัวอย่างของผู้ป่วย และใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูเม็ดเลือดแดง

 

ตรวจโลหิต

 

  • หากในเลือดมีระดับครีอะตินีนสูง สามารถบ่งบอกว่าเป็นโรคไต

 

การใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก

 

  • เพื่อตรวจหาความผิดปกติของต่อมลูกหมาก

 

การตรวจภายในช่องคลอด

 

  • เพื่อตรวจหาโรคนรีเวชต่างๆ

 

การส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ

 

  • เพื่อตรวจหาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ หรือกระเพาะปัสสาวะ

 

การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อไต

 

  • เป็นการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตหรือไม่ จากห้องปฏิบัติการ

 

การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ตรวจหาความผิดปกติในอวัยวะระบบทางเดินปัสสาวะ

 

  • เอกซเรย์ (X-rays)

 

  • อัลตราซาวด์ (Ultrasound)

 

  • เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

 

  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

การรักษาปัสสาวะเป็นเลือด

 

แพทย์จะรักษาตามอาการ และสาเหตุของโรค

 

ผู้ที่ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

 

  • ใช้ยาปฏิชีวนะ

 

นิ่วในไต หรือในกระเพาะปัสสาวะ

 

  • คลื่นกระแทก (Shock Wave Therapy)

 

เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือไต

 

  • เคมีบำบัด

 

  • การฉายรังสี  

 

  • ภูมิคุ้มกันบำบัด

 

  • การผ่าตัด

 

ไตอักเสบ

 

  • การใช้ยาขับปัสสาวะ

 

  • ยาลดความดันโลหิต

 

  • ยาปฏิชีวนะ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อสเตรปโคคอคคัส (Streptococcal)

 

  • ยากดภูมิคุ้มกัน ในผู้ป่วยลูปัส (Lupus)

 

ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)

 

  • ฉีดยาที่เพิ่มการแข็งตัวของเลือด

 

 

ปัสสาวะเป็นเลือด

 

 

การป้องกันปัสสาวะเป็นเลือด

 

  • ดื่มน้ำให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย

 

  • ลดปริมาณการบริโภคโซเดียม อาหารที่มีรสชาติเค็มจัด

 

  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังปัสสาวะอย่างถูกวิธี

 

  • หากมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ไม่ใช่สามี หรือภรรยาควรใส่ถุงยางอนามัย และปัสสาวะทันทีหลังจากเสร็จกิจกรรม

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และสารเคมี

 

 

หากมีอาการ หรือความผิดปกติ เช่น ปวด แสบ ตกขาว มีของเหลวไหลออกมา รวมทั้งผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้ยาต้านการเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด ร่วมกับปัสสาวะเป็นเลือด ควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที เพราะบางทีอาจจะไม่สามารถมองเห็นโลหิตที่มาจากปัสสาวะได้ หากได้รับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสียหายของร่างกายได้

 

 

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

 

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคไต